โครงการเรือไฟเบอร์กลาสหัวโทง “ชัยพัฒนา-กาชาดไทย”
จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
 
แนวพระราชดำริ :

จากกรณีเกิดพิบัติภัยคลื่นยักษ์ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินแก่ราษฎรเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเกิดผลกระทบและความเสียหายโดยทางอ้อมอีกหลายประการ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชกระแสให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรผู้เดือดร้อนจากการเกิดภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเรือไฟเบอร์กลาสหัวโทง “ชัยพัฒนา-กาชาดไทย” โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสภากาชาดไทย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับความเสียหายและขาดแคลนอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ
 
 
ที่ตั้งของโครงการ : ์ในพื้นที่จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง 
   
วัตถุประสงค์

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับความเสียหายและขาดแคลนอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : มูลนิธิชัยพัฒนา , สภากาชาดไทย, วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา กรมอู่ทหารเรือ , กรมประมง
 

ลักษณะโครงการ :

สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ดำเนินงานโครงการเรือไฟเบอร์กลาสหัวโทง ชัยพัฒนา-กาชาดไทย แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549 โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบได้ทำพิธีส่งมอบเรือดังกล่าวเรียบร้อยแล้วในการนี้สามารถสรุปผลการดำเนินงานเป็นหัวข้อได้ ดังนี้
การจัดสร้างเรือไฟเบอร์กลาส จำนวน 560 ลำ ตามรายละเอียด ดังนี้
1. เรือไฟเบอร์กลาส รุ่นทดลอง ขนาดความยาว 10 เมตร ดำเนินการจัดสร้าง 60 ลำ
1.2 เรือไฟเบอร์กลาส หัวโทง ขนาดความยาว 10 เมตร ดำเนินการจัดสร้าง 200 ลำ
1.3 เรือไฟเบอร์กลาส หัวโทง ขนาดความยาว 11 เมตร ดำเนินการจัดสร้าง 300 ลำ
การส่งมอบเรือฯให้แก่ราษฎรในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ได้ดำเนินการส่งมอบเรือฯ จำนวน 560 ลำ ให้แก่ราษฎรผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดรวมทั้งหน่วยงานราชการที่ขอความ อนุเคราะห์เรือ เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่งานราชการ โดยมีการส่งมอบเรือ ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549 ณ สถานีประมงทะเลบ่อดาน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา            
การดำเนินการจัดตั้งกลุ่มกองทุนเรือ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับความร่วมมือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการจัดตั้งกลุ่มกองทุนเรือ ตามข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ให้ผู้รับเรือจะต้องจัดตั้งกลุ่มและดำเนินการเปิด บัญชีธนาคาร ตามวัตถุประสงค์ในอันที่จะให้ราษฎรเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการขั้นต้น ทั้งนี้การจัดตั้งกลุ่มกองทุนเรือ ได้ดำเนินการครบทุกกลุ่มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะต้องดำเนินการประเมินผลกิจกรรมดังกล่าว ต่อไป
การจัดสร้างเรือต้นแบบ (ประเภทเรือท้ายตัด)สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้มอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือจัดสร้างเรือต้นแบบไฟเบอร์กลาส ประเภทเรือท้ายตัด ซึ่งเป็นเรืออีกประเภทหนึ่งที่ราษฎรนิยมนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ ในการนี้กรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการแล้วเสร็จและส่งมอบเรือ ให้แก่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้มอบเรือลำดังกล่าวให้ที่ว่าการอำเภอคุระบุรีไว้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และได้มอบหมายให้กรมประมง ดำเนินการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบกับเรือท้ายตัดที่สร้างจากไม้ธรรมชาติ ขณะนี้อยู่ในระหว่างสรุปผลการทดสอบและจะได้เสนอผลการทดสอบต่อไป
การจัดฝึกอบรมการซ่อมแซมเรือไฟเบอร์กลาส เบื้องต้น กรมประมง ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมโดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายและวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตเรือไฟเบอร์กลาสฯ ให้แก่ราษฎรผู้รับเรือฯ จำนวนทั้งสิ้น 139 คน ณ สถานีประมงทะเลบ่อดาน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับเรือฯ ได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามจะต้องดำเนินการอบรมการซ่อมแซมให้แก่ราษฎรผู้รับเรือให้ครบตามจำนวน ต่อไป
การดัดแปลงเรือไฟเบอร์กลาสหัวโทงฯ ให้ใช้ใบเรือร่วมกับเครื่องยนต์ กรมประมงได้รับพระราชทานพระราชานุมัติ ให้ดำเนินการดัดแปลงเรือ ไฟเบอร์กลาสหัวโทงฯ ให้ใช้ใบเรือร่วมกับเครื่องยนต์ โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายจากการผลิตเรือไฟเบอร์กลาสฯ เพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรผู้ประสบภัยจากกรณีคลื่นยักษ์ ในการนี้กรมประมง ได้ดำเนินการดัดแปลงเรือฯ โดยมีแนวทางการออกแบบใบเรือใน 3 ลักษณะ และได้ทำการทดสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าแนวคิดดังกล่าวสามารถเอื้อประโยชน์แก่ราษฎร ทั้งในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายและเชื้อเพลิง กรมประมง ได้จัดทำรายงานการทดสอบส่งมายังสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อขอรับพระราชทานพระราชวินิจฉัย และถวายรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานต่อไป
การดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมเรือหัวโทงไฟเบอร์กลาสฯ รุ่นทดลอง จำนวน 60 ลำ สืบเนื่องจากเรือไฟเบอร์กลาสฯ รุ่นทดลอง เป็นเรือที่ผลิตออกมาเป็นลำดับแรกจึงมีข้อบกพร่องอันเกิดจากการผลิตหลาย ประการ ดังนั้น สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้มอบหมายให้กรมประมง และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการซ่อมแซมเรือรุ่นทดลองทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในระหว่างการดำเนินการ แม้ว่า เรือรุ่นทดลองจะมีจำนวนเพียง 60 ลำ แต่ผู้รับเรือฯ ทดลองทั้ง 6 จังหวัดอยู่ในพื้นที่กระจัดกระจาย จึงทำให้เพิ่มอุปสรรคในการดำเนินงาน เนื่องจากมีหลายลำที่เสียหายและไม่สามารถแล่นออกมาในพื้นที่ๆ ได้จัดเตรียมไว้เพื่อการซ่อมแซม อย่างไรก็ตามการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน เดือนมีนาคม 2550
เรือไฟเบอร์กลาสหัวโทงฯ ที่ได้รับบริจาค จากกองทัพเรือ และบริษัท ไอทีวี จำกัด สืบเนื่องจาก กองทัพเรือ และ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเรือไฟเบอร์กลาสฯ ชัยพัฒนา-กาชาดไทย แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพิ่มเติมอีกจำนวน 30 ลำ ในการนี้ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ทำการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติในการขอรับเรือฯ โดยใช้หลักการเดิม แต่ได้เพิ่มเติมวิธีพิจารณาคุณสมบัติ โดยกำหนดให้ราษฎรผู้ที่มีฐานะยากจนสามารถขอรับความช่วยเหลือในเรื่องดัง กล่าวได้ ทั้งนี้ จะต้องให้หน่วยงานราชการในพื้นที่เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เรือจำนวน 30 ลำ ได้ถูกจัดสรรไปอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่
การจดสิทธิบัตรเรือไฟเบอร์กลาส ชัยพัฒนา-กาชาดไทย การดำเนินการจดสิทธิบัตรเรือไฟเบอร์กลาส ประเภทเรือหัวโทง ขนาดความยาว 10 เมตร และ 11 เมตร รวมทั้งประเภทเรือท้ายตัด ขนาดความยาว 11 เมตร เป็นที่เรียบร้อย


