ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ : |
ภายหลังจากที่กรมชลประทานได้ดำเนินการจัดสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบคลองส่งน้ำแล้ว เสร็จเมื่อปี 2536 สามารถส่งน้ำเข้าพื้นที่เป้าหมายได้ รวมทั้งพื้นที่ทำนาบริเวณใกล้ๆ กับอ่างเก็บน้ำด้วย โดยมีพื้นที่คงเหลือได้ดำเนินการทำคลองไส้ไก่ที่จะส่งน้ำข้าในพื้นที่ให้ทั่วถึง ซึ่งแต่เดิมนั้นคณะทำงานผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ได้วางหลักการไว้ว่าจะให้เกษตรกรร่วมมือกันดำเนินการโดยช่วยเหลือตนเอง แต่หลังจากได้ไปสำรวจดูสภาพความเป็นจริงแล้วพบว่า การที่จะให้เกษตรกรดำเนินการโดยลำพังคงเป็นไปได้ยากเนื่องจากไม่มีความพร้อม ดังนั้นส่วนราชการคือ กรมชลประทาน คงต้องให้การสนับสนุนด้วย
ในปี 2538 กรมชลประทานร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ และอำเภอปลายพระยาได้ทำการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำขึ้นรวมจำนวน 7 กลุ่ม รวมจำนวน 147 ครอบครัว เป็นพื้นที่ทำนาทั้งสิ้น 1,049 ไร่ ดังแสดงในตารางที่ 1 นอก จากนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ก็ได้อนุมัติเงินงบประมาณเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2538 ให้จัดซื้อรถไถเดิมตามจำนวน 5 คันเป็นเงิน 225,000 บาทเพื่อสนับสนุนการทำนาและได้ดำเนินการส่งมอบให้สหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัดเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2538
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2538 คณะทำงานผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้มีการประชุมติดตามผลงานและวางแผนการ ดำเนินงาน ณ นิคมสหกรณ์อ่าวลึก และได้เดินทางไปประชุมกับเกษตรกรผู้ทำนา ณ วัดนทีมุขาราม (ปากน้ำ) ซึ่งกลุ่มเกษตรกรทั้ง 7 กลุ่มจึงได้ดำเนินการปลูกข้าวเต็มพื้นที่เนื่องจากมีน้ำชลประทานพร้อม กรม ส่งเสริมเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่และสำนักงานเกษตรอำเภอปลายพระยา ได้แจกจ่ายพันธุ์ข้าว จำนวน 2,000 กิโลกรัมให้กับเกษตรกรด้วย นอกจากนี้ยังได้ทำการสาธิตการใช้ปุ๋ยชีวภาพในนาข้าวในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 พร้อมทั้งแจกปุ๋ยชีวภาพให้กับเกษตรกร จำนวน 5 ตัน
การจัดตั้งโรงสีข้าวพระราชทาน
ในส่วนของการจัดตั้งโรงสีข้าวนั้นกองเกษตรวิศวกรรมกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เพื่อจัดสร้างอาคารโรงสีข้าวและยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกขนาด 100 ตัน ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2534 โดยได้รับบริจาคที่ดิน 1 ไร่ สำหรับสร้างโรงสีข้าวเปลือกจากนางเฟือง บางโสก ราษฎรหมู่ที่ 1 ตำบลปากน้ำ อำเภอปลายพระยา สหกรณ์นิคมอ่าวลึกจึงดำเนินการถมดิน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สนับสนุนงบประมาณทาสีและตกแต่งอาคาร พร้อมประสานการขอขยายเขตไฟฟ้าต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดกระบี่ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ในเดือนกรกฎาคม 2534
สำหรับการดำเนินงานของโรงสีข้าวนั้นสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด เป็นผู้บริหารกิจการเองซึ่งในระยะแรกประสบกับการขาดทุนเนื่องจากประสิทธิภาพของเครื่องสีข้าวไม่ดีพอ ดังนั้นต่อมาในช่วงปลายปี 2537 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ประสานงานกับเอกชนรายหนึ่งคือคุณฮึ้ง เฉี่ยวเต็ก ได้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินจำนวน 150,000 บาท เพื่อให้สหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด นำเงินไปจัดซื้อเครื่องสีข้าว ที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีกำลังผลิตวันละ 3 เกวียน ใช้มอเตอร์ขนาด 10 แรงม้า และเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนมีนาคม 2538 เป็นต้นมา ปรากฏว่าเครื่องสีข้าวมีประสิทธิภาพสูงสามารถสีข้าวเปลือก 100 กิโลกรัมได้ข้าวสาร 67-68 กิโลกรัม รำหยาบ 4 กิโลกรัม รำละเอียด 3 กิโลกรัมและปลายข้าว 1 กิโลกรัมและได้บริการสีข้าวให้แก่เกษตรกรตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ภายใต้การบริหารจัดการของสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ |