โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

(บ้านแป้น) จังหวัดปัตตานี

พระราชดำริ ที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ



   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
 
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 ราษฎรตำบลแป้น ซึ่งประกอบด้วยราษฎรบ้านแป้น, บ้านเตราะบอน และบ้านช่องหมู ซึ่งประสบภัยคุกคามจากการก่อความไม่สงบ ของกระบวนการแบ่งแยกดินแดนรัฐปัตตานีได้พากันร้องขอความช่วยเหลือมายัง คณะทำงานกองงานในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถให้ช่วยกันทำการฝึก โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) ซึ่งปัจจุบันคณะทำงาน กองงานในพระองค์ ได้ประสานกับหน่วยทหารในพื้นที่ ให้ช่วยดำเนินการฝึกราษฎรตามที่ร้องขอเรียบร้อยแล้ว แต่ราษฎรยังประสบปัญหาความเดือดร้อน เนื่องจากไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ทั้งๆ ที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินได้จัดสรรที่ทำกินให้ ครอบครัวละ 15 ไร่ รวมทั้ง 3 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทำกินกว่า 2,000 ไร่ ต้องปล่อยทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่า เนื่องจากราษฎรหวาดกลัวอันตรายจากผู้ก่อความไม่สงบ ที่เข้ามาลอบยิง, ลอบทำร้าย, ทำลายทรัพย์สิน ทำการเผาบ้านและลอบยิงราษฎรที่เข้าไปประกอบอาชีพ ดังกล่าว ราษฎรทั้ง 3 หมู่บ้าน จึงได้ร้องขอความช่วยเหลือไปยังกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขอให้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานความช่วยเหลือ เพื่อให้ราษฎรทั้ง 3 หมู่บ้าน เข้าไปประกอบอาชีพการเกษตรกรรม,ปศุสัตว์ และการประมง กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระ นางเจ้าฯ และกรมราชองครักษ์ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ร่วมกับราษฎรแล้วพิจารณาเห็นว่าสมควรให้ดำเนินการจัดตั้งโครงการฟาร์มตัวอย่างขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือราษฎรในในการประกอบอาชีพโดยด่วนที่สุด

 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

หมู่ 8 บ้านแป้น ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยคุกคามจากเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ                      
2. เพื่อสร้างงานให้ราษฎรให้มีรายได้ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

- กรมทหารพราน ที่ 42
กรมชลประทาน
- โครงการชลประทานปัตตานี
- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี
กรมพัฒนาที่ดิน
- สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี
- สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดปัตตานี
- สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 สงขลา
กรมปศุสัตว์
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี
- สถานีทดสอบพันธุ์สัตว์ปัตตานี
กรมประมง
- สำนักงานประมงจังหวัดปัตตานี
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปัตตานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
- ศูนย์บริการทางวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตปัตตานี
- สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี
- สำนักงานเกษตรอำเภอสายบุรี
กรมป่าไม้
- สำนักงานป่าไม้จังหวัดปัตตานีดำเนินการเลี้ยงผึ้ง
- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสายบุรี

 

ลักษณะโครงการ :

สภาพโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ได้เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2548 ที่ตั้งโครงการตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 8 บ้านแป้น ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี มีเนื้อที่ 138-3-92 ไร่ กิจกรรมการดำเนินงานในโครงเช่นการเพาะเห็ด การเลี้ยงด้วงสาคู การปลูกพืชผัก การปลูกไม้ผล การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงสัตว์ปีก การเลี้ยงผึ้ง และงานด้านการประมงในโครงการได้แก่ การเลี้ยงปลาในบ่อดินและในกระชัง ปลาที่เลี้ยงได้แก่ปลานิลแดง และปลาตะเพียนขาว


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ราษฎรตำบลแป้น  ซึ่งประกอบด้วยราษฎรบ้านแป้น , บ้านเตราะบอน  และบ้านช่องหมู


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

• กรมชลประทาน
โครงการชลประทานปัตตานี และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานีดำเนินการสำรวจ-ออกแบบพื้นที่ฟาร์ม ร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี และได้ดำเนินการดังนี้
- สำรวจ-ออกแบบทำแผนที่ วงรอบ-ระดับ และขุดสระเก็บน้ำ ขนาด 15–20 ไร่
- พิจารณาหาแนวทางที่จะนำน้ำจืดเข้าสู่ฟาร์ม จากโครงการพรุแฆแฆ หรือที่อื่น
- ก่อสร้างระบบระบายน้ำ ภายในฟาร์มและพื้นที่ต่อเนื่อง
- จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์


• สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดปัตตานี รวบรวมรายชื่อเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินร่วมกับ อบต./อำเภอสายบุรี และผู้นำในหมู่บ้าน จำนวน 23 ราย เนื้อที่ 138–3-92 ไร่โดยราษฎรได้ยินยอมสละสิทธิ์ที่ดินเป็นการชั่วคราว เพื่อจัดตั้งฟาร์มตัวอย่าง โดยรวบรวมรายชื่อผู้มอบที่ดินเสนอคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดปัตตานี เห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2548 (ประชุมที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี)
- เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน จัดสรรงบประมาณ 2,755,000.-บาท เพื่อดำเนินการ จัดทำถนนในพื้นที่โครงการ ฯ ความยาว 3.70กิโลเมตร และวางท่อระบายน้ำ จำนวน 13จุด และจัดทำลานจอดเฮลิคอปเตอร์ โดยใช้เครื่องจักรกลของ สปก. เริ่มดำเนินการประมาณต้นเดือนสิงหาคม 2548โดยขนย้ายเครื่องจักรกลมาจากจังหวัดพังงา และนครศรีธรรมราช


• กรมพัฒนาที่ดิน
- สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานีและสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต12สงขลา ดำเนินการสำรวจดิน /วางแผนการใช้ที่ดิน จัดทำแผนงานด้านการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปุ๋ยพืชสด และการปลูกหญ้าแฝกเพื่อปรับปรุงดินและรักษาหน้าดิน ออกแบบผังฟาร์มร่วมกับส่วนราชการต่างๆ และจัดทำงบประมาณ ปี 2549-2551 ร่วมกับส่วนราชการต่างๆ เพื่อเสนอผู้ช่วยเลขาธิการสำนักพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ


• กรมปศุสัตว์
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและสถานีทดสอบพันธุ์สัตว์ปัตตานี ดำเนินการจัดทำโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงแพะนม,แพะเนื้อ,สัตว์ปีก เช่น เป็ดอีเหลี้ยง,เป็ดไข่,เป็ดเทศ,ห่าน,ไก่พื้นเมือง เป็นต้น


• กรมประมง
- สำนักงานประมงจังหวัดปัตตานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปัตตานี ดำเนินการสำรวจข้อมูลสภาพน้ำในบ่อน้ำในไร่นา จัดทำกระชังเลี้ยงปลา ดำเนินการเลี้ยงปลาทับทิม ปลาตะเพียนขาว ปลานิลแดงทั้งในกระชังและในบ่อดิน พร้อมทั้งดำเนินการเลี้ยงกบในกระชังและเลี้ยงกบในบ่อดิน


• กรมส่งเสริมการเกษตร
- ศูนย์บริการทางวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตปัตตานีทำหน้าที่วางแผนการปลูกพืชผัก พืชไร่ และเพาะเห็ด
- สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานีและสำนักงานเกษตรอำเภอสายบุรี ร่วมวางแผนด้านการผลิตและจำหน่ายสินค้า


• กรมป่าไม้
- สำนักงานป่าไม้จังหวัดปัตตานีดำเนินการเลี้ยงผึ้ง


• กรมทหารพราน ที่ 42
- ดำเนินการจัดส่งหน่วย ฉก.23 จำนวน 20 นาย เข้าดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่โครงการ ฯ ที่ว่าการอำเภอสายบุรี ร่วมกับ อบต. แป้น และผู้นำชุมชน
- คัดเลือกราษฎรเข้าปฏิบัติงานในฟาร์มฯ และเริ่มดำเนินการจ้างราษฎรปฏิบัติงานตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2548 จำนวน 50 คน


• สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสายบุรี
- สำรวจออกแบบประมาณค่าใช้จ่ายระบบไฟฟ้าในเขตโครงการฯ

 

ความสำเร็จของโครงการ :

เกษตรกรในพื้นที่ได้มีรายได้จากการเป็นคนงานภายในฟาร์ม ลดความเสี่ยงจากภัยก่อการร้ายเป็นการเพิ่มความรู้ในการทำการเกษตรกรรม และยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานของผู้สนใจ

 


ที่มาของข้อมูล. - กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร.สำนักงานจังหวัดปัตตานี


 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.