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ราษฎรในพื้นที่จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง 


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ดำเนินงานโครงการเรือไฟเบอร์กลาสหัวโทง “ชัยพัฒนา-กาชาดไทย” แล้วเสร็จ และทำพิธีส่งมอบเรือดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ดังนี้
1. การจัดสร้างเรือไฟเบอร์กลาส จำนวน 560 ลำ พร้อมส่งมอบเรือให้แก่ราษฎรผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และหน่วยงานราชการที่ขอความอนุเคราะห์เรือ เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีการส่งมอบเรือ ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549 ณ สถานีประมงทะเลบ่อดาน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
2. การจัดสร้างเรือต้นแบบ (ประเภทเรือท้ายตัด) สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้มอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือจัดสร้างเรือต้นแบบไฟเบอร์กลาส ประเภทเรือท้ายตัด ซึ่งเป็นเรืออีกประเภทหนึ่งที่ราษฎรนิยมนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ ปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และได้มอบเรือไว้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
3. การจัดฝึกอบรมการซ่อมแซมเรือไฟเบอร์กลาสเบื้องต้น กรมประมงได้ดำเนินการจัดฝึกอบรม โดยใช้งบประมาณเหลือจ่าย และวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตเรือไฟเบอร์กลาสฯ ให้แก่ราษฎรผู้รับเรือฯ โดยใช้สถานที่โรงซ่อมเรือของโครงการอุตสาหกรรมประมงพื้นบ้าน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ปัจจุบันการดำเนินงานกิจกรรมภายในโครงการฯ แล้วเสร็จ  


ที่มาของข้อมูล : มูลนิธิชัยพัฒนา

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………

ที่อยู่
…………………………………………………………………………

 

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.