โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ ห้วยเมืองงาม
จังหวัดเชียงใหม่

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
 
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่ดอยสามเส้า ลุ่มน้ำห้วยเมืองงาม ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของลำน้ำแม่กก ตั้งอยู่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้กับช่องทางสันต้นดู่ ซึ่งเคยเป็นจุดผ่อนปรนค้าขายไทย-พม่าในอดีต มีระยะห่างจากชายแดน 2 กิโลเมตร ตรงข้ามกับเมืองยอนของรัฐว้าในพม่า พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ (ลีซอหัวน้ำเก่า)

ปัจจุบันได้อพยพลงมาอยู่พื้นที่ตอนล่าง แต่แผ้วถางป่าทำสวนผลไม้ ทำไร่หมุนเวียน ปลูกข้าวไร่ และในบางโอกาสก็มีการลักลอบค้าขายสินค้าหนีภาษี และยาเสพติดกับกองกำลังว้าแดง ถ้าหากปล่อยพื้นที่บริเวณนี้ทิ้งไว้ โดยไม่มีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจะเกิดปัญหา ทั้งด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน และปัญหาการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมโดยเฉพาะพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำกก จะต้องถูกบุกรุกแผ้วถางเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญแม่ทัพภาคที่ 3 ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ผู้แทนกรมป่าไม้ ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16 เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหา โดยขอใช้พื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้ว บริเวณลุ่มน้ำห้วยเมืองงาม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ พิกัด NC 540257 ประมาณ 600 ไร่ มาจัดตั้งสถานีทดลองเกษตรบนพื้นที่สูง โดยให้ราษฎรซึ่งอยู่ในพื้นที่ได้แก่ ราษฎรบ้านห้วยส้าน หมู่ที่ 10 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 326 ครัวเรือน ประชากร 1,417 คน และราษฎรบ้านสุขฤทัย หมู่ที่ 11 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 566 ครัวเรือน ประชากร 2,235 คน ได้เข้ามาร่วมดำเนินงานโครงการฯ

 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

หมู่ 10 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่  

   
วัตถุประสงค์

1. จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง เพื่อให้ความรู้แก่ราษฎรในการทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ โดยใช้พื้นที่อย่างจำกัด แต่ให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น พอเลี้ยงตนเองได้
2. ยับยั้งการบุกรุกทำลายป่า ทำการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณเทือกเขาดอยสามเส้าใหญ่เหนือลำน้ำหัวเมืองงาม ที่มีความลาดชันสูง ให้พื้นที่ต้นน้ำที่ถูกบุกรุกกลับคืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม
3. สร้างงานให้ราษฎรในพื้นที่มีอาชีพ มีรายได้ และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น
4. ช่วยสนับสนุนรัฐบาล ในการจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน ให้มีชุมชนเข้มแข็ง ป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของยาเสพติดจากนอกประเทศ
5. พัฒนาสถานีเกษตรที่สูง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และระบบนิเวศ ให้ราษฎรเรียนรู้การใช้พื้นที่ทำการเกษตรอย่างจำกัด แต่ให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นพอเลี้ยงตนเองได้ เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกแผ้วถางป่า และขยายพื้นที่ทำกินของราษฎร

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. กองภาคที่ 3
2. กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
3. กรมป่าไม้
4. กรมวิชาการเกษตร
5. กรมประมง
6. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
7. จังหวัดเชียงใหม่
8. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่
9. ส่วนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
10. สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง กรมประมง
11. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
12. กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 
 

ลักษณะโครงการ :

1. จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริห้วยเมืองงาม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยขอใช้พื้นที่ป่าสงวนที่ถูกบุกรุกแผ้วถางประมาณ 460 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการฯ
2. จัดสร้างฝายทดน้ำแบบประปาภูเขา และทำบ่อพักน้ำ เพื่อนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในพื้นที่โครงการฯให้ได้อย่างต่อเนื่อง
3. ทำการฝึกอบรมราษฎรอาสาพิทักษ์ป่า บ้านห้วยเต่า บ้านฮ้าฮก บ้านละหลา บ้านลีซอหัวน้ำเก่า อำเภอแม่อายจังหวัดเชียงใหม่ ปีละ 2 รุ่น รุ่นละ 100 คน โดยทำเป็นโครงการต่อเนื่อง 2 ปี เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า บริเวณต้นน้ำห้วยเมืองงาม ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำฝาง
4. ทำการปลูกป่าเสริมในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม โดยใช้พื้นที่ที่เหลือจากการจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าให้สมบูรณ์ดังเดิม
5. จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรเพื่อให้ราษฎรรวมกลุ่มในการบริหารจัดการ วางแผนการผลิตและการตลาด การแปรรูปผลผลิตให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นและเกิดการรวมกลุ่มกันจำหน่ายผลผลิตเพื่อไม่ให้ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางอย่างไม่เป็นธรรม
6. ทำการจ้างงานในชนบท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของราษฎรให้ดีขึ้น โดยตั้งเป้าหมายของการพัฒนาปีแรก ให้ราษฎรทุกครัวเรือนในพื้นที่มีรายได้สูงกว่าระดับความยากจนที่ทางการกำหนดไว้
7. ส่งเสริมให้ราษฎรมีทักษะ เกิดการเรียนรู่ในด้านการผลิตอย่างถูกวิธี สามารถมีพัฒนาการนำไปสู่การมีกินมีอยู่อย่างพอเพียงได้


