โครงการการให้ความช่วยเหลือโรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา
จังหวัดยะลา

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
 
แนวพระราชดำริ :

โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการขอพระราชทานความช่วยเหลือในการต่อเติมอาคารที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างอาคารเรียน ซึ่งยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเนื่องจากขาดงบประมาณในการก่อสร้าง และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเพิ่มเติมให้พิจารณาดำเนินการให้ความช่วยเหลือในด้านของการศึกษาของโรงเรียนดังกล่าว
 
 
ที่ตั้งของโครงการ : ์โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
   
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างอาคารเรียน ให้แก่โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : มูลนิธิชัยพัฒนา , จังหวัดยะลา , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา , สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา , โครงการชลประทานยะลา
 

ลักษณะโครงการ :

1. การให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างปรับปรุงอาคารเรียน
2. โครงการชลประทานยะลา ได้พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล โดยการเจาะ และการก่อสร้างบ่อบาดาล
3. สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับจังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยพิจารณาวิชาชีพที่กำลังเป็นความต้องการของตลาดและวิชาชีพที่นักเรียนมีความประสงค์ที่จะให้โรงเรียนเริ่มดำเนินการเปิดการ เรียนการสอนในภาคการศึกษา 2551


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ครู นักเรียน และประชาชนในพื้นที่ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
1. การให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างปรับปรุงอาคารเรียนได้ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างให้อาคารดังกล่าว สามารถใช้ในการเรียนการสอนได้ ปัจจุบัน การก่อสร้างดำเนินการแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 90
2. โครงการชลประทานยะลา ได้พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล การเจาะและการก่อสร้างบ่อบาดาล ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบและติดตามดูแลผลการดำเนินงาน
3. สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับจังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยพิจารณาวิชาชีพที่กำลังเป็นความต้องการของตลาด และวิชาชีพที่นักเรียนมีความประสงค์ที่จะให้โรงเรียนเริ่มดำเนินการเปิดการ เรียนการสอนในภาคการศึกษา 2551 โดยมีสาขาวิชาชีพและรายละเอียดในการดำเนินงาน ดังนี้
3.1 สาขาวิชาชีพช่างตัดเย็บ
3.2 สาขาวิชาชีพช่างบาติก
3.3 สาขาวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ
3.4 สาขาวิชาชีพช่างไม้เครื่องเรือน
 

ความสำเร็จของโครงการ :

การดำเนินการเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษา 2551 โดยมีสาขาวิชาชีพและรายละเอียดในการดำเนินงาน ดังนี้
3.1 สาขาวิชาชีพช่างตัดเย็บ มีนักเรียนเข้าเรียน จำนวน 21 คน โดยในภาคเรียนที่ 1 การเรียนการสอนเป็นไปตามหลักสูตร ที่ได้ดำเนินการไว้
3.2 สาขาวิชาชีพช่างบาติก มีนักเรียนเข้าเรียนวิชาชีพช่างบาติก จำนวน 21 คน การเรียนการสอนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเด็กนักเรียนให้ความสนใจเป็นอย่างดี
3.3 สาขาวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ มีนักเรียนเข้าเรียนจำนวน 19 คน เด็กนักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและได้รับความรู้และเทคนิคของการเชื่อมโลหะใน ลักษณะต่างๆ
3.4 สาขาวิชาชีพช่างไม้เครื่องเรือน มี นักเรียนเข้าเรียนจำนวน 20 คน เด็กนักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและได้รับความรู้และเทคนิคของการแปรรูปไม้ และการประกอบ การสร้างสรรค์งานไม้ในลักษณะต่างๆ ปี

 
   


ที่มาของข้อมูล : มูลนิธิชัยพัฒนา

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………

ที่อยู่
…………………………………………………………………………

 

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.