|
|
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : |
1. สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา 2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา |
|
|
ลักษณะโครงการ : |
กิจกรรมบริเวณพื้นที่สาธิต ทฤษฎีใหม่
1. ทำนาข้าว พื้นที่ 4.5 ไร่ ทำการปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยการตกกล้าปักดำ ปักดำเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 คาดว่าเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือน ธันวาคม 2553 หลังเก็บเกี่ยวข้าวปลูกพืชหลังนาอายุสั้น เพื่อหมุนเวียนและบำรุงดิน เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง และข้าวโพดหวานฝักสด
2. การปลูกไม้ผล พื้นที่ 2.8 ไร่ ปลูกไม้ผลหลัก โดยแบ่งออกเป็น 2 แปลง พืชที่ปลูก ได้แก่ มะม่วง มะขาม กระท้อนและส้มโอ ไม้ผลรอง ได้แก่ ฝรั่ง น้อยหน่า และกล้วยน้ำว้า พืชแซม และปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปรับโครงสร้างดินด้วยหญ้าแฝกแบบผสมผสาน เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกร
3. ที่อยู่อาศัย พื้นที่ 1 ไร่ เลี้ยงไก่สามสายเลือด และไก่พื้นเมืองจำนวน 20 ตัว โดยปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ และให้อาหารเสริมเป็นบางครั้ง ทดลองเลี้ยงกบในบ่อดิน เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน จำนวน 500 ตัว เลี้ยงเป็ดเทศ จำนวน 20 ตัว เลี้ยงหมูหลุม จำนวน 10 ตัว เลี้ยงโค (โคไถ่ชีวิต) จำนวน 3 ตัว โดยใช้อาหารประเภทสำเร็จรูป ประเภทที่หาได้ง่าย และวัสดุเหลือจากการเกษตร ปลูกพืชสมุนไพร และพืชผักสวนครัว
4. สระน้ำ พื้นที่ 2.5 ไร่ เลี้ยงปลากินพืชชนิดต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายและบริโภค โดยปล่อยปลาตะเพียน จำนวน 32,000 ตัว ใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นอาหารปลา ริมขอบบ่อปลูกพืชผัก พืชสมุนไพร ไม้ผล ไม้ยืนต้น เพื่อการบริโภคและจำหน่ายสร้างรายได้ตลอดปี
- การทำนาแบบดั้งเดิมตามวิถีชาวบ้าน พื้นที่ 6 ไร่ ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
- การวิจัยและพัฒนา ปรับพื้นที่บริเวณแปลงไม้ผลเดิม พื้นที่ 4 ไร่ เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่นาข้าวตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ โดยปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วยวิธีการหว่าน 18.75 กิโลกรัมต่อไร่ หลังเมล็ดงอก 10 วัน ฉีดพ่นฮอร์โมน ในอัตรา 10 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
- การขยายผล พัฒนาเป็นแหล่งฝึกอบรมและแปรรูปผลผลิตในโครงการ พื้นที่ 7 ไร่ โดยในปี 2553 มีผู้เข้าศึกษาดูงาน 8 คณะ จำนวนรวม 151 คน
|
|
|
ผู้ได้รับประโยชน์ : |
ราษฎรในตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาและราษฎรในบริเวณรอบๆ โครงการ
|
|
|
ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ : |
ภายหลังจากที่โครงการแล้วเสร็จ เกษตรกรสามารถศึกษาวิธีการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และสามารถนำไปประกอบอาชีพเกษตรได้อย่างถูกวิธี ซึ่งการทำเกษตรทฤษฎีใหม่สามารถทำเกษตรในฤดูแล้งที่มีน้ำน้อย โดยเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน และในปีที่ฝนตกตามฤดูกาล โดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็ทำให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้ ส่วนในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัว และราษฎรช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
|
|
|
ความสำเร็จของโครงการ : |
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่ เป็นโครงการที่นำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนสามารถที่จะปฏิบัติได้จริงโดยให้ประชาชนเน้นการพึ่งตนเองพึ่งพาสิ่งที่มีอยู่ใช้ชุมชนไม่เบียดเบียนคนอื่นและไม่เบียดเบียนทรัพยากรใช้เท่าที่จำเป็นเท่าที่เราพอไม่มากเกินไปเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และอนุรักษ์ไปพร้อมๆ กัน เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรและยังช่วยแก้ไขปัญหาที่จะเกิดในอนาคตได้อีกด้วยเช่นการขาดแคลนน้ำ
|
|
|
|
|