โครงการแหล่งผลิตอาหารสัตว์ตามพระราชดำริ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
บ้านหนองตาดั้ง

จังหวัดราชบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
 
แนวพระราชดำริ :

สืบเนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2545 เกี่ยวกับการจัดตั้งฟาร์มตัวอย่าง ตอนหนึ่งความว่า “ตอนนี้พยายามจะเริ่มทำฟาร์มตัวอย่างที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี หวังให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร เป็นคลังอาหารที่หล่อเลี้ยงคนไทย ซึ่งจะไม่เป็นที่น่าหวาดเกรงว่า ต่อไปอาหารจะแพงมากและคนที่ยากจนจะลำบาก ถ้าตั้งคลังอาหารขึ้นตามที่ต่างๆ…” เนื่องจากพื้นที่อำเภอสวนผึ้งเป็นพื้นที่ที่ติดชายแดนพม่า จำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้ราษฎรในบริเวณดังกล่าวให้มีอาชีพมีรายได้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ย้ายถิ่นและจะได้เป็นหูเป็นตาให้ประเทศไทยต่อไป ด้วยความศรัทธาของคนไทยทั่วประเทศที่มีความจงรักภักดีต่อ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีคนไทยจำนวนหนึ่งได้ไถ่ชีวิตกระบือถวายเป็นพระราชกุศลในโอกาสต่างๆ มอบถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวาระครบรอบวันเฉลิมพระชนมพรรษาทุกๆ ปี โดยกระบือทั้งหมดได้พระราชทานให้โรงเรียนควาย ในพื้นที่เดียวกันกับธนาคารควาย บ้านหนองตาดั้ง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นผู้รับผิดชอบดูแล ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ซึ่งกระบือดังกล่าวได้เพิ่มจำนวนขึ้นทุกๆ ปี ทั้งจากกระบือที่ได้รับบริจาคใหม่ และจำนวนลูกกระบือที่เกิดใหม่ ปัจจุบันมีกระบือทั้งหมด จำนวน 101 ตัว ปัญหาที่ตามมาส่วนหนึ่งก็คือการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงกระบือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูเพาะปลูกพืชไร่ของเกษตรกรรอบๆ โครงการ ไม่สามารถปล่อยกระบือออกหากินหญ้าธรรมชาติได้ เนื่องจากเกษตรกรใช้พื้นที่ทำการเกษตร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องจัดเตรียมพืชอาหารสัตว์และสำรองเสบียงสัตว์ให้เพียงพอต่อความต้องการของกระบือตลอดทั้งปี และในปี 2550 มีความจำเป็นต้องจัดหาเสบียงสัตว์ไว้เลี้ยงกระบือ ก่อนที่แปลงหญ้าจะใช้ประโยชน์ไม่ได้

 
 
ที่ตั้งของโครงการ : บ้านหนองตาดั้ง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี   
   
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ และสำรองเสบียงสัตว์ให้เพียงพอตลอดทั้งปี สำหรับเลี้ยงกระบือในโครงการแหล่งผลิตอาหารสัตว์ตามพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

 

ลักษณะโครงการ :

กิจกรรมดำเนินงานปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 – กันยายน 2551) ของกองอาหารสัตว์ปรับปรุงพื้นที่และปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ 30 ไร่
1. ปลูกหญ้ารูซี่ เพื่อเป็นแปลงแทะเล็ม จำนวน 25 ไร่
2. ปลูกหญ้ากินนีสีม่วงแบบประณีต จำนวน 5 ไร่


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ราษฎรบ้านหนองตาดั้ง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
จากการดำเนินงานโครงการฯ บ้านหนองตาดั้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ได้ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกันได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดราชบุรี สำนักงานชลประทานจังหวัดราชบุรีและหน่วยงานทหารที่รับผิดชอบโครงการดังกล่าวโดยทุกฝ่ายให้การสนับสนุนร่วมดำเนินการโครงการฯ เป็นอย่างดี ทำให้สามารถปลูกสร้างแปลงหญ้าพื้นที่รวมทั้งสิ้น 30 ไร่ สำหรับใช้เป็นพืชอาหารสัตว์และตัดใช้ประโยชน์ ผลผลิตประมาณ 15-20 ตันต่อเดือน ผลผลิตน้ำหนักสด 8 เดือน ประมาณ 100-120 ตัน นำมาเลี้ยงสัตว์ในโครงการฯ ประมาณ 80 ตัว สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง เนื่องจากได้รับพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต สามารถบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
 

ความสำเร็จของโครงการ :

จากภาพรวมของโครงการ มีการลงทุนของโครงการ 130,650 บาท มีผลทำให้ผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเลี้ยงกระบือได้ตลอดทั้งปี และสามารถรองรับการเพิ่มปริมาณของกระบือในอนาคตจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านพืชอาหารสัตว์ของเกษตรกรรอบๆ โครงการ สามารถนำไปปรับใช้กับการเลี้ยงโค -กระบือ ของตัวเอง และใช้เป็นแหล่งขยายท่อนพันธุ์หญ้าให้เกษตรกรรอบๆ โครงการนำไปขยายพันธุ์ได้อีกด้วย

การดำเนินงานและติดตามผลโครงการพระราชดำริ บ้านหนองตาดั้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี พบว่าในฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน 51 ถึง เดือนเมษายน 52 อากาศร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลากลางคืน อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตหญ้าสดลดลงเป็นอย่างมาก ทั้งที่มีการรดน้ำแปลงหญ้าก็ตามจึงจำเป็นต้องเสริมฟางแห้งและช่วงฤดูฝนมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของหญ้า แต่เนื่องจากแปลงหญ้าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีลำห้วยล้อมรอบ น้ำในลำห้วยมีระดับสูงประกอบกับมีน้ำหลากค่อนข้างแรงเป็นอุปสรรคในการขนย้ายหญ้าสด เพื่อนำมาเลี้ยงสัตว์ของโครงการฯ ดังนั้นจึงควรมีแปลงหญ้าอยู่ใกล้บริเวณโรงเรือนเพื่อสะดวกในการขนย้ายหญ้าสดนำมาเลี้ยงสัตว์เพราะจะส่งผลให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงได้ตลอดทั้งปี

 
   


ที่มาของข้อมูล : ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………

ที่อยู่ …………………………………………………………………………

 

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.