ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
บ้านพิกุลทอง หมู่ที่ 6 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

              เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย แสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภูมิสังคมของท้องถิ่น และเป็นสถานที่ที่นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน ใช้แลกเปลี่ยน สื่อสาร และถ่ายทอดความรู้ เป็นแบบจำลองของพื้นที่ที่มีการพัฒนา
แบบผสมผสานทุกสาขาในลักษณะสหวิทยา และมีการบริหารที่เป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน มีการประสานการดำเนินงานที่มีเอกภาพ เป็นศูนย์บริการ
แบบเบ็ดเสร็จในลักษณะของ
“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”รวมทั้งนำผลสำเร็จของโครงการฯ ขยายผลไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป โดยได้กำหนดแผนการศึกษาดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 4 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนงานศึกษา ทดลองวิจัย ตามแนวพระราชดำริ 2) แผนงานขยายผลการพัฒนา 3) แผนงานฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 4) แผนงานบริหารจัดการ

 

        1) แผนงานศึกษา ทดลอง วิจัย ตามแนวพระราชดำริ

        ระยะเวลาที่ผ่านมา 36 ปี เน้นการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่พรุและพื้นที่ดินเปรี้ยวให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรให้ได้ผลดีที่สุด ตั้งแต่ปี 2528 – 2561 ได้ดำเนินการศึกษา ทดลอง และวิจัยไปแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 307 เรื่อง โดยดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ จำนวน 299 เรื่อง และอยู่ระหว่างการศึกษา จำนวน 8 เรื่อง ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการ จำนวน 4 เรื่อง โดยมีงานศึกษาวิจัย ดังต่อไปนี้

        1.1 งานวิจัยใหม่ จำนวน 1 เรื่อง

            u  การใช้ยีสต์จากพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์และการผลิตเอทานอลเชื้อเพลิง : เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรยีสต์ที่แยกจากพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส ในรูปของโปรตีนเซลล์เดี่ยวเพื่อการเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหารสัตว์ในปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการศึกษาการคัดเลือกยีสต์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการผลิตเอทานอลจากอาหารเหลวสังเคราะห์ อาหารเหลวกากน้ำตาล และอาหารเหลวน้ำอ้อย โดยนำยีสต์จำนวน 6 สายพันธุ์ ที่แยกได้จากดินอินทรีย์ ป่าพรุโต๊ะแดง คือ TD(1)05-1 TD(2)05-1 YNB28-2 YNB31-2 YNB32-2 และ YNB33-2 ทำการหมักเอทานอลเพื่อขยายผลเปรียบเทียบกับยีสต์สายพันธุ์ควบคุม S. cerevisiae SC90 (TISR5339) ซึ่งนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล และยีสต์ทนร้อน K. marxianu sDMKU 3-1042 ในระดับฟลาสก์ โดยทำการทดลองในอาหาร 3 ชนิด คือ อาหารเหลวสังเคราะห์ YPD broth อาหารเหลวกากน้ำตาล และอาหารเหลวน้ำอ้อย ที่อุณหภูมิ 30 และ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งพบว่ายีสต์ทั้ง 6 สายพันธุ์ สามารถเจริญได้เล็กน้อยและมีช่วงระยะปรับตัว (lag phase) ที่ค่อนข้างนาน สรุปได้ว่า ยีสต์มีศักยภาพต่ำและไม่สามารถนำไปใช้เพื่อการผลิตเอทานอลแข่งขันกับสายพันธุ์อื่นที่มีการใช้กันในปัจจุบันได้

      1.2 งานวิจัยต่อเนื่อง จำนวน 2 เรื่อง

         u  องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดเชื้อราจากดินอินทรีย์ในพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส : ดำเนินการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ 5 อย่าง ได้แก่ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส (รักษาความผิดปกติของเม็ดสี) ฤทธิ์ต้านเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (รักษาเบาหวาน) ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิทิลคอลินเอสเตอเรส (รักษาโรคสมองเสื่อม, Alzheimer’s disease) ฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านม(รักษาโรคมะเร็ง) และฤทธิ์ต้านการอักเสบ (รักษาอาการอักเสบต่าง ๆ) โดยทำการทดสอบทั้งหมดจำนวน 104 ตัวอย่าง พบว่ามี 4 ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ SPSF318BE SPSF318CE SPSF224BE และ SPSF224CE

   

          u  การนำจุลินทรีย์ที่แยกได้จากพื้นที่พรุโต๊ะแดงจังหวัดนราธิวาสไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร (การปลูกข้าว) : เป็นการศึกษาการนำจุลินทรีย์ทนกรดที่คัดเลือกได้จากพื้นที่พรุโต๊ะแดง ได้แก่ จุลินทรีย์ย่อยเซลลูโลส จุลินทรีย์ย่อยโปรตีน จุลินทรีย์ย่อยอินทรียสารฟอสเฟต และเชื้อจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนอิสระมาทดลองใช้ในการเพิ่มผลผลิตของข้าวซีบูกันตัง 5 โดยแบ่งเป็น 2 พื้นที่ ดังนี้ พื้นที่เรือนกระจก และพื้นที่แปลงนาร้างในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดของเกษตรกร บ้านตอหลัง ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

   

         1.3 งานทดสอบใหม่ จำนวน 1 เรื่อง

           ® การเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อน้ำเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว : เป็นการศึกษาการเจริญเติบโตและต้นทุนการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อน้ำเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้วและเป็นจุดเรียนรู้และสาธิตการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อน้ำเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้วและขยายผลให้ราษฎรประกอบเป็นอาชีพใปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินงาน ดังนี้

                1) การเตรียมบ่อ โดยสูบน้ำออกจากบ่อเลี้ยงให้แห้ง โรยปูนขาวอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ตากบ่อทิ้งไว้ให้แห้ง 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอก 100 – 200 กิโลกรัมต่อไร่ เอาน้ำเข้าบ่อสูง 50 เซนติเมตร มีการกรองน้ำด้วยอวนตาถี่ ทิ้งไว้ให้เกิดอาหารธรรมชาติ 2 สัปดาห์ เติมน้ำเข้าในบ่อให้สูงขึ้นเป็น 100 เซนติเมตร ทำการกั้นคอกในบ่อด้วยอวนตาถี่บริเวณมุมบ่อเพื่อฝึกอาหารลูกปลา เมื่อบ่อเกิดอาหารธรรมชาติประเภทสาหร่าย ขี้แดด สัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ไรน้ำ
                 2) การเตรียมพันธุ์ปลา ดำเนินการเตรียมลูกพันธุ์ปลาขนาด 2 – 3 เซนติเมตร จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ นำมาอนุบาลต่อในบ่อดินเพื่อให้ได้ขนาดสำหรับปล่อยเลี้ยง (ขนาด 5 - 7 ซม.) ระยะเวลา 1 - 1.5 เดือน

   

 

        2) แผนงานขยายผลการพัฒนา

          2.1 งานสาธิต ซึ่งมีลักษณะเป็นงานสาธิตต่อเนื่อง จำนวนทั้งหมด 9 โครงการ แบ่งเป็น งานสาธิตใหม่ จำนวน 5 โครงการ และงานสาธิตต่อเนื่อง จำนวน 4 โครงการ โดยมีตัวอย่าง ดังนี้
        u  สาธิตการทำเกษตรยั่งยืนตามแนวพระราชดำริทฤษฏีใหม่ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด บ้านโคก ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส : ดำเนินการในพื้นที่ 14 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 25 ราย โดยเน้นการพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้มีความรู้ความเข้าใจ ด้านการปรับปรุงบำรุงดินเป็นพื้นฐาน โดยส่งเสริมการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพภายในแปลง และการปลูกพืชผักพืชไร่และไม้ผลปลอดภัยจากสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย

   

            u   สาธิตการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดโครงการแกล้งดิน ระยะที่ 4 : จัดทำแปลงสำหรับเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดสำหรับปลูกข้าวและพืชชนิดต่าง ๆ มีการดำเนินงาน 6 แปลง ทั้งนี้ ในส่วนของข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน พบว่าดินในแต่ละแปลงทดสอบมีค่าความเป็นกรดจัดมากจนถึงเป็นกรดรุนแรงมากมีค่าระหว่าง 4.1 – 4.9 ทั้งนี้ การปรับปรุงบำรุงดินเปรี้ยวจัดให้สามารถปลูกพืชผักและพืชไร่ควรจะต้องมีการใส่วัสดุปูนเป็นระยะ สำหรับการให้ผลผลิตพืช ได้ทำการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองในแปลงแกล้งดิน ได้แก่ ข้าวพันธุ์ซีบูกันตัง 5 ซึ่งพบว่าข้าวที่ปลูกในแปลงทดลองที่ 3 ศึกษาอัตราการใช้หินปูนฝุ่นเพื่อปลูกข้าว ให้ผลผลิตข้าวโดยเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 549 กิโลกรัมต่อไร่ อีกทั้ง การให้ผลผลิตผักและพืชไร่ จากการศึกษาการปลูกผักจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ผักคะน้า ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน และถั่วฝักยาว พบว่า การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดโดยใช้หินปูนฝุ่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเคมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ผักไม่สามารถเจริญเติบโตได้ อาจจะเจริญเติบโตได้แต่จะให้ผลผลิตในอัตราที่ต่ำ ส่วนแปลงที่มีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดโดยใช้หินปูนฝุ่น ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีร่วมกัน พืชสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ ทั้งนี้ ปีงบประมาณ 2561 มีผู้เยี่ยมชมงานสาธิตดังกล่าว จำนวน 20 คณะ 320 ราย

   

              u   สาธิตการปลูกพันธุ์ฝรั่งกิมจูในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ จำนวน 3 พื้นที่ (บ้านค่าย บ้านใหม่ และบ้านโคกสยา) : เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 3 ราย ในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้แก่ บ้านค่าย บ้านใหม่ และบ้านโคกสยา ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมเรื่องการปลูก การดูแลรักษาฝรั่งกิมจูและสนับสนุนกิ่งพันธุ์ฝรั่ง จำนวน 300 กิ่ง ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด จำนวน 36 กระสอบ ปุ๋ยคอก จำนวน 105 กระสอบ

   

              u   สาธิตการทำเกษตรยั่งยืนตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด : แปลงสาธิตการทำการเกษตรยั่งยืนตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2541 และมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้าเยี่ยมชม จำนวน 76 คณะ 3,473 ราย โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการดังนี้

                    (1) พื้นที่แหล่งน้ำ จำนวน 4.5 ไร่ ดำเนินการปล่อยเลี้ยงปลานิลและปลาตะเพียนขาว ลงในสระ จำนวน 10,000 ตัว อัตรา 5 ตัว/ตารางเมตร ให้อาหารปลาอัดเม็ดเป็นประจำทุกวัน ผลผลิตปลาที่จับขาย ได้แก่ ปลานิล 6 กิโลกรัม ปลาบ้า 3 กิโลกรัม ปลาตะเพียนขาว 3 กิโลกรัม ปลายี่สก 5.5 กิโลกรัม และปลาที่เหลือในบ่อ นำไปปล่อยในแปลงเลี้ยงปลาในนาข้าว

                   (2) พื้นที่นาข้าว จำนวน 7 ไร่ แบ่งเป็น แปลงที่ 1 แปลงปลูกข้าวพันธุ์ซีบูกันตัง พื้นที่ 2 ไร่ ผลผลิตข้าวที่ได้ 720 กิโลกรัม และข้าวนาปรังดำเนินการปลูกข้าวชัยนาท 1 ยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ สำหรับแปลงที่ 2 และแปลงที่ 3 แปลงเลี้ยงปลาในนาข้าว พื้นที่ 5 ไร่ โดยนาปีปลูกข้าวพันธุ์หอมกระดังงา 59 ผลผลิตข้าวที่ได้ 260 กิโลกรัม และข้าวนาปรังดำเนินการปลูกข้าวชัยนาท 1 ยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

                  (3) พื้นที่พืชไร่ พืชผัก และพืชสวน พื้นที่จำนวน 9.25 ไร่ แบ่งเป็น แปลงพืชไร่ (ข้าวโพดหวาน) พื้นที่ 2 ไร่ สามารถเก็บผลผลิตได้ 836.5 กิโลกรัม แปลงพืชผัก พื้นที่ 0.75 ไร่ ปลูกผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ได้แก่ บวบ 3.6 กิโลกรัม มะระ 21.5 กิโลกรัม พริกชี 49.2 กิโลกรัม ถั่วฝักยาว 114.6 กิโลกรัม โหระพา 7.5 กิโลกรัม มะเขือเปราะ 46.9 กิโลกรัม กระเจี๊ยบเขียว 238.4 กิโลกรัม แปลงไม้ผล พื้นที่ 6.25 ไร่ ผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ได้แก่ ทุเรียน 87.8 กิโลกรัม เงาะ 47 กิโลกรัม มังคุด 172.5 กิโลกรัม กระท้อน 14 กิโลกรัม มะพร้าวน้ำหอม 1,648 ลูก แปลงไม้ดอก (มะลิ) พื้นที่ 0.25 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตดอกมะลิ ได้ 28 ลิตร

                   (4) พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 2.25 ไร่ ประกอบด้วย ที่พักอาศัย โรงเก็บเครื่องมือเกษตร โรงเลี้ยงเป็ด เรือนเพาะชำ และโรงเพาะเห็ด สำหรับโรงเรือนเพาะเห็ด ได้ผลผลิต 8.6 กิโลกรัม (เปิดก้อนเชื้อ 1 ครั้งต่อปีในเดือนมกราคม)

   

   

           2.2 งานพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุน ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะการพัฒนาพื้นที่ตามความต้องการของราษฎรและความเหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษากาพัฒนาพิกุลทองฯ พื้นที่ศูนย์สาขา และพื้นที่อื่น ๆ ที่มีพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เข้าไปดำเนินการ โดยในปีงบประมาณ 2561 ดำเนินโครงการต่าง ๆ จำนวน 19 โครงการ ซึ่งสนับสนุนให้ราษฎรในพื้นที่ จำนวน 684 ครัวเรือน โรงเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 28 แห่ง และโรงเรียนในพื้นที่ขยายผลจำนวน 9 โรง ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถยกตัวอย่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ดังนี้

                   2.2.1 โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

                                พื้นที่ดำเนินการ : ปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการให้แก่เกษตรกร จำนวนทั้งสิ้น 14 หมู่บ้าน ราษฎร 210 ครัวเรือน แบ่งเป็น

