โครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริ บ้านบ่อหวี
จังหวัดราชบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
 
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2545  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำรัส เกี่ยวกับการจัดตั้งฟาร์มตัวอย่าง ความตอนหนึ่งว่า “...ตอนนี้พยายามจะเริ่มทำฟาร์มตัวอย่างที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี หวังให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร เป็นคลังอาหารที่หล่อเลี้ยงคนไทย จะเป็นที่น่าหวาดเกรงว่า ต่อไปอาหารจะแพงมากและคนที่ยากจนจะลำบาก ต้องตั้งคลังอาหารขึ้นตามที่ต่าง ๆ ....”

ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกร ที่อาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ห่างไกลความเจริญที่มีความเป็นอยู่แร้นแค้น ยากจน ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และกระทบกับภัยธรรมชาติ มีความแห้งแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล โดยได้เสด็จเยี่ยมราษฎร และทรงมีพระราชดำริในการฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต ยกระดับความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น โดยทรงมีพระราชดำริจัดทำโครงการเรียกว่า “โครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

บ้านบ่อหวี ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

   
วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการช่วยเหลือ การศึกษาและพัฒนาพื้นที่หมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงโครงการ และเป็นสถานที่เรียนรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติในฟาร์มแห่งนี้ (Learning by doing)
2. เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ โดยการยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่โครงการ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตวิทยา
3. เพื่อสนับสนุนอาชีพ สร้างแรงงานแลสร้างรายได้ให้กับราษฎรอย่างยั่งยืนโครงการฟาร์มตัวอย่างจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อสร้างอาชีพ และฝึกอาชีพด้านต่างๆให้กับราษฎร ฝึกการเลี้ยงไหม เลี้ยงโค-กระบือ ปลูกพืชสวน เพาะเห็ด เลี้ยงปลา รวมทั้งการจักสาน การปลูกหญ้าเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ ให้มีความยั่งยืนของโครงการ สภาพพื้นที่ในโครงการเป็นดินร่วนปนทรายและบางจุดเป็นดินเหนียวเครื่องจักรปฏิบัติบัติงานไม่ค่อยได้
4. เพื่อเป็นแหล่งจ้างแรงงานในท้องถิ่น ให้ราษฎรมีรายได้จากการรับจ้างและฝึกอาชีพในฟาร์มสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
5. เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหาร และขยายผลสู่การค้า ไม่เน้นผลกำไร ราษฎรสามารถพึ่งพาตนเองได้

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

1. กรมชลประทาน
2. กรมพัฒนาที่ดิน
3. กรมวิชาการเกษตร
4. กรมส่งเสริมการเกษตร
5. กรมปศุสัตว์
6. กรมประมง
7. กรมป่าไม้ งานอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้  
8. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
9. กองทัพบก
10. กองทัพภาคที่ 1

 

ลักษณะโครงการ :

เนื่องจากสภาพพื้นที่แห่งนี้เป็นเหมืองแร่เก่า ดังนั้น สภาพดินโดยทั่วไปจึงไม่เหมาะสมกับการปลูกพืช และกิจกรรมที่เน้นหนัก คือ “การเลี้ยงสัตว์” ซึ่งการปลูกพืชและการเลี้ยงปลา จะเป็นกิจกรรมเสริมในฟาร์ม
รูปแบบการดำเนินกิจกรรมจะเป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง พร้อมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ราษฎรในพื้นที่เข้าใจการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบจากธรรมชาติอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยการปลูกพืชต้องปลอดสารพิษ เน้นรูปแบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรผสมผสานรูปแบบการเกษตร ตามคำนิยาม มีดังนี้
- เกษตรอินทรีย์ คือ การเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพมีการใช้มูลสัตว์ และการปลูกพืชหมุนเวียนในการปรับปรุงดิน
- เกษตรผสมผสาน คือ การเกษตรที่มีการปลูกพืช และ/หรือการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยกิจกรรมจะต้องสามารถเกื้อกูลกัน และการใช้ทรัพยากรดิน น้ำ แสงแดด อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความสมดุลและประโยชน์สูงสุด


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ราษฎรในพื้นที่บ้านบ่อหวี ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

