ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

นายมนูญ เทศนำ

ภูมิภาค
ภาคเหนือ
จังหวัด
เชียงใหม่
ศูนย์การศึกษาพัฒนาฯ
ห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
ด้านศูนย์
เกษตรทฤษฎีใหม่

ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริด้านเกษตรทฤษฎีใหม่
ชื่อเกษตรกร/ผู้แทน : นายมนูญ เทศนำ

ก่อนเข้าร่วมโครงการกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เกษตรกรเล่าว่า เดิมก่อนจะปรับพื้นที่เกษตรเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น ตนเองประกอบอาชีพรับจ้างเป็นลูกจ้างในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ และทำการเกษตรเชิงเดี่ยวควบคู่กันไปโดยใช้เวลาว่างจากการเป็นลูกจ้าง ซึ่งในขณะนั้นรายรับที่ได้รับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จึงลาออกมาทำการเกษตรอย่างเต็มตัวแต่ยังคงทำเกษตรเชิงเดี่ยวอยู่ ประกอบด้วยทำนา ปลูกกระทียม ถั่วลิสง ซึ่งการบำรุงพืชที่ปลูกจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืชจำนวนมาก ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในระยะแรกพืชที่ปลูกตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตดี เมื่อเวลาผ่านไปดินเริ่มเสื่อมคุณภาพ ผลผลิตที่ได้ลดปริมาณลง ผลตอบแทนที่ได้รับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่สูงขึ้น เกิดหนี้สินสะสม เป็นภาระให้ครอบครัว จึงได้มาทบทวน จากประสบการณ์การทำงานในศูนย์ศึกษาฯ เกี่ยวกับหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ การดำเนินกิจกรรมการเกษตรต่างๆ นำมาเพิ่มเติมในพื้นที่ให้หลากหลาย ตลอดจนไปศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมจากศูนย์ศึกษาฯ นำมาพัฒนาปรับปรุงพื้นที่

หลังเข้าร่วมโครงการกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 
เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยน จัดสรรพื้นที่ ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยคำนึงถึงแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการเกษตรร่วมกับระบบชลประทาน สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่ได้ถูกแบ่งเป็นกิจกรรมการเกษตรต่างๆ โดยเกษตรกรคำนึงถึงความเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ต่อกัน การสร้างผลผลิตที่หลากหลายเกิดรายได้จุนเจือครอบครัวสม่ำเสมอ งดเว้นจากใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ผันชีวิตและวิถีการทำเกษตรกรรมเป็นเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มที่ โดยไม่ละทิ้งการทำนา ปัจจุบันกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การทำนา ปลูกไม้ผล ผลิตพืชผักอินทรีย์จำหน่ายส่งห้างสรรพสินค้า ปลูกสมุนไพร ผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน ผักหวานป่า เลี้ยงปลา ผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เพาะเลี้ยงกบและขยายพันธุ์กบ
จากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ กิจกรรมการเกษตร แหล่งน้ำ พื้นที่ใช้ประโยชน์ถูกจัดสรรอย่างเหมาะสมลงตัว ระบบการผลิตพืชเป็นระบบอินทรีย์เป็นที่ยอมรับทำให้ราคาผลผลิตที่ผลิตได้ยกระดับสูงขึ้นกว่าเดิม เกิดรายได้หมุนเวียนตลอดปีอย่างต่อเนื่อง ชีวิตครอบครัวมีความสุข มีเงินเก็บออม สามารถส่งลูกทั้ง 3 คนได้รับการศึกษาที่ดี เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเกษตรกรที่ยึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่มาบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นสถานที่ศึกษาดูงานและแหล่งเรียนรู้ให้ผู้สนใจทุกเพศ ทุกวัย ได้นำตัวอย่างไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง ตามความพร้อมและความเหมาะสมของภูมิประเทศ สำหรับตัวเกษตรกรเองได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายทั้งในและนอกสถานที่เพื่อขยายองค์ความรู้ แนวคิด และเผยแพร่แนวพระราชดำริสู่สายตาคนภายนอก ถึงผลสำเร็จในการปฏิบัติเกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม

พื้นที่ดำเนินการ - จำนวน 15 ไร่

แบ่งเป็น
- พื้นที่อยู่อาศัย จำนวน 0.25 ไร่
- พื้นที่ศาลาดูงาน จำนวน 0.25 ไร่
- พื้นที่ทำนา/ปลูกผักอินทรีย์ จำนวน 6 ไร่
- พื้นที่ปลูกไม้ผล/สมุนไพร/ไม้ดอก จำนวน 7 ไร่
- พื้นที่ขุดสระน้ำ จำนวน 1 ไร่
- พื้นที่บ่อเลี้ยงกบ จำนวน 0.5 ไร่

ฐานการเรียนรู้และหัวข้อการเรียนรู้
- รูปแบบและหลักการทำเกษตรทฤษฎีใหม่
- วิธีและกระบวนการทำนา
- การปลูกและดูแลไม้ผล (กล้วยน้ำว้า มะม่วง ลำไย มะพร้าว กระท้อน ขนุน ส้มโอ ชมพู่)
- การปลูกและดูแลไม้ดอก (มะลิ กระเจียว)
- การปลูก ดูแล และการตลาดพืชผักอินทรีย์
- การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์กบ
- การเลี้ยงปลา (ปลานิล ปลาดุก ปลากดหลวง)
- การปลูกพืชผักสวนครัวและผักพื้นบ้าน
- การปลูกผักหวานป่า
- การผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
- การเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ

กิจกรรมการสาธิตและฝึกปฏิบัติ
- การทำนา
- การผลิตปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพ
- การผลิตน้ำส้มควันไม้
- การปลูกพืชผัก

รายละเอียดเพิ่มเติม
ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2562

ข้อมูลที่อยู่

นายมนูญ เทศนำ

ที่อยู่ 6 หมู่ที่ 1 ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

  • โทร: 06 4009 4249
  • Fax: -
  • อีเมล์: -

ผู้ประสานงาน

นายมนูญ เทศนำ

หลักสูตรอบรม

-

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Download (1)