โครงการศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
จังหวัดราชบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
 
แนวพระราชดำริ :

สืบเนื่องจากปัจจุบันทรัพยากรป่าไม้ได้ถูกบุกรุกทำลายลงเป็นจำนวนมาก ทำให้ความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อพันธุ์ไม้ที่มีค่าบางชนิดที่เริ่มจะหายาก และใกล้จะสูญพันธุ์ไป อนุชนรุ่นหลังแทบจะไม่รู้จักหรือพบเห็น ความคิดริเริ่มรวบรวมชนิดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและพันธุ์ไม้ที่มีค่า นำมาปลูกเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์จะก่อให้เกิดผล ประโยชน์ แก่ประเทศชาติหลายประการทั้งทางตรงและทางอ้อม อันไม่สามารถประเมินมูลค่าได้โดยการจัดสร้างสวนรวมพันธุ์ไม้ ป่าเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นโครงการหนึ่งที่มี คุณค่าเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนจัดสร้างขึ้น เพื่อถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสที่จะทรงมีพระชนมพรรษาครบ 60 ปี ในพุทธศักราช 2535
 
โครงการสวนป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย พื้นที่ป่าในเขตอำเภอสวนผึ้งและกิ่งอำเภอบ้านคา รวม 6 ตำบล 52 หมู่บ้าน มีหัวใจของโครงการ คือ ศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เนื้อที่ 3,000 ไร่ อยู่ในเขตตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ต่อมาได้ขยายพื้นที่ของโครงการออกไปครอบคลุมพื้นที่ป่าประมาณ 136,000 ไร่ รวมเนื้อที่ของโครงการสวนป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ประมาณ 601,000 ไร่ จากสวนป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ภาคกลาง ในปี 2533 มาเป็นศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ในปี 2540 ศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า สวนป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองทัพบก จังหวัดราชบุรี และคณะกรรมพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เพื่อถวายในโอกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในครั้งนั้น ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ อดีตราชเลขานุการในองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์มานานกว่า 10 ปีแล้ว ที่หวังจะทรงเห็นพื้นที่แห่งหนึ่งที่ใช้เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้ป่าของไทย ที่ขึ้นในท้องที่ต่างๆ ไว้ในแหล่งเดียวกันให้ได้มากชนิดที่สุดเท่าที่จะหามาได้ และสามารถรอดตายได้ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาพรรณไม้ป่าของเมืองไทยในอนาคต  อีกทั้งเป็นแหล่งขยายพันธุ์ เพื่อมิให้ไม้ไทยของเราต้องสูญพันธุ์ และที่สำคัญอย่าให้มีประชาชนต้องเดือดร้อนให้เป็นที่ระคายเบื้องพระยุคลบาท”

กองพลพัฒนาที่ 1 ในฐานะหน่วยรับผิดชอบโครงการฯ ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนาจิตใจ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับราษฎรเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่จะต้องปฏิบัติ จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ในพื้นที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน เพื่อปลูกฝังให้ราษฎรรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าที่มีอยู่เป็นเจ้าของป่า และสร้างอุดมการณ์ร่วมกัน ซึ่งการอบรมแต่ละรุ่นนั้น ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากราษฎรส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ กองพลพัฒนาที่ 1 เล็งเห็นว่า การปลูกจิตสำนึกให้ราษฎรรักธรรมชาติอย่างเดียวนั้น วันหนึ่ง ราษฎรก็จะต้องกลับไปสู่สภาพเดิมหากไม่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้กับราษฎรเหล่านั้น จึงได้ร่วมกับส่วนราชการปฏิบัติตามพระราชเสาวนีย์พระองค์ท่านในการร่วมกันพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้นด้วยการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การประมง ให้กับราษฎรเหล่านั้นมีการจัดสร้าง ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและการเกษตรอย่างพอเพียงอีกทั้งส่งเสริมงานศิลปาชีพ เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับกลุ่มแม่บ้านในโครงการฯ เช่น กลุ่มงานศีลปาชีพประเภทจักสานละเอียด มีผลิตภัณฑ์ประเภทแจกัน ตะกร้าหกเหลี่ยม ตะกร้าใหญ่ลายดอกพิกุล และลายข้าวหลามตัด กลุ่มงานศีลปาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น
 
