โครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำฝายทดน้ำบ้านหนองแดง
จังหวัดกาญจนบุร

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชดำริ แก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทานและเจ้าหน้าที่สำนักเลขานุการ กปร. ณ อาคารชัยพัฒนา ในสวนจิตรลดาให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร ที่ขาดแคลนน้ำในเขตจังหวัดต่างๆ โดยในเขตจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยตะเพิน ได้แก่
1. ควรพิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณตอนบนของห้วยตะเพิน ที่เขตอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีทำเลเหมาะสมมากพร้อมกับสร้างฝายทดน้ำทางด้านท้ายอ่างเก็บน้ำในลำน้ำสายนี้ เป็นระยะๆ เพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรตำบลต่างๆ ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนน้ำ และเพื่อช่วยเหลือบรรเทาอุทกภัยที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งมักก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตร ตลอดจนทรัพย์สินของทางราชการและของราษฎรอยู่เป็นประจำ
2. ควรพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำสาขาต่างๆ ของห้วยตะเพิน ในเขตอำเภอบ่อพลอยจังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เช่น ห้วยพุตะเคียน ห้วยแม่ระวังและลำห้วยสาขา ห้วยแม่ตะกึง ห้วยตะกวด ห้วยกระพร้อยและห้วยป่าไร่ เป็นต้น เพื่อหาน้ำช่วยเหลือราษฎรในเขตโครงการให้มีน้ำทำการเพาะปลูกและอุปโภค – บริโภค ตลอดทั้งปี อนึ่ง สมควรปลูกป่าตามบริเวณขอบอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่จะทำการก่อสร้างด้วย

 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

หัวงานโครงการระบบกระจายน้ำฝายทดน้ำบ้านหนองแดง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านท่าแจง ตำบลหนองกุ่ม อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี มีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 33  กิโลเมตร หรือจุดพิกัด 47 PNR 556 – 768 ระวาง 4937 IV

   
วัตถุประสงค์

การดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบกระจายน้ำฝายทดน้ำบ้านหนองแดง  มีวัตถุประสงค์  ดังนี้
1. เพื่อให้ราษฎรได้มีผลผลิตทางการเกษตรตลอดทั้งปี
2. เพื่อส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่โครงการรวมทั้งสิ้น 8,780 ไร่
3. เพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรในเขตพื้นที่โครงการ
4. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภค ในเขตโครงการฯ และบริเวณใกล้เคียง
5. เพื่อเพิ่มพื้นที่ทำการเกษตรและผลผลิตในพื้นที่เกษตรกรรมของพื้นที่โครงการฯ
6. เพื่อใช้ประโยชน์ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง รวมถึงการสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรและเป็นการช่วยระบายน้ำในฤดูฝนป้องกันไม่ให้น้ำท่วม

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : โครงการชลประทานจังหวัดกาญจนบุรี  สำนักชลประทานที่ 13  กรมชลประทาน
 

ลักษณะโครงการ :

กรมชลประทาน จึงได้นำพระราชดำริ ดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำห้วยตะเพิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา โครงการฝายทดน้ำบ้านลานกร่าง เป็นโครงการหนึ่งที่จะสนองพระราชดำริเรื่องการขาดแคลนน้ำของราษฎร และยังเป็นจุดผันน้ำส่งไปให้อำเภอห้วยกระเจา ประการสำคัญ ปัจจุบันบริเวณนี้ขาดแคลนน้ำอย่างมาก ทำให้ผู้นำส่วนท้องถิ่นติดตามความก้าวหน้าของโครงการฯ ตลอดเวลาและพร้อมให้ความร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมต่อเนื่องทุกรูปแบบ ในการจัดทำประมาณการและคำของบประมาณ ซึ่งได้จัดทำคำขอก่อสร้างฝายทดน้ำและขุดลอกลำห้วยรวมเป็นวงเงิน 55,578,000 บาท แต่จากการประชุมตามที่รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) (นายโกวิทย์ เพ่งวานิชย์) ได้ไปประชุมที่สำนักชลประทานที่ 13 ร่วมกับ ผส.ชป.13, ผวศ.ชป.13, ผบร.ชป.13, ผปก.ชป.13, ผอ.คป.กาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่จากสำนักชลประทานที่ 13 และคุณไพฑูรย์ เก่งการช่าง เจ้าหน้าที่จากกลุ่มกิจกรรมพิเศษ ได้มีการร่วมพิจารณางบประมาณการก่อสร้างฝายฯ บ้านหนองแดง ซึ่งมีวงเงินงบประมาณ 55,578,000 บาท เห็นว่าสูงเกินไปสมควรลดกิจกรรม ซึ่งที่ประชุมได้ให้ของบประมาณในส่วนของตัวฝายฯ บ้านหนองแดง อย่างเดียวก่อน ส่วนกิจกรรมขุดลอกลำห้วยให้ขอปรับใช้งบประมาณในปีถัดไป


ผู้ได้รับประโยชน์ :

เมื่อโครงการนี้ดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของราษฎรหมู่ที่ 2 บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ที่ 5 บ้านหนองแดง หมู่ที่ 11 บ้านวังด้ง หมู่ที่ 14 บ้านสลอบ ซึ่งเป็นพื้นที่ชลประทาน 8,780 ไร่ 


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

- ขนาดเครื่องสูบน้ำ 355 กิโลวัตต์ อัตราการสูบ 0.35 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
- ระยะความสูงในการส่งน้ำ 65 เมตร
- ขนาด 315 กิโลวัตต์ อัตราการสูบ 0.35 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
- ระยะความสูงในการส่งน้ำ 50 เมตร
- พื้นที่ชลประทาน 4,000 ไร่
- ระบบส่งน้ำ ด้วยท่อส่งน้ำสายใหญ่ ฝั่งซ้าย 14.202 กิโลเมตร
- ท่อส่งน้ำสายใหญ่ ฝั่งขวา 13.588 กิโลเมตร สาย 1 ขวา สายใหญ่

 

ความสำเร็จของโครงการ :

1. มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น
2. เพื่อการอุปโภคบริโภคของราษฎร
3. สภาพแวดล้อมได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
4. มีความสะดวกในการคมนาคมมากขึ้น
5. สภาพแวดล้อมได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
6. การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. ดินและน้ำได้รับการอนุรักษ์เพิ่มขึ้น
8. ราษฎรมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น
9. เป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศ
10. พื้นที่รับประโยชน์ในช่วงฤดูฝน 7,000 ไร่ ฤดูแล้ง 500 ไร่ จำนวน 10 หมู่บ้าน

 
   


ที่มาของข้อมูล :

ที่อยู่...........................

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.