โครงการห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำริ

จังหวัดเพชบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

“การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศของภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศทางสังคมวิทยา คือ นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้ แต่ถ้ารา เข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไร จริง ๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ ก็จะเกิด ประโยชน์อย่างยิ่ง...”

แนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงยึดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ย่อมแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและการเอาพระทัยใส่ในความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างดี ซึ่งแนวพระราชดำรินี้ ได้พัฒนาพื้นที่ต่างๆ ประสบความสำเร็จมาแล้วมากมายและหนึ่งในหลายพื้นที่นั้นก็มีโครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี รวมอยู่ด้วย

โครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำริ ได้กำเนิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมราษฎรที่ตำบลแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อ 29 พฤษภาคม 2522 ได้ทรงทราบปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ตลอดทั้งการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า อันเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร จึงได้พระราชทานพระราชดำรัสให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี และผู้บังคับกองฝึกรบพิเศษที่ 1 ในขณะนั้น จัดทำโครงการพัฒนาร่วมกับส่วนราชการอื่น โดยพระองค์ทรงรับไว้เป็นโครงการในพระราชดำริ ได้ทำการรวบรวมกลุ่มราษฎรที่กระจัดกระจายมาอยู่รวมกันพร้อมมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาป่า และจัดโครงการให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง โดยใช้วัสดุในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พร้อมกันนี้พระองค์ได้ทรงให้ข้อคิดเกี่ยวกับเทคนิคในการสร้างระบบส่งน้ำ, การปลูกป่าชุมชน, การปลูกป่าทดแทน, การใช้แรงงาน, การพัฒนาจิตใจ, การสหกรณ์ และการปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมือง จากกระแสพระราชดำรัสของพระองค์ฯ จึงก่อให้เกิด “โครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำริ” ขึ้น กองพลพัฒนาที่ 1 เข้ารับผิดชอบการดำเนินงานโครงการ ต่อจากกองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 1 ในการจัดกำลังเข้าปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2541 ทั้งนี้เป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติในการส่งมอบงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของ ทภ.1 เพื่อปฏิบัติตามนโยบายการถอนหน่วยกำลังรบ ออกจากงานการพัฒนาประเทศ โดยให้กองพลพัฒนาที่ 1 เข้าปฏิบัติงานแทน

 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

   
วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาทางด้านจิตใจของราษฎรให้มีความรัก สมัครสมานต่อกัน
2. เพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาการ เทคนิคการเกษตรกรรม อุตสาหกรรมในครัวเรือนสมัยใหม่ให้แก่ราษฎร
3. เพื่อจัดรูปที่ดินให้ราษฎรทำกิน เพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายป่า
4. พัฒนาที่ดินทำกินของราษฎรให้มีความสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำ สิ่งสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ ใช้ระบบชลประทานย่อยโดยใช้วัสดุและทรัพยากรท้องถิ่นเป็นหลัก
5. พัฒนาให้ราษฎรรวมตัวกันในรูปสถาบันเกษตรกร หรือระบบสหกรณ์
6. เพื่อจัดตั้งเป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองไทย-พม่า ในพื้นที่โครงการ ฯ

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

กองทัพภาคที่ 1 , กองพลพัฒนาที่ 1 , กองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 1 , จังหวัดเพชรบุรี

                                                      
 

ลักษณะโครงการ :

โครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำรินี้ เกิดขึ้นหลังจากค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจาน หรือกองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 1 ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ก่อสร้างเสร็จแล้วและบรรจุกำลังพลเข้าปฏิบัติหน้าที่เรียบร้อย ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 กองทัพภาคที่ 1 ก็ได้มอบให้ทางค่ายฯ ดำเนินการฝึกหลักสูตรการรบพิเศษ ส่งผลทำให้ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจาน จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ เพราะหน่วยที่เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีความปลอดภัยพอสมควร ขณะเดียวกันก็ใช้ประโยชน์ในการหาข่าวและระวังป้องกันที่ตั้งหน่วยให้ปลอดภัยจากผู้ก่อการร้าย ดังนั้นในการจัดทำการฝึกจึงกำหนดให้ตรวจสอบพื้นที่โดยรอบใน รัศมี 50-100 กิโลเมตร ซึ่งจากปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้ทางค่ายพบการบุกรุกพื้นที่เขตป่าสงวนและการตัดไม้ทำลายป่าอีกต่อไป โดยกำหนดขอบเขตตามสภาพพื้นที่เป็นจริงในขณะนั้น พร้อมกับเตรียมการจัดสรรที่ดินให้เป็นที่ทำกินของราษฎร อย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและตรวจสอบทั้งด้านการปกครอง พื้นที่เป็นจริงในขณะนั้น พร้อมกับเตรียมการจัดสรรที่ดินให้เป็นที่ทำกินของราษฎรอย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและตรวจสอบทั้งด้านการปกครองสังคม การเมือง และอื่นๆ “พื้นที่บริเวณต้นน้ำเหนือเขื่อนกักเก็บน้ำแก่งกระจาน สภาพป่าไม้ส่วนใหญ่ยังดีอยู่ แต่จะถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น เพราะมีสัมปทานให้บริษัทนำ ไม้ออก และมีราษฎรเข้าไปบุกเบิกพื้นที่ทำกินเพิ่มขึ้น การนำไม้ออกนั้นในทางปฏิบัติจะไม่เป็นไปตามทฤษฎีที่จะยังคงรักษาสภาพพื้นที่ป่าไว้ได้ ดังนั้นในการให้สัมปทานนำไม้ออก ควรพิจารณาพื้นที่แยกเป็นบริเวณลุ่มน้ำของแต่ละลำน้ำโดยละเอียดและรอบคอบ เพื่อพิจารณาสัมปทานให้แต่ละบริเวณ ส่วนการแก้ไขปัญหาเรื่องราษฎรเข้าไปบุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อเป็นที่ทำกินนั้น ควรดำเนินการให้เปลี่ยนจากการที่ราษฎรบุกรุกเข้าไปทำลายพื้นที่ป่าโดยไม่มี การควบคุม ให้เป็นการจัดสรรที่ดินในพื้นที่ป่า ให้ราษฎรเข้าทำกินโดยมีการควบคุมคือให้พิจารณาพื้นที่ป่าในลุ่มน้ำของลำห้วยต่างๆ เลือกบริเวณที่ค่อนข้างราบ เนื้อดินเหมาะแก่การเพาะปลูก และมีแหล่งน้ำที่จะทำการชลประทานได้ ซึ่งเหมาะที่จะเปิดเป็นพื้นที่เพาะปลูกจัดสรรให้ราษฎรได้เข้าทำกิน และจัดพื้นที่ป่าติดต่อกันบริเวณเชิงเขาให้เป็นป่าใช้สอยปลูกไม้โตเร็ว เพื่อให้ราษฎรมีไม้ใช้ทำฟืนและประโยชน์อื่น ๆ

ส่วนพื้นที่บนไหล่เขาขึ้นไปให้รักษาไว้เป็นป่าต้นน้ำลำธาร อบรมราษฎรที่จัดให้เข้าทำกินในพื้นที่จัดสรร ให้รักและหวงแหนป่าไม้ต้นน้ำ ให้ร่วมกันคุ้มครองรักษาไม่ให้ผู้อื่นมาทำลาย จัดให้ราษฎรในพื้นที่ดินจัดสรรร่วมกันตั้งเป็นสหกรณ์ต่อไป อาจมอบหมายให้หลาย ๆ สหกรณ์ร่วมกันเป็นผู้รับสัมปทานการทำไม้ ออกของป่าบริเวณนั้นก็ได้ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริดังกล่าว หน่วยงานต่าง ๆ จึงจัดตั้งโครงการขึ้น ที่ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยในระยะแรกใช้ชื่อโครงการว่า  “โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจานอุปถัมภ์(ห้วยแม่เพรียง)” ต่อมาจึงได้ เปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำริ” เพื่อความเหมาะสม


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ประชาชนในพื้นที่ ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และประชาชนบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

กองทัพภาคที่ 1 โดยรองแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นประธานกรรมการประเมินผลและติดตามผลงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจานอุปถัมภ์ (ห้วยแม่เพรียง) ตามพระราชดำริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานกรรมการระดับจังหวัด ปฏิบัติตามโครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และประธานกรรมการระดับจังหวัด ปฏิบัติตามโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจานอุปถัมภ์ (ห้วยแม่เพรียง) ตามพระราชดำริ
การดำเนินงานในปัจจุบัน
            1. งานด้านการอนุรักษ์และจัดสรรที่ดิน ออกลาดตระเวนตรวจพื้นที่ในเขตรับผิดชอบเพื่อป้องกันการ บุกรุกพื้นที่โครงการและอุทยานแห่งชาติ
            2. งานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสหกรณ์ ดำเนินงานโดยร่วมมือกับ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในการอบรมให้ความรู้แก่ราษฎรในการทำการเกษตร สาธารณสุข และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
            3. งานด้านอื่นๆ เช่น การอบรมให้ความรู้ด้านยาเสพติดแก่เยาวชน การปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ ประการสำคัญที่สุด คือ การดำเนินงานได้ยึดตามกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยใช้งบประมาณและทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างประหยัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งราษฎร ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและสัตว์ป่า มิให้ป่าถูกทำลายอีกต่อไป

 

ความสำเร็จของโครงการ :

ปัจจุบันโครงการต่างๆ ได้ช่วยให้ราษฎรได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตลอดจนได้รับความรู้ด้านวิชาการทางเทคนิค การเกษตรสมัยใหม่จนสามารถช่วยเหลือตนเองภายในครอบครัวได้ และช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังทำให้มีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินเป็นหลักแหล่ง อีกทั้งมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อันเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร รวมทั้งสัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น อันนำไปสู่การหยุดการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ส่งผลให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิที่ดีขึ้น มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และจะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนตะวันตก            

นอกจากการได้รับการส่งเสริมด้านอาชีพจนประสบความสำเร็จ เกิดเป็นการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งของราษฎรแล้ว พื้นที่ตั้งของโครงการยังมีทัศนียภาพที่งดงาม ซึ่งหากได้รับการส่งเสริมทางด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยงเชิงเกษตร ซึ่งราษฎรแถบนี้มีทรัพยากรที่พร้อมเพียงอยู่แล้ว น่าจะส่งผลดีต่อการเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ได้อีกทางหนึ่ง
1. ราษฎรมีความรักความสามัคคี
2. ราษฎรมีความรู้ในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางการเกษตร สามารถนำไปประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม และในครัวเรือนได้
3. ลดปัญหาการบุกรุกทำลายป่า
4. ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งเน้นให้ความสำคัญแก่การพัฒนาคน ระบบงาน กระบวนการทำงาน ตลอดจนการเรียนรู้ การศึกษาอบรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริต่างๆ ที่เริ่มตั้งแต่พัฒนาคนเป็นประการแรก เพราะเมื่อคนมีความกินดีอยู่ดี ย่อมสามารถใช้สติปัญญา เพื่อสร้างตนเองและสังคม เมื่อประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้แล้ว ย่อมสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

 
   


ที่มาของข้อมูล : http://www.army1.rta.mi.th , http://www.rta.mi.th/21600u

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.