                          1) พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                             1.1) เกษตรกรรายเดิม ปี 2559 : 60 ครัวเรือน ได้แก่ บ้านยาบี บ้านเปล บ้านพิกุลทอง บ้านโคกสยา บ้านโพธิ์ทอง และบ้านคีรี อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
                                 กิจกรรม : ติดตามประเมินผลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ พบว่า หลังจากผ่านการฝึกอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม โดยเฉลี่ยมีความรู้ที่ระดับมาก ร้อยละ 57 ด้านการนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาพื้นที่ตนเองและความพึงพอใจจากการที่เข้าร่วมโครงการฯ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 91 สามารถนำความรู้ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการฯ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นที่ตนเอง และสามารถนำความรู้ถ่ายทอดแก่เพื่อนบ้านและชุมชนได้ระดับปานกลาง ร้อยละ 65
                                  1.2) เกษตรกรรายเดิม ปี 2560 : 50 ครัวเรือน ได้แก่ บ้านยาบี บ้านเปล บ้านพิกุลทอง บ้านโคกสยา บ้านโพธิ์ทอง และบ้านคีรี อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
                                      กิจกรรม : ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร หลักสูตรการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตพืชผักพืชไร่ ไม้ผลสู่ระบบการตลาด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2561 -1 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม จำนวน 50 ราย รวมทั้ง ได้ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ พัฒนาศักยภาพการบริหารกลุ่มแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกร – เครือข่าย โดยศึกษาดูงานในพื้นที่ จำนวน 3 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 บ้านนายธีรพงศ์ ชาญแท้ บ้านโคกอิฐ – โคกใน ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จุดที่ 2 บ้านนายจันทร์ ชาญแท้ บ้านโคกกระท่อม ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และจุดที่ 3 บ้านนายธีรนิตย์ เสาร์พูล บ้านโคกยาง ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส อีกทั้ง ส่งเสริมพัฒนาการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารเคมี และกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

   

   

โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล
(พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ)

                          2) พื้นที่ศูนย์สาขา

                               2.1) เกษตรกรรายเดิม ปี 2560 : 10 ครัวเรือน ได้แก่ บ้านบางขุนทอง ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

                                       กิจกรรม : ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร หลักสูตรการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตพืชผักพืชไร่ ไม้ผลสู่ระบบการตลาด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2561 -1 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารกลุ่มแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรเครือข่าย โดยนำกลุ่มเกษตรกรศึกษาดูงานจำนวน 1 จุด ได้แก่ นายเมธี บุญรักษ์ การปลูกพืชแบบผสมผสานด้านไร่นาสวนผสม บ้านโล๊ะลือแบ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสอีกทั้งส่งเสริมพัฒนาการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP

                                  2.2) เกษตรกรรายใหม่ ปี 2561 : 20 ครัวเรือน ได้แก่ บ้านปีแนมูดอ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง และบ้านปศุสัตว์ – เกษตรมูโนะ จังหวัดนราธิวาส

                                         กิจกรรม : ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร หลักสูตรการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผักพืชไร่ไม้ผล ระหว่างวันที่ 10 – 11 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ และส่งเสริมการปลูกผักปลอดจากสารพิษ

   

   

โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล (พื้นที่ศูนย์สาขา)

                               3) พื้นที่อื่น ๆ ซึ่งมีพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เข้าไปดำเนินการ

                            3.1) เกษตรกรรายเดิม ปี 2559 : 50 ครัวเรือน ได้แก่ บ้านป่าทุ่ง ตำบลบางเก่า และบ้านบาเลาะ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และบ้านตอหลัง บ้านทรายขาว ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

                               กิจกรรม : ติดตามประเมินผลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ พบว่า หลังจากผ่านการฝึกอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม โดยเฉลี่ยมีความรู้ที่ระดับปานกลาง ร้อยละ 78 ด้านการนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาพื้นที่ตนเองและความพึงพอใจจากการที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า อยู่ในระดับปานกลางถึงดีมากและมีเกษตรกร ร้อยละ 46 อีกทั้ง เกษตรกรสามารถนำความรู้ถ่ายทอดแก่เพื่อนบ้านและชุมชนได้ระดับปานกลางถึงดีมาก

                           3.2) เกษตรกรรายเดิม ปี 2560 : 20 ครัวเรือน ได้แก่ บ้านกำแพง ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส และบ้านโคกกระท่อม ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

                                      กิจกรรม : ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร หลักสูตรการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตพืชผักพืชไร่ ไม้ผลสู่ระบบการตลาด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2561 -1 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม จำนวน 50 ราย รวมทั้ง ได้ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ พัฒนาศักยภาพการบริหารกลุ่มแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกร – เครือข่าย โดยศึกษาดูงานในพื้นที่ จำนวน 1 จุด ได้แก่
นายเมธี บุญรักษ์ การปลูกพืชแบบผสมผสานด้านไร่นาสวนผสม บ้านโล๊ะลือแบ ตำบลสุไหงโก-ลก
อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส อีกทั้ง ส่งเสริมพัฒนาการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP

   

   

โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล (พื้นที่อื่นๆ)

            2.2.2 โครงการพัฒนาพื้นที่ดินทรายจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

                      พื้นที่ดำเนินการ : ปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการให้แก่เกษตรกร จำนวนทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ราษฎร 131 ครัวเรือน แบ่งเป็น

                   1) พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                       1.1) เกษตรกรรายเดิม ปี 2559 : 80 ครัวเรือน ได้แก่ บ้านบางมะนาว บ้านเขาตันหยง บ้านใหม่ บ้านตือลาฆอปาลัส บ้านบูกิตอ่าวมะนาว และบ้านสะปอม อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

                         กิจกรรม : ติดตามประเมินผลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ พบว่า หลังจากผ่านการฝึกอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม โดยเฉลี่ยมีความรู้ที่ระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 94 ด้านการนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาพื้นที่ตนเองและความพึงพอใจจากการที่เข้าร่วมโครงการฯ พบว่า อยู่ในระดับปานกลางถึงดีมากและมีเกษตรกร ร้อยละ 60 สามารถนำความรู้ถ่ายทอดแก่เพื่อนบ้านและชุมชนได้

                       1.2) เกษตรกรรายเดิม ปี 2560 : 40 ครัวเรือน ได้แก่ บ้านบางมะนาว บ้านเขาตันหยง บ้านใหม่ บ้านตือลาฆอปาลัส บ้านบูกิตอ่าวมะนาว และบ้านสะปอม อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

                                 กิจกรรม : ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร หลักสูตรการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตพืชผักพืชไร่ ไม้ผลสู่ระบบการตลาด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 8 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ รวมทั้ง ได้ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ พัฒนาศักยภาพการบริหารกลุ่มแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกร – เครือข่าย โดยศึกษาดูงานในพื้นที่ จำนวน 2 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 นายมะยีดิง แลแร การปลูกฝรั่งกิมจูในพื้นที่ดินทรายจัดบ้านป่าทุ่ง ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และจุดที่ 2 นายสุริยา สะมะแอ การปลูกพืชผักผสมผสาน บ้านบาเลาะ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี อีกทั้ง ส่งเสริมพัฒนาการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารเคมี และกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

   

   

โครงการพัฒนาพื้นที่ดินทรายจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล
(พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ)

                           

                          2) พื้นที่อื่น ๆ ซึ่งมีพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เข้าไปดำเนินการ

                              2.1) เกษตรกรรายเดิม ปี 2560 : 11 ครัวเรือน ได้แก่ บ้านบาเลาะ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

                              กิจกรรม : ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร หลักสูตรการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตพืชผักพืชไร่ ไม้ผลสู่ระบบการตลาด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 8 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ รวมทั้ง ได้ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ พัฒนาศักยภาพการบริหารกลุ่มแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกร – เครือข่าย โดยศึกษาดูงานในพื้นที่ จำนวน 1 จุด ได้แก่ นายสมพงษ์ แก้วสำอาง ด้านการเกษตรผสมผสาน ณ บ้านตอหลัง ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

   


   

โครงการพัฒนาพื้นที่ดินรายจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล (พื้นที่อื่นๆ)

                  2.2.3 โครงการเพาะชำพันธุ์หม่อนผลสด-หม่อนใบ เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                          ดำเนินการผลิตและแจกจ่ายพันธุ์หม่อนผลสด และหม่อนใบให้แก่เกษตรกรเป็นอาชีพเสริมและสามารถพัฒนาต่อยอดสู่การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ ในปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการเพาะชำกิ่งหม่อนผลสดชำถุง จำนวน 6,000 ถุง และหม่อนใบ จำนวน 5,000 กิ่ง พร้อมทั้งให้ความรู้ แนะนำ เกี่ยวกับการปลูก การดูแลรักษา และการแปรรูปผลหม่อน ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

   

โครงการเพาะชำพันธุ์หม่อนผลสด-หม่อนใบเพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                2.2.4 โครงการขยายผลการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว

                        พื้นที่ดำเนินการ : ปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการในพื้นที่บ้านยาบี บ้านค่าย บ้านเปล บ้านพิกุลทอง และบ้านคีรี ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จำนวน 20 ราย

                         กิจกรรม : ดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกรในหลักสูตรการขยายผลการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว” เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้และเข้าใจ ในการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2561 ณ งานประมง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปลานิล 2,000 ตัว อาหารปลา 13 กระสอบ ฟางอัด 10 ก้อน ปูนขาว 10 ถุง และปุ๋ยคอก 15 กระสอบ

   

โครงการขยายผลการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว

                 2.2.5 โครงการส่งเสริมการแปรรูปสัตว์น้ำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

                         พื้นที่ดำเนินการ : ปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการในพื้นที่บ้านเปล ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จำนวน 20 ราย

                         กิจกรรม : ดำเนินการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่หลักสูตร “ส่งเสริมการแปรรูปสัตว์น้ำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร” เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการแปรรูปปลานิลอย่างถูกวิธีและมีคุณภาพ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 ณ งานประมง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม จำนวน 20 ราย และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ พันธุ์ปลานิล 650 กิโลกรัม ถุงบรรจุภัณฑ์ 100 กิโลกรัม มีด 10 เล่ม และเกลือ 10 กระสอบ

   

โครงการส่งเสริมการแปรรูปสัตว์น้ำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

                    2.2.6 โครงการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก (ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 ปั้นคันนา)

                         พื้นที่ดำเนินการ : ปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการในพื้นที่บ้านโคกสะตอ ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

                             กิจกรรม : ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรหลักสูตรการจัดการและการวางแผนการปลูกข้าวคุณภาพ ระหว่างวันที่ 25 - 26 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม จำนวน 30 ราย อีกทั้ง ปรับปรุงแปลงนาลักษณะที่ 1 (ปั้นคันนา) จำนวน 100 ไร่ เพื่อรักษาระดับน้ำ และเป็นคันทางเดินขนย้ายผลผลิตข้าวได้ รวมทั้ง การสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ยเคมี และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน (หินปูนฝุ่น)

   

(โครงการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก (ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1)

                 2.2.7 โครงการฟื้นฟูพื้นที่นาหลังน้ำท่วมเพื่อการทำนาข้าวอย่างครบวงจร

                        พื้นที่ดำเนินการ : ปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการรวมกลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทำนา กลุ่มกองทุนปุ๋ย กลุ่มโรงสีข้าว และกลุ่มทอผ้า ของบ้านทรายขาว และบ้านตอหลัง ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

                        1) เกษตรกรรายเดิม ปี 2559 : 106 ครัวเรือน

                            กิจกรรม : ติดตามและประเมินผลโครงการฯ พบว่า ร้อยละ 80 มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และร้อยละ 60 มีความรู้เรื่องการจัดการดินเปรี้ยวจัดเพื่อการปลูกข้าว ซึ่งเกษตรกรร้อยละ 60 มีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคในครัวเรือน และเกษตรกรร้อยละ 40 มีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคและเหลือเพื่อจำหน่าย รวมทั้ง อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในหลักสูตร การแปรรูปผลผลิตข้าว ระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีเกษตรกรที่เข้าร่วมอบรม จำนวน 77 ราย

                       2) เกษตรกรรายเดิม ปี 2560 : 20 ครัวเรือน

                            กิจกรรม : อบรมเกษตรกรในหลักสูตรการลดต้นทุนผลผลิต และเพิ่มผลผลิตข้าว ระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม จำนวน 20 ราย รวมทั้ง ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ

   

โครงการฟื้นฟูพื้นที่นาหลังน้ำท่วมเพื่อการทำนาข้าวอย่างครบวงจร

                2.2.8 โครงการพัฒนาพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกข้าว

                    พื้นที่ดำเนินการ : ปีงบประมาณ 2561 ดำเนินการในพื้นที่บ้านโคกชุมบก ตำบลบางขุนทอง บ้านโคกกระท่อม ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และบ้านโคก  ตำบลจวบ บ้านจูโว๊ะ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

                    กิจกรรม : ดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกรในหลักสูตร “การผลิตข้าวคุณภาพ” ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีเกษตรกรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์เข้าร่วมอบรม จำนวน 80 ราย รวมทั้ง สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ยเคมี และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน (หินปูนฝุ่น)

   

โครงการพัฒนาพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกข้่าว

                   2.2.9 โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ดินพรุด้านปศุสัตว์

                          - กิจกรรมการเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมือง : เกษตรกรได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการเลี้ยงสัตว์ปีก ระหว่างวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2561 และเกษตรกรทุกรายจะต้องสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เอง ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ เกษตรกรในพื้นที่ศูนย์สาขาที่ 2 บ้านปีแนมูดอ จำนวน 20 ราย อีกทั้ง สนับสนุนพันธุ์ไก่ลูกผสม 600 ตัว อาหารสำเร็จรูป 1,800 กิโลกรัม ยาปฏิชีวนะ 26 ซอง

                  - กิจกรรมส่งเสริมเลี้ยงไก่ไข่หลังบ้าน : เกษตรกรได้รับการฝึกอบรม หลักสูตรการเลี้ยงสัตว์ปีก ระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2561 และเกษตรกรทุกรายจะต้องสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เอง ทั้งนี้ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ เกษตรกรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโพธิ์ทอง บ้านสะปอม จำนวน 20 ราย อีกทั้ง สนับสนุนพันธุ์ไก่ไข่ 200 ตัว อาหารไก่ไข่ 1,800 กิโลกรัม และยาปฏิชีวนะ 26 ซอง

                    - กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเทศ : เกษตรกรได้รับการฝึกอบรม หลักสูตรการเลี้ยงสัตว์ปีก ระหว่างวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2561 และเกษตรกรทุกรายจะต้องสร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดเอง ทั้งนี้ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ เกษตรกรในพื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านจูโว๊ะ บ้านโคกสะตอ จำนวน 40 ราย อีกทั้ง สนับสนุนพันธุ์เป็ดเทศเพศผู้ 160 ตัว พันธุ์เป็ดเทศเพศเมีย 640 ตัว อาหารสำเร็จรูป 2,800 กิโลกรัม และยาปฏิชีวนะ 40 ซอง

