โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จังหวัดจันทบุรี


พระราชดำริ ที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

จังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่ที่ฝนตกรวมตลอดปี สูงมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ทำให้มีปริมาณน้ำมาก และประสบปัญหาเกี่ยวกับภัยธรรมชาติและสาธารณภัยเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอุทกภัย ดินถล่ม ภัยแล้ง วาตภัย ภัยหนาว อัคคีภัย โรคระบาดสัตว์ ตลอดจนปัญหาภัยจากคมนาคมและขนส่ง ซึ่งภัยพิบัติดังกล่าว สร้างความเดือดร้อนและเสียหายแก่ราษฎรหลายพื้นที่ ซึ่งสาธารณภัยที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อจังหวัดที่รุนแรงมาก ได้แก่ ภัยแล้ง วาตภัยและอุทกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2542 เกิดน้ำท่วมหนักในตัวเมืองจันทบุรี เนื่องจากเกิดสภาวะฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 300 มม./วัน และติดต่อกันหลายวัน ทำให้สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของราษฎรและทางราชการเป็นจำนวนมาก โดยราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 85,000 คน จำนวน 20,000 ครัวเรือน มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,118.67 ล้านบาท ใน ปี 2549 ฤดูแล้ง จังหวัดจันทบุรีประสบปัญหาภัยแล้งค่อนข้างรุนแรง ทั้งน้ำอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร แต่พอย่างเข้าสู่ฤดูฝน ก็ได้ประสบปัญหากับภาวะฝนตกหนัก และปริมาณน้ำมาก จนต้องประกาศภาวะภัยพิบัติจากอุทกภัย ถึง 3 ครั้ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549 จนกระทั่งสถานการณ์รุนแรงสูงสุด จากอิทธิพลของพายุช้างสาร และหย่อมความกดอากาศในช่วงเดือนตุลาคม 2549 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นมาในจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่น้ำท่วมถึง 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ (จากทั้งหมด 9 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ) ราษฎรเสียชีวิต และได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากจากนั้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงรับสั่งว่า “ให้กรมชลประทานกับกรมทางหลวงมาร่วมทำงานแก้ไข” น้ำท่วมบ่าถนนในพื้นที่อำเภอ แกลง จังหวัดระยอง และทุ่งสระบาป จังหวัดจันทบุรีด้วยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์  2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริ กับนายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปบางส่วนได้ดังนี้
1)  จากภาพน้ำท่วมบ่าข้ามถนนสาย 42 หาดใหญ่-ปัตตานี นั้น ทรงรับสั่งว่า “ให้กรมชลประทานกับกรมทางหลวงมาร่วมทำงานแก้ไข” และทรงรับสั่งถึงน้ำท่วมบ่าถนนในพื้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และทุ่งสระบาป จังหวัดจันทบุรีด้วย
2) “พื้นที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และชลบุรี ว่า พื้นที่เป็นเขาอยู่ใกล้ชายหาด ฝนก็พอ แต่การจัดเก็บทำได้ยาก เนื่องจากพื้นที่จากเขาที่ลาดลงมาถึงชายฝั่งนั้น ทำให้น้ำไหลเร็ว เก็บไว้ลำบากน้ำมานองท่วมตามแนวถนน หากช่วงฤดูฝนระบายน้ำทิ้งทะเลแก้ปัญหาน้ำท่วมก็จะขาดน้ำในฤดูแล้ง” ทรงรับสั่ง “ให้ศึกษาหาแนวทางแก้ไขจัดการน้ำให้พอดี” และทรงย้ำเรื่อง “การประสานความร่วมมือกัน”

 
 
ที่ตั้งของโครงการ : จังหวัดจันทบุรี
   
วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมขังลงได้อย่างรวดเร็วทำให้ราษฎรของจังหวัดจันทบุรีได้รับความเดือดร้อนไม่มากนัก  พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายน้อยลงและพี่น้องประชาชนชาวจันทบุรีที่เคยประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำซ้ำซากทุกปี  ได้รับการช่วยเหลือให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

 สำนักงาน กปร. , กรมชลประทาน , กรมทางหลวง

                                                      
 

ลักษณะโครงการ :

ขุดลอก คูคลอง เพื่อเปิดทางระบายน้ำพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร  250 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 6,338  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,961,250 ไร่ ลักษณะพื้นที่ตอนบนเป็นพื้นที่สูงชันและภูเขา  พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบลูกคลื่นและเชิงเขา พื้นที่ตอนล่างเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบลุ่มแม่น้ำ  พื้นที่อยู่ในบริเวณเขตอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมดีเปรสชั่นจากทางด้านตะวันออกของประเทศ ปริมาณฝนเฉลี่ยประมาณ  2,500 - 3,500  มิลลิเมตร ต่อปี


ผู้ได้รับประโยชน์ :
ประชาชนจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดใกล้เคียง

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

สามารถช่วยระบายน้ำที่ท่วมขังลงได้อย่างรวดเร็วทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนไม่มากนัก  พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายน้อยกว่าที่คาดการณ์  นอกจากนี้ยังได้ติดตามผล  ในเวลาต่อมา  พบว่าพื้นที่ที่ได้ดำเนินการ ขุดลอก คูคลอง เพื่อเปิดทางระบายน้ำไปแล้วนั้น  ไม่ได้รับผลกระทบจนเกิดน้ำท่วมอีก  เมื่อเกิดเหตุฝนตกหนักจนเกิดสถานการณ์อุทกภัยในครั้งต่อมา  แต่จะไปเกิดน้ำท่วมในบริเวณที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา  ซึ่งจังหวัดจันทบุรีได้เร่งดำเนินการขุดลอกเปิดทางระบายน้ำในบริเวณที่ประสบปัญหาอุทกภัยเพิ่มเติมในทันทีและได้ผลดีในเรื่องการลดระดับน้ำท่วมขังลงได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน  