ผู้ได้รับประโยชน์ : ีราษฎรบ้านห้วยเมืองงาม, บ้านห้วยส้าน, ราษฎรบ้านสุขฤทัย และหมู่บ้านบริเวณใกล้เคียง ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

การดำเนินงานของสถานีพัฒนาเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริห้วยเมืองงาม สามารถแยกตามกิจกรรมงานต่างๆได้ ดังนี้
1. กิจกรรมด้านอำนวยการและบริหาร
          1) งานจัดเตรียมพื้นที่โครงการฯ
          2) งานโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ สำนักงาน จำนวน 1 หลัง, บ้านพักเจ้าหน้าที่เกษตรและป่าไม้ จำนวน 3 หลัง, บ้านพักกำลังพล จำนวน 2 หลัง, จัดระบบน้ำในสถานที่ จำนวน 1 ชุด, โรงเพาะชำ จำนวน 2 หลัง, โรงเรือนเลี้ยงแกะ จำนวน 1 หลัง, ห้องน้ำ จำนวน 6 แห่ง, ถนนป่าไม้ จำนวน 6 กิโลเมตร, จัดซื้อครุภัณฑ์ จำนวน 6 รายการ
2. กิจกรรมด้านการเกษตร
          1) งานพัฒนาศักยภาพการผลิต  
          2) งานการผลิตพืช  
          3) งานการตลาด ( กรมส่งเสริมการเกษตร )
3. กิจกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน
          1) งานก่อสร้างคันคูรับน้ำขอบเขา (ชนิดที่ 5) จำนวน 20 กิโลเมตร
          2) ปลูกหญ้าแฝก จำนวน 20,000 กล้า
          3) สำรวจทำแผนที่วงรอบ จำนวน 450 ไร่
          4) สำรวจดินและวางแผนการใช้ดิน จำนวน 450 ไร่
4. กิจกรรมด้านประมง
          1) งานผลิตพันธุ์ปลาลำธารภูเขา จำนวน 80,000 ตัว
          2) งานผลิตพันธุ์กบลำธารภูเขา จำนวน 10,000 ตัว
5. กิจกรรมด้านสำรวจ จำแนกและกำหนดการใช้ที่ดิน
          1) สำรวจ จำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ดำเนินการ 7,000 ไร่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                    - พื้นที่สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง เนื้อที่ 450 ไร่
                    - พื้นที่ทำกินและอยู่อาศัย หมู่บ้าน 900 ไร่
                    - พื้นที่ป่า เพื่ออำนวยประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ จำนวน 5,650 ไร่
6. กิจกรรมด้านปศุสัตว์
          1) งานจัดทำทุ่งหญ้าเลี้ยงแกะ จำนวน 30 ไร่
          2) งานอบรมเกษตรกร จำนวน 3 หมู่บ้าน
          3) งานจัดซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เป็ด จำนวน 410 ตัว
7. กิจกรรมด้านประสานการคุ้มครองและป้องกันชุมชน
          1) งานประสานการคุ้มครอง และป้องกันชุมชน
          2) งานด้านการข่าว
          3) งานด้านปลูกไผ่ จำนวน 100 ไร่
          4) งานงานด้านกิจการพลเรือน
8. กิจกรรมด้านฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้
          1) งานก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 150 แห่ง
          2) งานก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร จำนวน 4 แห่ง
          3) ปลูกป่าไม้ใช้สอย จำนวน 100 ไร่
          4) ปลูกป่าไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง จำนวน 100 ไร่
9. กิจกรรมด้านการศึกษาศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษำรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย
          1) ดำเนินงานและประสานงานกับหน่วยงานพื้นที่ ในการจัดตั้งศูนย์การเรียน 4 หมู่บ้าน
          2) งานด้านวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
          3) กำลังดำเนินการรับสมัครเจ้าหน้าที่ในพื้นที่โครงการ เพื่อการเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นเพื่อใช้ในการสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่

 

ความสำเร็จของโครงการ :

จากผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ห้วยเมืองงาม ได้ดำเนินการเพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาทำให้สภาพป่าในพื้นที่กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้ง ยังได้ปลูกจิตสำนึกให้ราษฎร ตระหนักถึงคุณประโยชน์ ของป่าและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่โครงการคาดหวัง ก็คือ ... ให้ราษฎรสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน…ผลสำเร็จ ดังนี้
ป่า สามารถฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม และดูแลพื้นที่ป่าไม่ให้ถูกบุกรุกทำลาย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่
น้ำ จากความสมบูรณ์ของผืนป่า ทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย มีปริมาณน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ     
คน โดยการจ้างแรงงานในพื้นที่เข้ามาทำงานในโครงการฯ ทำให้ราษฎรได้มีอาชีพ และได้รับความรู้ด้านการเกษตร เช่นการปลูกพืชผัก ไม้ดอกและไม้ผลเมืองหนาว ทำให้ราษฎรไม่เข้าไปบุกรุกป่า และได้ประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

อื่นๆ ได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ และโครงสร้างพื้นฐานในสถานีฯ  เพื่อเป็นแหล่งความรู้ ให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา เช่น ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้ง ยังส่งเสริมให้สถานีฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
 
   


ที่มาของข้อมูล : 1. คณะทำงานพัฒนาระบบสารสนเทศของสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง โทร./โทรสาร 0-2579-8143 e -mail: royal_fisheries@hotmail.com
2. กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0-5311-2386

ที่อยู่...........................

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.