   

โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ดินพรุด้านปศุสัตว์

                 2.2.10 โครงการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

                       ปีงบประมาณ 2561 ดำเนินการในพื้นที่บ้านป่าทุ่ง ตำบลบางเก่า และบ้านบาเลาะ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2 ราย โดยดำเนินการจัดสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดให้กับเกษตรกร จำนวน 2 โรงเรือน และแจกจ่ายก้อนเชื้อเห็ดให้กับเกษตรกร จำนวน 4,000 ก้อน

   

โครงการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

                2.2.11 โครงการขยายผลการเลี้ยงปลาหมอในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว

                          พื้นที่เป้าหมาย : ปีงบประมาณ 2561 ดำเนินการในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้แก่ บ้านพิกุลทอง และพื้นที่ศูนย์สาขา ได้แก่ บ้านปีแนมูดอ และพื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการ ได้แก่ บ้านบาเลาะและบ้านโคกสะตอ โดยมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 15 รา

                            กิจกรรม : การฝึกอบรมเกษตรกรในหลักสูตร “การขยายผลการเลี้ยงปลาหมอในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว” เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2561 ณ งานประมง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปลาหมอ 3,000 ตัว อาหารปลาดุกเล็ก 150 กระสอบ อาหารปลาดุกกลาง 210 กระสอบ และตาข่ายมุ้งฟ้า 30 ม้วน

โครงการขยายผลการเลี้ยงปลาหมอในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว

                2.2.12 โครงการปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและเกษตรกรตัวอย่าง

                        ดำเนินการส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ ได้สนับสนุนวัสดุในการสาธิตการทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ โดยเน้นให้เกษตรกรศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่างเป็นผู้ปฎิบัติและสาธิตให้แก่เกษตรกรกลุ่มเครือข่ายในหมู่บ้าน รวมทั้ง สนับสนุนบล็อกปุ๋ยหมัก จำนวน 10 บล็อก ขนาด 2 × 4 เมตร ให้แก่เกษตรศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 10 ราย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำวัสดุเหลือใช้ที่มีในพื้นที่มาผลิตเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในแปลงเกษตร อีกทั้ง สนับสนุนซุ้มปลูกผัก จำนวน 5 ซุ้ม ให้แก่ศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 5 ราย พร้อมให้คำแนะนำการปลูกพืชผัก ปรับปรุงรั้วศูนย์เรียนรู้ จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายธีรนิตย์ เสาร์พูล และปรับปรุงป้าย ให้แก่ศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 12 ป้าย

   

   

โครงการปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและเกษตรกรตัวอย่าง

               2.2.13 โครงการส่งเสริมการเพิ่มปริมาณผลิตผลในโรงเรียนโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

                       พื้นที่ดำเนินการ : โรงเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จำนวน 28 โรง แบ่งเป็น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จำนวน 17 โรง สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 6 โรง และ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 5 โรง

                           กิจกรรม : ดำเนินการฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ จำนวน 28 โรง ระหว่างวันที่ 5 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ สนับสนุนวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน (ปูนขาว) จำนวนโรงเรียนละ 10 กระสอบ สนับสนุนวัสดุปรับปรุงแปลงปลูกพืชผัก ได้แก่ บล็อกปุ๋ยหมัก 10 บล็อก ให้แก่ 10 โรง และสายยางพร้อมตาข่ายทำค้าง ให้แก่ 12 โรง รวมทั้ง ส่งเสริมการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกในโรงเรียน
โดยการ
สนับสนุนก้อนเชื้อเห็ดโรงเรียนละ 900 ก้อน ให้แก่ 28 โรง นอกจากนี้ ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์บอนสีในโรงเรียน จำนวน 10 โรง โดยการสนับสนุนพันธุ์บอนสีพันธุ์ลูกผสม จำนวน 30 ต้น ดินเพาะ(ดินก้ามปู) จำนวน 20 กระสอบ กระถางพลาสติก จำนวน 10 กระถาง และการดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพในโรงเรียน จำนวน 7 โรง โดยส่งเสริมให้ความรู้ และคำแนะนำการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สนับสนุนพันธุ์พืชสมุนไพร จำนวน 20 ชนิด กระถางดินเผา จำนวน 10 กระถาง เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่นำมาปลูกภายในแปลงเกษตรของโรงเรียน

   

   

โครงการส่งเสริมการเพิ่มปริมาณผลิตผลในโรงเรียนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

                 2.2.14 โครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน

                           พื้นที่ดำเนินการ : 13 อำเภอ 77 ตำบล 589 หมู่บ้าน เขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

                           กิจกรรม : ดำเนินการอบรมให้โภชนาการศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (เตี้ย-ผอม) จำนวน 1,564 คน ระหว่างวันที่ 23 – 31 กรกฎาคม 2561 รวมทั้ง จัดฝึกอบรมผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 560 คน (จำนวน 2 ครั้ง) หลักสูตรกิน กอด เล่น เล่า ตามโครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน ระหว่างวันที่ 2 – 15 สิงหาคม 2561 และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลเด็กผู้รับผิดชอบงานโภชนาการและผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 436 คน หลักสูตร กิน กอด เล่น เล่า นอนเฝ้าดูฟัน ตามโครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน

   

   

โครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน

                  2.3 งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ดำเนินการนำผลสำเร็จจากการศึกษา ทดลอง และวิจัย มาจัดทำเป็นกิจกรรมในงานขยายผลโครงการฯ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎร ในพื้นที่ได้นำองค์ความรู้เหล่านั้นไปต่อยอดในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะสามารถสร้างคุณภาพชีวิต และเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎรได้เป็นอย่างดี โดยปีงบประมาณ 2561 มีราษฎรที่เข้ารับการอบรมจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จำนวน 1,830 คน โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ดังนี้

                    1) หลักสูตรสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ขยายผลการพัฒนาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จำนวน 21 หลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 922 คน

ที่ หลักสูตร

จำนวน

(คน)

ระยะเวลาการอบรม

1

การปรับปรุงคุณภาพผลผลิตพืชผัก พืชไร่ และไม้ผล
สู่ระบบการตลาด

80

25 – 26 ก.ค. 61

2

การปรับปรุงคุณภาพผลผลิตพืชผัก พืชไร่ และไม้ผล
สู่ระบบการตลาด

49

7 – 8 ก.ค. 61

3

การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผล

20

10 – 11 ก.ค. 61

4

การแปรรูปผลผลิตข้าว

78

12 – 13 ก.ค. 61

5

การลดต้นทุนผลผลิตและเพิ่มผลผลิตข้าว

20

28 – 29 มิ.ย. 61

6

การจัดและการวางแผนการปลูกข้าวคุณภาพ

30

25 – 26 ก.ค. 61

7

การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ

100

5 – 6 ก.ค. 61

8

เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพันธุ์พืช

40

17 ส.ค. 61

9

การปลูกพืชผัก พืชไร่ ให้ปลอดภัยจากสารพิษ

30

12 ก.พ. 61

10

การปลูกผักไร้ดิน

50

13 ก.พ. 61

11

การผลิตก้อนเชื้อเห็ด

120

14 ก.พ. 61

12

การเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว

20

4 ก.ค. 61

13

การขยายผลการเลี้ยงปลาหมอในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว

15

3 ก.ค. 61

14

การแปรรูปสัตว์น้ำ

20

5 ก.ค. 61

15

พื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ปีก

140

21 ธ.ค. 60

16

เกษตรกรผู้นำเศรษฐกิจพอเพียง

10

22 ธ.ค. 60

17

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์และกองทุนผลิตภัณฑ์

10

21 มี.ค. 61

18

SMART แพะ

10

16 ส.ค. 61

19

การเลี้ยงไก่ไข่หลังบ้าน

20

17 – 18 ก.ค. 61

20

การเลี้ยงเป็ดเทศ

40

19 – 20 ก.ค. 61

21

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสม

20

23 – 24 ก.ค. 61

 

