โครงการป่าสิริเจริญวรรษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ังหวัดชลบุร

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมชลประทานเข้าเฝ้าฯ ณ อาคารชัยพัฒนาสวนจิตรลดา และได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ให้พิจารณาจัดทำโครงการป่าสิริเจริญวรรษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่บริเวณเขาชีโอน ติดกับเขตวัดญาณสังวรารามวรวิหาร อยู่ในเขตตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีผู้มีจิตศรัทธาได้น้อมเกล้าฯ ถวาย จำนวนประมาณ 360 ไร่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 และพื้นที่โดยรอบโครงการป่าสิริเจริญวรรษ มีอาณาเขตตามแนวสันเขาสูงทางด้านทิศเหนือและใต้ สำหรับด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ให้ใช้แนวที่พ้นจากเขตโครง การพอประมาณ สมควรจัดทำเป็นโครงการปลูกป่าปริมณฑลตามความเหมาะสม และพระราชทานนามโครงการแห่งนี้ว่า “โครงการป่าสิริเจริญวรรษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” (โครงการ+สิริกิติ์+เจริญวรรษ)

 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พื้นที่โครงการ ประมาณ 3,900 ไร่

   
วัตถุประสงค์

1. เพื่อดูแลรักษาสวนป่าสิริเจริญวรรษให้มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งอนุรักษ์ดินและน้ำ และเป็นที่ อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนตลอดไป
2. เพื่อให้เป็นแหล่งทัศนศึกษาและที่พักผ่อนหย่อนใจของนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
3. เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับฟื้นคืนสภาพป่าที่สมบูรณ์

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักป่าไม้เขตศรีราชา กรมป่าไม้
2. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
3. กรมชลประทาน
4. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า
5. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
 

ลักษณะโครงการ :

การดำเนินงานตั้งแต่ 2534 - 2544 (กรมป่าไม้)
1. งานป้องกันรักษาพื้นที่และบริหารโครงการ 1 โครงการ
2. งานเพาะชำกล้าไม้ 280,000 กล้า
3. งานอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า 1 รุ่น
4. ปลูกและบำรุงรักษาป่า 300 ไร่
5. บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2-6 ปี 300 ไร่
6. งานสวนศึกษาธรรมชาติ 1 แห่ง
7. งานประชาสัมพันธ์ทางเดินศึกษาธรรมชาติ 1 งาน
8. ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 20 แห่ง
9. งานสำรวจพื้นที่เพื่อผนวกเข้าเป็นพื้นที่โครงการ 1 งาน
10. งานจัดทำโป่งเทียม 10 จุด
11. งานจัดทำศาลานิทรรศการชั่วคราว 70 ไร่
12. งานจัดทำแบบจำลองทางเดินศึกษาธรรมชาติ 1 งาน
13. งานสวนรวมพันธุ์กล้วยไทย 1 งาน
14. งานสวนรวมพันธุ์ไม้ดอกหอมไทย 1 งาน
15. หอดูสัตว์ 1 หอ
16. โรงอนุบาลสัตว์ 1 หลัง
17. อาคารสำนักงาน 1 หลัง
18. ติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 แห่ง
19. หอพักน้ำส่งน้ำพร้อมอุปกรณ์ 1 หอ
20. ปลูกพืชอาหารสัตว์ 50 ไร่
21. บำรุงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 100 ไร่


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในบริเวณพื้นที่ประมาณ 3,900 ไร่ และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

โครงการป่าสิริเจริญวรรษอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้สนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลาย และมีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมให้กลับฟื้นคืนเป็นสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยการปลูกป่าตามแนวพระราชดำริ คือ ปลูกไม้โตเร็ว สำหรับใช้สอย ปลูกพืชอาหารสัตว์ สำหรับนก และสัตว์ป่าใช้ผลสุกเป็นอาหาร รวมทั้งปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อคืนสภาพป่า รวมทั้งอนุรักดินและน้ำ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี 2535 ได้ปลูกป่าไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ 580 ไร่ ไม้ที่ปลูกในระยะเริ่มแรกเจริญเติบโต เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ใช้ประโยชน์จากป่า โดยการเก็บหาของป่า เช่น  หน่อไม้ เห็ด ยอดหวาย เป็นต้น

นอกจากนี้ ทางโครงการฯ ได้ปลูกทุ่งหญ้าเพื่อเลี้ยงสัตว์ เนื้อที่ 100 ไร่ จัดทำรั้วล้อมรอบพื้นที่โครงการฯ บางส่วน รวมความยาว 8.5 กิโลเมตร เพื่อเตรียมปล่อยสัตว์ป่า จัดสร้างอาคารอนุบาลสัตว์ป่าและหอดูสัตว์ ให้ผู้มาเยี่ยมโครงการฯ โดยไม่รบกวนสัตว์ป่า

 

ความสำเร็จของโครงการ :

โครงการป่าสิริเจริญวรรษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน นอกจากปลูกป่าเสริมในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ
1. ป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงเหลืออยู่ให้คงอยู่ตลอดไป
2. เป็นการอนุรักษ์ดิน แหล่งต้นน้ำลำธาร และระบบนิเวศวิทยาของป่าดั้งเดิม
3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และขยายพันธุ์สัตว์ป่า ตลอดจนเป็นแหล่งพักสัตว์ป่าก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
4. เกิดการจ้างแรงงานแก่ราษฎรที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โครงการฯ และได้ใช้ประโยชน์ใช้สอยจากป่าของโครงการฯ
5. เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ สำหรับศึกษาหาความรู้ ตลอดจนเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งจัดกิจกรรมด้านป่าไม้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ในรูปของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต

 
   


ที่มาของข้อมูล :
1. เอกสารจากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
2. เอกสารจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

ที่อยู่..............................................

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.