ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2563 เวลา 9.30 น. พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคกลาง และพลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานอนุกรรมการฯ พร้อมด้วยนายดนุชา สินธวานนท์ เลขาธิการ กปร. นายลลิต ถนอมสิงห์ รองเลขาธิการ กปร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามผลการดำเนินงานโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง จังหวัดเพชรบุรี

      โอกาสนี้ รับฟังการบรรยายสรุปการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง จากผู้แทนสำนักงาน กปร. ซึ่งมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในเขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวนทั้งสิ้น 14 โครงการ จากการติดตามของคณะอนุกรรมการฯ ที่ผ่านมา สามารถขับเคลื่อนโครงการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณแล้ว จำนวน 9 โครงการ ส่วนอีก 5 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนตามระเบียบและกฎหมายให้มีความถูกต้องชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุด ต่อประชาชนและประเทศชาติ รวมถึงได้สรุปพระราชดำริและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชดำริมาตั้งแต่ปี 2542 ถึงปี 2547 จำนวน 5 ครั้ง สำนักงาน กปร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สนองพระราชดำริ เมื่อปี 2548-2551 โดยให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 52 ล้านบาท และการประสานการดำเนินงาน ในการขุดลอกคลอง D1 D9 และ D18 เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดเพรชบุรีในช่วงดังกล่าวได้เป็นอย่างดียิ่ง
     นอกจากนี้ ผู้แทนกรมชลประทาน ได้รายงานถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และบรรยายสรุปความก้าวหน้าของโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบัน กรมชลประทานได้พิจารณาแผนป้องกันอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง ประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก ได้แก่ แนวทางที่ 1 เพิ่มศักยภาพคลองระบายน้ำ D9 โดยปรับปรุงขยายคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา 3 และอาคารประกอบในคลองต่าง ๆ ระยะทาง 8 กิโลเมตร และขุดขยายคลอง D9 ระยะทาง 21 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มอัตราการระบายจากเดิม 35 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และแนวทางที่ 2 เพิ่มศักยภาพคลองระบายน้ำ D1 โดยปรับปรุงคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา 1 และขุดคลองระบายน้ำเชื่อมระหว่างคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา ไปคลองระบายน้ำ D1 เพื่อเพิ่มอัตราการระบายน้ำจากแม่น้ำเพชรบุรี ตรงบริเวณเหนือเขื่อนเพชร ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร พร้อมปรับปรุงอาคารประกอบในคลองต่าง ๆ ช่วยเพิ่มอัตราการระบายจากเดิม 70 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และขุดคลองระบายน้ำ D1 ความยาว 3.40 กิโลเมตร ออกสู่ทะเลอ่าวไทย อัตราการระบายน้ำ 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมทั้งขุดคลองเชื่อมต่อคลองโรงปูน เพื่อผันน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไทยที่บริเวณตำบลชะอำ อำเภอชะอำ โดยมีอัตราการระบายน้ำ 430 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างคลองระบายน้ำ D1 อยู่ระหว่างขั้นตอนการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งดำเนินการจัดหาที่ดิน และเตรียมความพร้อมเพื่อการก่อสร้างต่อไป ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงานเพื่อเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 และคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบให้สามารถดำเนินการเตรียมความพร้อมดำเนินโครงการได้ ซึ่งกรมชลประทานจะเริ่มดำเนินการออกแบบรายละเอียด และขออนุมัติเปิดโครงการ คาดว่าจะเสนอต่อคณะกรรมการ ฯ เพื่อขออนุมัติเปิดโครงการ ในช่วงปลายปี 2563 ต่อมาผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้บรรยายสรุปถึงแนวทางการดำเนินงานการก่อสร้างทางรถไฟชั่วคราวข้ามคลองระบายน้ำ D9 เพื่อให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเป็นตามแผนงานและดำเนินงานร่วมกันได้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
      จากนั้น องคมนตรีและคณะฯ ลงพื้นที่เพื่อชมความก้าวหน้าในการดำเนินงานบริเวณคลอง D9 จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย จุดที่ 1 บริเวณ ประตูระบายน้ำปลายคลอง D9 ตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง ซึ่งเป็นจุดระบายน้ำลงสู่ทะเล จุดที่ 2 บริเวณ จุดตัดคลอง D9 กับทางรถไฟ ตำบลหนองจอก โดยความร่วมมือระหว่างกรมชลประทานและการรถไฟแห่งประเทศไทย จุดที่ 3 บริเวณแนวคลอง D9 ในที่ชุมชนบ้านกระจิว ตำบลท่ายาง ซึ่งเป็นพื้นที่ประชาชน และชุมชนมีความเข้มแข็งและให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการฯ เป็นอย่างดี หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จทั้งโครงการจะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ให้แก่ราษฎรจังหวัดเพรชบุรีและใกล้เคียงสมดังพระราชประสงค์อย่างสมบูรณ์
   

 


Cr : นายช่างภาพ สำนักงาน กปร.