รวม 21 หลักสูตร

922

 

                  2) หลักสูตรสำหรับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป จำนวน 15 หลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 908 คน

ที่

หลักสูตร

 

จำนวน

(คน)

 

ระยะเวลาการอบรม

1

การเลี้ยงปลาในบ่อดินเปรี้ยวจัด

50

2 – 3 ก.ย. 61

2

การเลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่และเป็ด)

48

27 – 28 ส.ค. 61

3

การเพาะเห็ดถุงเสริมรายได้

50

4 – 5 ก.ย. 61

4

การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผัก

50

25 – 26 ส.ค. 61

5

การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าว

48

25 – 26 ส.ค. 61

6

การเลี้ยงปลาสวยงาม

5

7 ธ.ค. 60

7

การทำปลาส้ม

42

7 ก.พ. – 9 มี.ค. 61

8

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เตย

53

4 พ.ย. 60 – 11 ส.ค. 61

9

การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด

82

4 ธ.ค. 60 – 31 ส.8. 61

10

การพัฒนาการผลิตผ้าทอพื้นเมือง

30

8 ธ.ค. 60 – 15 ก.ค. 61

11

การพัฒนาการผลิตผ้าทอยกดอก

10

18 – 27 ธ.ค. 60

12

การผลิตข้าวคุณภาพ

80

25 – 26 ก.ค. 61

13

วัยใสไกด์ธรรมชาติ

120

21 – 22 มิ.ย. 61

14

ผู้พิทักษ์อนุรักษ์ป่าพรุโต๊ะแดง

120

25 – 26 มิ.ย. 61

15

ค่ายเพื่อนชาวพรุ

120

28 – 29 มิ.ย. 61

 

รวม 15 หลักสูตร

908

 

        ทั้งนี้ มีตัวอย่างกิจกรรมการฝึกอบรมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2561 ดังนี้

                 2.3.1 โครงการฝึกอบรมเกษตรกรภายใต้ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จำนวน 5 หลักสูตร ๆ ละ 50 ราย ดังนี้

                         - หลักสูตรที่ 1 การเลี้ยงปลาในบ่อดินเปรี้ยวจัด ระหว่างวันที่ 2 – 3 กันยายน 2561 อบรมให้ความรู้เรื่องการเตรียมพื้นที่บ่อเลี้ยงปลาหลังน้ำลด วิธีการปรับปรุงบ่อ วิธีการเลี้ยง และการดูแลรักษาปลา ฝึกปฏิบัติการแปรรูปปลา การจัดทำบัญชีในครัวเรือน และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ลูกพันธุ์ปลาดุก 7,500 ตัว และอาหารลูกปลาดุก 25 กระสอบ

                          - หลักสูตรที่ 2 การเลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่และเป็ด) ระหว่างวันที่ 20 – 21 สิงหาคม 2561 อบรมให้ความรู้เรื่องการเตรียมพื้นที่หรือโรงเรือน วิธีการเลี้ยง และการดูแลรักษาสัตว์ปีก (ไก่/เป็ด) ฝึกปฏิบัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ปีก การจัดทำบัญชีในครัวเรือน และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ลูกพันธุ์ไก่พื้นเมือง 300 ตัว และอาหารไก่พื้นเมือง 17 กระสอบ

                      - หลักสูตรที่ 3 การเพาะเห็ดถุงเสริมรายได้ ระหว่างวันที่ 4 - 5 กันยายน 2561 อบรมให้ความรู้เรื่องการเตรียมพื้นที่หรือโรงเรือน วิธีการเพาะเห็ดถุง และการดูแลรักษา ฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดถุง การจัดทำบัญชีในครัวเรือน และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ก้อนเชื้อเห็ด 4,000 ก้อน

                    - หลักสูตรที่ 4 การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผัก ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2561 จำนวน 50 ราย ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคพืช ฝึกปฏิบัติการผลิตเชื้อราป้องกันโรคพืช การจัดทำบัญชีในครัวเรือน และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ พันธุ์เมล็ดถั่วฝักยาว 200 ซอง พันธุ์พริกหยวก 200 ซอง พันธุ์มะเขือ 200 ซอง และปุ๋ยเคมี 25 กระสอบ - หลักสูตรที่ 5 การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าว ระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2561 จำนวน 50 ราย ให้ความรู้เรื่องการปลูกข้าว การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว พร้อมฝึกปฏิบัติการผลิตเชื้อราป้องกันโรคข้าว และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 จำนวน 50 กระสอบ

โครงการฝึกอบรมเกษตรกรภายใต้ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
จำนวน 5 หลักสูตร ๆ ละ 50 ราย

                 2.3.2 โครงการพัฒนากระบวนการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ของเกษตรกรศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่างในโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                         ปีงบประมาณ 2561 ได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 29 มิถุนายน 2561 รวมจำนวนทั้งสิ้น 52 คน ศึกษาดูงาน ณ จังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล สำหรับรุ่นที่ 2 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 5 - 7 กรกฎาคม 2561 รวมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน ศึกษาดูงาน ณ จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช

   

   

โครงการพัฒนากระบวนการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ของเกษตรกร
ศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่างในโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                 2.3.3 โครงการฝึกอบรมหลักสูตรศาสตร์พระราชากับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในโรงเรียน จำนวน 5 โรงเรียน

                       ปีงบประมาณ 2561 ดำเนินการจัดอบรมเกี่ยวกับศาสตร์พระราชากับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนมีความรักและหวนแหนทรัพยากรป่าไม้ ระหว่างวันที่ 10 – 19 กรกฎาคม 2561 จำนวน 5 รุ่น โดยมีโรงเรียนที่เข้าอบรม จำนวน 5 โรงเรียน 538 ราย ได้แก่ โรงเรียนบ้านโคกสยา จำนวน 113 ราย โรงเรียนบ้านหัวเขา จำนวน 144 ราย โรงเรียนบ้านเขาตันหยงมิตรภาพที่ 153 จำนวน 105 ราย โรงเรียนบ้านเปล จำนวน 100 ราย และโรงเรียนบ้านบางมะนาว จำนวน 106 คน รวมทั้ง สนับสนุนต้นพันธุ์ตะลิงปิง จำนวน 600 ต้น

   

   

โครงการฝึกอบรมหลักสูตรศาสตร์พระราชา
กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในโรงเรียน จำนวน 5 โรงเรียน

                 2.3.4 โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ “เพื่อนชาวพรุ”

                        - กิจกรรมฝึกอบรมอาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่นวัยใสไกด์ธรรมชาติ รุ่นที่ 19 ระหว่างวันที่ 21 -22 มิถุนายน 2561 จำนวน 8 โรงเรียน 120 ราย ได้แก่ โรงเรียนบ้านตือระมิตรภาพที่ 172 โรงเรียนัญธารวิทยา โรงเรียนแสงธรรมวิทยา โรงเรียนบ้านมูโนะ โรงเรียนบ้านลาแล โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) โรงเรียนรังผึ้ง และโรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี

                         - กิจกรรมฝึกอบรม "ผู้พิทักษ์อนุรักษ์ป่าพรุโต๊ะแดง" ระหว่างวันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2561 จำนวน 9 โรงเรียน 120 ราย ได้แก่ โรงเรียนบ้านซรายอ โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก โรงเรียนบ้านปูโปะ โรงเรียนบ้านลูโบะลือซง โรงเรียนบ้านกูแบอีแก โรงเรียนบ้านโต๊ะเวาะ โรงเรียนบ้านมือบา โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซามา และโรงเรียนบ้านกวาลอซีรา

                              - กิจกรรมฝึกอบรม "ค่ายเพื่อนชาวพรุ" ระหว่างวันที่ 28 - 29 มิถุนายน 2561 จำนวน 9 โรงเรียน 120 ราย ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านตันหยงลิมอ) โรงเรียนวัดประดิษฐบุปผา โรงเรียนวัดโบราณสถิตย์ โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน โรงเรียนบ้านปลักปลา โรงเรียนบ้านปาดังยอ โรงเรียนบ้านตาเซะเหนือ และโรงเรียนบ้านตาเซะใต้

   

กิจกรรมฝึกอบรมอาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่นวัยใสไกด์ธรรมชาติ รุ่นที่ 19

   

กิจกรรมฝึกอบรมผู้พิทักษ์อนุรักษ์ป่าพรุโต๊ะแดง

   

กิจกรรมฝึกอบรม "ค่ายเพื่อนชาวพรุ"

                 2.3.5 โครงการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เส้นใยพืช และผ้าทอพื้นเมือง จำนวน 3 หลักสูตร

                          - หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด จำนวน 4 รุ่น

                            รุ่นที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด รุ่นที่ 1 จำนวน 10 ราย ได้แก่ บ้านบาเดาะมาตี หมู่ที่ 9 ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 10 – 19 กรกฎาคม 2561

                            รุ่นที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด รุ่นที่ 2 จำนวน 10 ราย ได้แก่ บ้านปูลาเจ๊ะมูดอ หมู่ที่ 5 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 16 – 25 กรกฎาคม 2561 รุ่นที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด

                            รุ่นที่ 3 จำนวน 10 ราย ได้แก่ บ้านกาแนะ หมู่ที่ 3 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 1 – 15 สิงหาคม 2561
                           รุ่นที่ 4 การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด รุ่นที่ 4 จำนวน 10 ราย ได้แก่ บ้านค่าย หมู่ที่ 2 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 20 - 31 สิงหาคม 2561

                         - หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์เตย (ปาหนัน) จำนวน 10 ราย ระหว่างวันที่ 2 – 11 สิงหาคม 2561 ณ บ้านปูลาเจ๊ะมูดอ หมู่ที่ 5 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

                           - หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง จำนวน 10 ราย ระหว่างวันที่ 3 – 15 กรกฎาคม 2561 ณ บ้านโคกมะม่วง หมู่ที่ 4 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

   

หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด

   

หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์เตย (ปาหนัน)

   

หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง

                2.4 แผนงานฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  ดำเนินการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมุ่งเน้นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมและการตระหนักถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่ง โดยเฉพาะป่าพรุ ซึ่งเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ โดยปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

                  ® การเพาะชำกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายประชาชนทั่วไป จำนวน 100,000 กล้า ซึ่งได้ดำเนินการแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 302 ราย และหน่วยงานราชการ จำนวน105 หน่วยงาน โดยพันธุ์ไม้ที่แจกจ่าย ได้แก่ ต้นตำเสา ต้นราชพฤกษ์ ต้นตะเคียนทอง ต้นมะฮอกกานี ต้นกระถินเทพา ขี้เหล็กบ้าน ต้นสะเดาเทียม ต้นมะขาม ต้นมะม่วงเบา ต้นระไม ต้นมันปู และต้นส้มจี๊ด

   

การเพาะชำกล้าไม้ป่าพรุ จำนวน 1000,000 กล้า

                  ® การเพาะชำกล้าไม้ป่าพรุ สนับสนุนโครงการประชารัฐฟื้นฟูป่าพรุโต๊ะแดง จำนวน 100,000 กล้า ซึ่งได้ดำเนินการแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 25 ราย และหน่วยงานราชการ จำนวน 27 หน่วยงาน โดยพันธุ์ไม้ที่แจกจ่าย ได้แก่ ต้นหว้่านา ต้นกระบุย ต้นโงงัง ต้นสักน้ำ ต้นขี้ใต้ ต้นแตยอ ต้นฝาดขาว ต้นหัวหงอก ต้นเลือดควาย และต้นชะเมาน้ำ

   

การเพาะชำกล้าไม้ป่าพรุ จำนวน 100,000 กล้า

                           ®  การเพาะชำกล้าไม้สนับสนุนโครงการปลูกป่าในใจคน และปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง แบ่งเป็น เพาะชำกล้าไม้ป่ามีค่า จำนวน 50,000 กล้า จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ ต้นหมากแดง ต้นพะยูง ต้นจำปุหริง ต้นส้มแขก สะเดาปัก และต้นใบไม้สีทอง รวมทั้ง เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป จำนวน 200,000 กล้า จำนวน 20 ชนิด ได้แก่ ต้นตะเคียนทอง ต้นมันปู ต้นมะฮอกกานี ต้นขี้เหล็ก ต้นตะลิงปิง ต้นยาง และต้นสะเดา

   

การเพาะชำกล้าไม้สนับสนุนโครงการปลูกป่าในใจคนและปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

                 ® โครงการพัฒนาแหล่งศึกษาระบบนิเวศป่าริมแม่น้ำบางนรา โดยดำเนินการเพาะชำกล้าไม้ จำนวน 30,000 กล้า ได้แก่ ต้นตะเคียนทอง ต้นพิกุล ต้นบานบุรี ต้นราชพฤกษ์ ต้นโกสนต้นเข็มเหลือง ต้นลำพู และต้นตำเสา รวมทั้ง จัดทำป้ายสื่อความหมายตามจุดดูงานต่าง ๆ จำนวน 10 ป้าย ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 มีคณะเข้ามาศึกษาดูงาน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 4 บ้านกำปงตาโก๊ะ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย ครู 10 คน นักเรียน 130 ค

   

โครงการพัฒนาแหล่งศึกษาระบบนิเวศป่าริมแม่น้ำบางนรา

                          ®    ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดในงานหัตถกรรม และสิ่งก่อสร้าง โดยการพัฒนารูปแบบการใช้ไม้เสม็ดขาวให้เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ให้ประชาชนในปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการศึกษาการแปรรูปไม้เสม็ดขาว ในขนาดและรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และหาวิธีการนำไม้เสม็ดขาวให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ป้ายสื่อความหมาย บ้านออมสิน และกรอบรูป รวมทั้ง ได้นำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มาจัดแสดงเป็นนิทรรศการขยายผลไปสู่ประชาชน

   

ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดในงานหัตถกรรม และสิ่งก่อสร้าง

                  ® ส่งเสริมปลูกไม้เสม็ดและไม้โตเร็วในพื้นที่ดินเปรี้ยว โดยดำเนินการเพาะชำกล้าไม้เสม็ดและไม้โตเร็ว จำนวน 15,000 กล้า แบ่งเป็น ไม้เสม็ด 5,000 ต้น และกระถินเทพา 10,000 กล้

   