   
ที่ตั้งของโครงการ : ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
   
วัตถุประสงค์ - เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นดั้งเดิม และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพันธุ์ไม้ หายาก
- เพื่อดำรงรักษาสภาพป่าธรรมชาติในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติสำหรับเป็นแหล่งพันธุกรรมไม้ป่า และเป็นแหล่งป้องกันสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่ไม่เหมาะสมกับเกษตรกรรม ซึ่งมีสภาพเสื่อมโทรมให้กลับฟื้นคืนสภาพสมบูรณ์ดังเดิม
- เพื่อป้องกันแหล่งสำหรับศึกษาวิจัย และค้นคว้าทางด้านวิชาการป่าไม้
- เพื่อจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุรี
- เพื่อทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการมีรายได้จากการรับจ้างปลูกป่า เพื่อเป็นรายได้เสริมในครอบครัว
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , สำนักวิชาการ (ส่วนวนวัฒนวิจัย) , กรมป่าไม้ , กองทัพบก , จังหวัดราชบุรี , คณะกรรมพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
 

ลักษณะโครงการ :

1. บำรุงรักษาสวนเดิมเพื่อการสาธิตและวิจัย 125 ไร่
2.ดูแลรักษาพลับพลาที่ประทับ และสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณแก่งส้มแมว รวมทั้ง อภิบาลสัตว์ป่าที่ทรงปล่อยในบริเวณพื้นที่โครงการ 1 งาน
3. งานป้องกันดูแลพื้นที่และสำรวจหาพันธุ์ไม้ป่าในโครงการฯ 1 งาน
4. งานปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 1 งาน
5. งานดูแลแปลงทดลองวนเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 งาน


ผู้ได้รับประโยชน์ :
ราษฎรทั่วไป และราษฎรบริเวณพื้นที่ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

สรุปการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2533 - 2544
1. ปลูกป่าและบำรุงรักษา 3,000 ไร่
2. บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2-6 ปี 2,000 ไร่
3. บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 7-10 ปี 1,100 ไร่
4. บำรุงรักษาสวนเดิมเพื่อการสาธิตและวิจัย 125 ไร่
5. สร้างสวนรวมพันธุ์ไม้ 1 สวน
6. เพาะชำกล้าไม้ 850,000 กล้า
7. งานดูแลรักษาสัตว์ป่าที่ทรงปล่อย 1 งาน
8. งานดูแลรักษาพลับพลาที่ประทับที่ท่องเที่ยวบริเวณแก่งส้มแมว 1 งาน
9. ดูแลรักษาแปลงไม้ผล 100 ไร่
10. งานดูแลแปลงทดลองวนเกษตรทฤษฎีใหม่ 3 งาน
11. งานป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า 3,000 ไร่
12. ดูแลรักษาระบบนิเวศวิทยาป่าดิบชื้น 1 โครงการ
13. งานอำนวยการ ประชาสัมพันธ์ และติดตามผล 1 งาน
14. ป้องกันรักษาพื้นที่ ควบคุมไฟป่า และดูแลอภิบาลสัตว์ป่าที่ทรงปล่อยไว้ในพื้นที่15. โครงการฯ 3,000 ไร่
16. บำรุงแปลงสาธิต 400 ไร่
17. งานอำนวยการและจัดเตรียมรับเสด็จ 1 งาน
18. งานปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 2 งาน
19. ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ (ปีที่ 2-6) 400 ไร่
20. งานฝึกอบรมราษฎร 2 รุ่น
21. งานป้องกันดูแลรักษาพื้นที่โครงการ 1 งาน
22. งานป้องกันดูแลรักษาพื้นที่และสำรวจพันธุ์ไม้ป่าในโครงการฯ 1 งาน

 

ความสำเร็จของโครงการ :

การจัดสร้างสวนรวมพันธุ์ไม้ป่าเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นโครงการหนึ่งที่มีคุณค่าเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนจัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นดั้งเดิม และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพันธุ์ไม้หายาก และดำรงรักษาสภาพป่าธรรมชาติในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ สำหรับเป็นแหล่งพันธุกรรมไม้ป่า ทั้งเป็นแหล่งป้องกันสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทย ในระยะยาว อย่างต่อเนื่อง สามารถฟื้นฟูสภาพป่าที่ไม่เหมาะสมกับเกษตรกรรมซึ่งมีสภาพเสื่อมโทรม ให้กลับฟื้นคืนสภาพสมบูรณ์ดังเดิม และป้องกันแหล่งสำหรับศึกษาวิจัย เพื่อค้นคว้าทางด้านวิชาการป่าไม้ และเพื่อจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุร ซึ่งทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการ มีรายได้จากการรับจ้างปลูกป่า เพื่อเป็นรายได้เสริมในครอบครัว

 
   


ที่มาของข้อมูลหนังสือ : ราชบุรี โดย สนง.จังหวัดราชบุรี และ สนง.การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี
ผู้ที่เกี่ยวข้อง : -
เบอร์ติดต่อ : -
ที่อยู่ ขอรายละเอียดการเยี่ยมชมติดต่อได้ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี สำนักงานป่าไม้จังหวัดราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.