โครงการชลประทานเมืองกาญจนบุรี-พนมทวนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดกาญจนบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

ร้อยตำรวจตรี พัฒนา สัมมาทิตฐิ ราษฎรภูมิลำเนาอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีหนังสือขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอให้ทางราชการขุดคลองชลประทานต่อเชื่อมจากคลองชลประทานเดิมที่รับน้ำจากเขื่อนแม่กลอง(เขื่อนวชิราลงกรณเดิม) เพื่อส่งน้ำให้ราษฎรในเขตตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการชลประทานเมืองกาญจนบุรี-พนมทวนไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2544

 
 
ที่ตั้งของโครงการ :
์ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี, อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอบ่อพลอย อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอเมือง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
   
วัตถุประสงค์

1. เพื่อจัดหาแหล่งน้ำให้ราษฎรในพื้นที่ ตำบลท่าล้อ, ตำบลหนองขาว, ตำบลหนองโรง, ตำบลทุ่งสมอ, ตำบลพนมทวน, ตำบลดอนตาเพชร, ตำบลรางหวาย, ตำบลดอนแสลบ, ตำบลสระลงเรือ, อำเภอห้วยกระเจา และตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ประสบปัญหาเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภค – บริโภคและทำการเกษตร
2. เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้เสริมการเพาะปลูกในฤดูฝน และการปลูกพืชในฤดูแล้ง
3. เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ สำหรับอุปโภค – บริโภค
4. เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ให้ราษฎรใช้บริโภค และมีรายได้จากการทำเกษตรกรรม
5. เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เพื่อบรรเทาการเกิดอุทกภัย

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

1. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
2. โครงการชลประทานกาญจนบุรี สำนักชลประทานที่ 13 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรแกละสหกรณ์
3. จังหวัดกาญจนบุรี

 

ลักษณะโครงการ :

ตามที่ร้อยตรีพัฒนา สัมมาทิตฐิ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ผ่านราชเลขาธิการ ขอพระราชทานแหล่งน้ำเพื่อใช้น้ำในการทำอาชีพเกษตรกรรม และใช้เป็นน้ำกินน้ำใช้ตลอดปีสำหรับราษฎร ในเขตตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี รายละเอียดตามสำเนาฎีกา ลงวันที่ 26 เมษายน 2544 ที่แนบโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับสำนักงานชลประทานที่ 13 แล้ว และสรุปความเห็นต่อไปยังสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทโดยสรุปได้ ดังนี้
1. จากปัญหาในเรื่องสภาพพื้นที่งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อสร้าง และงบประมาณค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำ จึงเห็นสมควรให้กรมชลประทานพิจารณาศึกษาแนวทางที่เหมาะสม ในการส่งน้ำให้แก่พื้นที่การเกษตรในเขตตำบลหนองโรงต่อไป
2. การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในระยะสั้น เห็นควรให้กรมชลประทานประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จัดทำงบประมาณและพื้นที่ เพื่อดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก และปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมเพื่อกักไว้ใช้ประโยชน์ใน ฤดูแล้งต่อไปด้วย
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรประกอบอาชีพตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้ตลอดปี
ต่อมาสำนักงานราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือ ที่ รล 0005/16770 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2544 แจ้งให้สำนักงาน กปร. ทราบว่าได้นำความกราบบังคบทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงเห็นชอบในการสนับสนุนจัดหาแหล่งน้ำให้แก่ราษฎร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยให้เร่ง ดำเนินการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างโครงการชลประทานเมืองกาญจนบุรี - พนมทวน ซึ่งทางสำนักงาน กปร. ได้แจ้งให้กรมชลประทานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามสำเนาหนังสือที่ นร 1105/2755 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2544 ที่แนบ นั้น
กรมชลประทานโดยสำนักชลประทานที่ 13 ได้นำรายละเอียดรายงานเบื้องต้นโครงการชลประทานเมืองกาญจนบุรี - พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ที่นายเล็ก จินดาสงวน อดีตอธิบดีกรม ชลประทานได้จัดทำไว้ เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2544 และความเห็นของสำนักงาน กปร. ที่เสนอไปยัง สำนัก ราชเลขาธิการมาดำเนินการพิจารณากำหนดแนวทางจัดหาแหล่งน้ำที่เหมาะสม สำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างโครงการ ชลประทานเมืองกาญจนบุรี - พนมทวน แล้ว จึงได้จัดทำรายงานความก้าวหน้าของ โครงการชลประทานเมืองกาญจนบุรี - พนมทวน อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น  


ผู้ได้รับประโยชน์ : ีราษฎรในพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียง

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

สภาพพื้นที่ของตำบลหนองโรงมีระดับความสูงมากกว่าตัวเขื่อนแม่กลองและคลองส่งน้ำฝั่งซ้าย 1 หากจะส่งน้ำให้แก่พื้นที่ ต้องใช้วิธีสูบเท่านั้น โดยสร้างบ่อพัก ตั้งสถานีสูบน้ำเป็นช่วงๆ และสร้างคลองส่งน้ำในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 12 สาย การแก้ปัญหาระยะสั้น เห็นสมควรพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และส่งเสริมให้เกษตรกรประกอบอาชีพตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้ตลอดปี

 

ความสำเร็จของโครงการ : ราษฎรมีแหล่งน้ำสำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง สามารถประกอบอาชีพเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ได้ตลอดปี ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
   


ที่มาของข้อมูล :
1. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฐานข้อมูลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2. โครงการชลประทานกาญจนบุรี สำนักชลประทานที่ 13 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรแกละสหกรณ์ เลขที่ 7 หมู่ 12 ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71100

ที่อยู่ โครงการชลประทานกาญจนบุรี โทร. 0-34-564-386 โทรสาร.0-34-564-387

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.