การเตรียมงานในขั้นต้น เริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2545 และต่อมาในเดือนสิงหาคม (วันที่ 16 สิงหาคม 2545) ได้มีการประชุมเตรียมงานอย่างเป็นทางการ โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟังคำชี้แจงจาก คุณสหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานโครงการฯ

กิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้
การจ้างแรงงาน โดยใช้งบประมาณการจ้างแรงงานจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ดังนั้นจึงเน้นการจ้างแรงงานที่ถูกต้องกฎหมาย ซึ่งการจ้างแรงงานในพื้นที่ได้ดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติคนงานทุกคน โดยนายอำเภอสวนผึ้งและหน่วยเฉพาะกิจกรรมทหารราบที่ 9 เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบบัตรประจำตัวของผู้รับจ้างแรงงานในพื้นที่
เจ้าหน้าที่ประจำโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ สำนักพระราชวัง ได้จัดจ้างเจ้าหน้าที่ประจำโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลภารกิจภายในฟาร์มฯ จำนวน 4 ท่าน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
ภารกิจภายในโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ แบ่งออกเป็น ดังนี้
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. ด้านการเกษตร (พืช)
3. ด้านปศุสัตว์
4. ด้านประมง
5. ด้านงานอนุรักษ์ป่าไม้
6. ด้านพลังงานทดแทน
7. ด้านการประสานงานในพื้นที่
8. ด้านการสนับสนุนภารกิจโครงการฟาร์มฯ
9. ด้านการรักษาความปลอดภัย

 

ความสำเร็จของโครงการ :

สืบเนื่องจากที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เกรงว่าต่อไปหากอาหารมีราคาแพง ประชาชนของพระองค์จะลำบาก ดังนั้นจึงต้องตั้งคลังอาหาร เอาไว้รับรองความต้องการของประชาชน ให้มีอาหารที่เพียงพอ ในฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริ

ทั้งนี้ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริบ้านบ่อหวี ก็ได้จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานให้เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหาร และคลังอาหารที่หล่อเลี้ยงคนไทย โดยเฉพาะราษฎรชาวบ้านบ่อหวี ตำบลตะนาวศรี ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแล้ว ยังส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และทำการเกษตรอื่นๆ พร้อมกับมีการจ้างแรงงานภายในท้องถิ่นเข้ามาทำงานในฟาร์ม เพื่อชาวบ้านได้มีงานทำ มีรายได้ และนำความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการถ่ายทอดและจากฝึกปฏิบัติจริงในฟาร์มไปใช้ในการประกอบอาชีพของตนเองได้ จึงทำให้ราษฎรมีความรู้ด้านการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชอาหารสัตว์อย่างถูกต้องและยั่งยืน ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบจากธรรมชาติอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยการปลูกพืชต้องปลอดสารพิษ เข้าใจรูปแบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรผสมผสาน สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน

โดยกิจกรรมภายในฟาร์มมีการปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ การเพาะเห็ด การเพาะเลี้ยงปลาในกระชังและบ่อดิน เพราะเลี้ยงไก่แจ้พันธุ์ต่าง ๆ เพาะเลี้ยงเป็ดพันธุ์อี้เหลียง, สุกรพันธุ์จินหัว แพะนมพันธุ์หลาวซานจากประเทศจีน นอกจากนี้ในฟาร์มยังมีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น พริกกะเหรี่ยง    และกล้วยฉาบ โดยพืชผลที่ได้จากฟาร์มตัวอย่างยังจะนำไปจำหน่ายให้กับประชาชนในตัวเมือง อีกส่วนหนึ่งจะวางจำหน่ายให้แก่ประชาชนในละแวกใกล้เคียงอีกด้วย 

 
   


ที่มาของข้อมูล :
1. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี
2. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง จังหวัดราชบุรี
3. โครงการภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยง ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย





ที่อยู่
1. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี อาคารเขตตรวจราชการพื้นที่ 4 (ชั้น 6) ถนนไกรเพชร อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000 โทรศัพท์ 0 3232 2786 โทรสาร 0 3232 2862 อีเมล์ ratchaburi@m-culture.go.th
2. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง จังหวัดราชบุรี โทรศัพท์/โทรสาร 0-3222-8418 อีเมล์ lcrr_rri@dld.go.th  
3. โครงการภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยง ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2218-4691 โทรสาร 0-2218-4695อีเมล์: karenproject.chula@gmail.com

 

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.