ส่งเสริมปลูกไม้เสม็ดและไม้โตเร็วในพื้นที่ดินเปรี้ยว

                  ®   โครงก่ารสวนป่าร้างรายได้ เป็นการดำเนินงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลาย โดยดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้ในการสร้างจิตสำนึกถึงการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริ ได้ดำเนินการดูแลรักษา ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง กำจัดวัชพืช

   

โครงการสวนป่าสร้างรายได้

                   ® โครงการรวบรวมพันธุ์ไม้ตามพระราชดำริเพื่อฟื้นฟูป่าพรุโต๊ะแดง โดยการรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าพรุ จำนวน 2,500 ต้น

   

โครงการรวบรวมพันธุ์ไม้ตามพระราชดำริเพื่อฟื้นฟูป่าพรุโต๊ะแดง 

                 3) แผนงานบริหารจัดการ

                    3.1 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต โดยมีตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ตัวอย่างเช่น

                        1) โครงการพืชสวนครัวประดับ พื้นที่ 2 ไร่ เป็นแปลงสาธิตการปลูกพืชแบบพลาสติกคลุมดิน การปลูกพืชลงแปลง และการปลูกพืชในภาชนะ ทั้งนี้ มีคณะเข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน 98 คณะ 10,473 คน

   

              2) โครงการสวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พื้นที่ 14 ไร่ ได้จัดทำขึ้น เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งในปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินการ การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ปลูกพืชแบบพึ่งพาและเกื้อกูล เป็นการปลูกผักแบบอาศัย ร่มเงาปลูกใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ ปลูกพืชโดยไม่ทำลายโครงสร้างดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชแบบข้ามฤดู การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และการปลูกพืชในโรงเรือน ทั้งนี้ มีคณะเข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน 78 คณะ 6,019 คน

   

              3) โครงการสวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ดำเนินการในพื้นที่ 9.3 ไร่ มีการสำรวจพันธุ์ไม้ จำนวนทั้งสิ้น 25 ชนิด 150 ต้น เช่น มเหสักข์ สักสยามินทร์ จำปาป่า ยางนา กันเกรา และชมพู่น้ำ ฯลฯ

   

                 4) โครงการรวบรวมพันธุ์บัวและไม้หอม ดำเนินการจัดทำสวนโครงการรวบรวมพันธุ์บัวและไม้หอม พื้นที่ จำนวน 7.26 ไร่ เพื่อรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์บัวพื้นเมือง พันธุ์บัวลูกผสม และเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้หอมในท้องถิ่น พันธุ์ไม้หอมจากต่างถิ่น และพันธุ์ไม้หอมหายาก

   

               5) โครงการสวนพฤกษศาสตร์พรรณไม้ม่วงเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ดำเนินการจัดทำสวนพฤกษศาสตร์พรรณไม้ม่วงเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ในพื้นที่จำนวน 12 ไร่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 โดยรวบรวมพรรณไม้ที่มีลักษณะของดอก ผล ใบ ลำต้น และส่วนต่าง ๆ ที่มีสีม่วง รวมถึงพืชประจำถิ่น พืชต่างถิ่น พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ พันธุ์ไม้ป่าและไม้เกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ปัจจุบันได้รวบรวมพันธุ์ไม้ไว้ 143 ชนิด อาทิ กระพี้จั่น กันเกรา คราม โคลงเคลง ชำมะเลียง แซะ ตะเคียนชันตาแมว ตะแบก ถั่วฝักยาวพันธุ์ลายเสือจักรพันธ์ และผกากรอง

   

                3.2 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยดำเนินกิจกรรมภายในโครงการฯ ได้แก่ กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช ดำเนินเก็บข้อมูลต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง และพันธุ์ไม้ดั้งเดิมในพื้นที่ 85 ไร่ กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช เก็บตัวอย่างแห้ง ในส่วนของใบ กิ่ง ผล และดอกของพันธุ์ไม้ จำนวน 56 ชนิด และเก็บตัวอย่างดอง ในส่วนของผลและดอก จำนวน 26 ชนิด กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช ดำเนินการดูแลรักษาต้นไม้ในภายในแปลง โดยการตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่ม กำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ย จำนวน 8 แปลง ได้แก่ หวาย ดาหลา สมุนไพร หม้อข้าวหม้อแกงลิง กล้วยไม้ พันธุ์ไม้หายาก มเหสักข์ – สักสยามินทร์ และบัว กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช ทั้งในส่วนของการเลี้ยงด้วงสาคู ซึ่งสามารถผลิตด้วงสาคูในปีงบประมาณ 2561 ได้ 16.9 กิโลกรัม กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช และกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านหัวเขา โรงเรียนโคกศิลา และโรงเรียนพิมานวิทย์ อีกทั้ง เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2560 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เข้าร่วมจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย ครั้งที่ 9 “ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น” ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สระบุรี ตำบลชำพักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

    

   

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                3.3 โครงการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเขตพื้นที่ภาคใต้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                     พื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 30 ไร่ แบ่งเป็น

                    - พื้นที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกข้าว จำนวน 2 ไร่

                    - พื้นที่สาธิตเทคโนโลยีการปลูกข้าวและการลดต้นทุนการผลิต จำนวน 8 ไร่

                    - พื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวซีบูกันตัง จำนวน 10 ไร่

                    - พื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมกระดังงา 59 จำนวน 10 ไร่

                     ทั้งนี้ ข้อมูลการเจริญเติบโต พบว่า ข้าวพันธุ์หอมกระดังงา 59 เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 150 วัน และข้าวพันธุ์ซีบูกันตัง 5 เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 135-140 วัน โดยผลการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้แก่

 

รายการ

ผลิต(กิโลกรัม)

แจกจ่าย

คงเหลือ

(กิโลกรัม)

กิโลกรัม

ราย

เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมกระดังงา 59

120

-

-

120

เมล็ดพันธุ์ข้าวซีบูกันตัง 5

1,945

1,215

2

730

    

   

สภาพแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                3.4 โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์สำรองเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

                      ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ดำเนินโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชสำรองเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรในพื้นที่มีความจำเป็นต้องใช้และเหมาะสม ต่อสภาพพื้นที่ เพื่อเป็นคลังเมล็ดพันธุ์สำรองและสนับสนุนให้แก่ราษฎรที่มีความสนใจ โดยปีงบประมาณ 2561 มีผลผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่สามารถแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรได้ ดังนี้

โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์สำรองเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

                  1) การผลิตและแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืชผัก พืชไร่

รายการ

เป้าการผลิต(กิโลกรัม)

ผลิต

แจกจ่าย

คงเหลือ

(ซอง)

กิโลกรัม

ซอง

ซอง

ราย

มะเขือเปราะ

3

3.89

1,556

820

149

736

พริกหยวก

2

3.00

1,166

826

153

340

น้ำเต้าคอกิ่ว

5

0.35

35

-

-

35

ฟักแฟง

5

0.55

53

2

1

51

พริกชี

4

4.00

1,620

-

-

1,620

ถั่วพู

60

3.80

92

-

-

92

 2) การจัดทำทะเบียนแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ตามพระราชดำริ

 

 

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
บ้านพิกุลทอง หมู่ที่ 6 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
พิกัด 47 NRH 176 – 069 ระวาง 5321 I ลำดับชุด L7018
ขยายจากแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000

 

ที่มา : กองประสานงานโครงการพื้นที่ 4 
ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561 

ดาวน์โหลด .pdf ที่นี่