นายโกวิทย์  เพ่งวาณิชย์  รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อปี 2551 ถึงแนวทางในการแก้ไข ป้องกัน และบรรเทาอุทกภัยจังหวัดจันทบุรี โดยสำนักงาน กปร. ได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดจันทบุรี และโครงการชลประทานจันทบุรี ดำเนินการตามแผนงานป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ระยะเร่งด่วน รวม 35,584,000 บาท ได้แก่ การพัฒนาแก้มลิงบ้านขอม การขุดลอกหน้าฝายที่จำเป็นต้องดำเนินการรวม 5 กิจกรรม คือ 1)กิจกรรมขุดลอกหน้าฝายจันทเขลม 2)กิจกรรมขุดลอกหน้าฝายน้ำขุ่น 3) กิจกรรมขุดลอกหน้าฝายน้ำขุ่นใต้ 4) กิจกรรมขุดลอกหน้าฝายประชาอาสา 2 บ้านท่าอุดม และ 5) กิจกรรมขุดลอกหนองตะพอง ระยะที่ 5 รวมทั้งกิจกรรมสำรวจออกแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งตามแนวพระราชดำริ ซึ่งในปี 2554 สำนักงาน กปร. ได้สนับสนุนงบประมาณ 3,474,000 บาท ให้แก่โครงการชลประทานจันทบุรี เพื่อดำเนินการพัฒนาแก้มลิงหนองตะพอง เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงน้ำหลากไม่ให้เข้าท่วมตัวเมืองจันทบุรี และสามารถใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง
“โครงการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมจังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไข ป้องกัน หรือช่วยบรรเทาปัญหา น้ำในแม่น้ำลำคลองซึ่งมีระดับสูงในฤดูน้ำหลาก ไม่ให้น้ำนั้นไหลบ่าเข้าไปท่วมพื้นที่และทำความเสียหายให้กับพืชที่การเกษตร และพื้นที่ในเขตชุมชนเมืองจันทบุรีให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้รับข้อมูลจากทางจังหวัดจันทบุรีว่าฝนตกมากกว่าปีก่อน เกิดเหตุการณ์ปริมาณน้ำมาก แต่สามารถบรรเทา แก้ไข และป้องกันปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้” นายโกวิทย์ เพ่งวาณิชย์ กล่าว
สำหรับปี 2552 ที่ผ่านมาการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมจังหวัดจันทบุรี ได้แยกออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี ระยะที่ 2 การขุดคลองบายพาสเลี่ยงเมือง และโครงการผันน้ำจากคลองวังโตนด รวมทั้งมีการวางระบบการบริหารจัดการและติดตั้งระบบโทรมาตรในพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อใช้ในการพยากรณ์และเตือนภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรี ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงได้ นอกจากนี้ได้มีการขุดคลองผันน้ำสายใหม่ เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำจันทบุรี บริเวณเหนือฝายยาง ผ่านทุ่งสระบาป และขยายคลองเชื่อมไปลงคลองอ่าง เพื่อระบายออกสู่ทะเล พร้อมก่อสร้างอาคารรับน้ำเข้าคลองผันน้ำ 25 แห่ง ก่อสร้างประตูระบายน้ำขนาดเล็ก 4 แห่ง ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ และปรับปรุงสะพานอีก 10 แห่ง รองเลขาธิการ กปร. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแผนระยะที่ 2 การผันน้ำจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรีไปยังอ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง ซึ่งจะสามารถรับน้ำส่วนเกินในช่วงฤดูฝน จากคลองวังโตนดผันผ่านท่อที่วางขนานไปตามทางหลวงชนบท ผ่านชุมชนต่างๆ ไปจนถึงอ่างเก็บน้ำประแสร์ รวมความยาวทั้งสิ้น 45.697 กิโลเมตร ผันน้ำประมาณ 700 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีสถานีสูบน้ำที่บ้านวังประดู่ ซึ่งหากโครงการทั้งหมดแล้วเสร็จ ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรี ลุ่มน้ำวังโตนด จังหวัดจันทบุรี และลุ่มน้ำทับมา จังหวัดระยอง จะได้รับการแก้ไข อย่างยั่งยืนตลอดไป “เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จทุกโครงการ จะทำให้การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพื่อบรรเทาอุทกภัยในตัวเมืองจันทบุรีมีศักยภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำบางส่วนสำหรับการเกษตรประมาณ 5,000 ไร่ ตลอดจนช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง และระบายน้ำลงสู่ทะเล พร้อมทั้งใช้เป็นกลไกในการหน่วงน้ำหากมีปริมาณน้ำมากหากปล่อยลงมาพร้อมๆ กันอาจจะเอ่อท่วมพื้นที่ทางตอนล่างก่อนลงสู่ทะเลได้ด้วย” รองเลขาธิการ กปร. กล่าว.

 

ความสำเร็จของโครงการ :

โครงการฯได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ จนได้ผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นอย่างดี  พี่น้องประชาชนชาวจันทบุรีผู้ที่เคยประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำซ้ำซากทุกปี  ได้รับการช่วยเหลือให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม

 
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
                    (สำนักงาน กปร.) 78 ทำเนียบรัฐบาล รร.จปร. (เดิม) อาคาร 1 ถนนราชดำเนินนอก  เขตดุสิต
                    กรุงเทพฯ 10300

กลุ่มผู้ใช้น้ำ ………………………………………………………………………................................…
เบอร์ติดต่อ.....02-280-6193-200……………………………………………………………….…………
ที่อยู่ ……………………………………………………………………………………………….............…

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.