ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสั่งตัด โดยวิธีแบ่งใส่หลายครั้งในนาข้าว

ปีที่เริ่มวิจัย
2552
ศูนย์การศึกษาพัฒนาฯ
ภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร
สาขางานวิจัย
งานศึกษาและพัฒนาด้านข้าว ,
การพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

ความเป็นมาและความส้าคัญของปัญหา

แนวพระราชดำริที่เกี่ยวข้อง

     เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชปรารถถึงเรื่อง "ปุ๋ยสั่งตัด" ว่าถ้าหากมีความรู้ด้านนี้ จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกร ทำให้ไม่ต้องเปลืองปุ๋ยมากเกินความต้องการของพืช 

ปุ๋ยสั่งตัด
     
เทคโนโยลี "ปุ๋ยสั่งตัด" เป็นเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ คำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" ได้จากการนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ได้แก่ พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ความชื่น  ปริมาณน้ำฝน ชุดดิน ปริมาณไนโตรเจน ฟอสรัสและโพแทสเซียมในดินขณะนั้น มาพิจารณาร่วมกันโดยใช้แบบจำลองการปลูกพืช และโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ มาคำนวณโดยคอมพิวเตอร์เพื่อคาดคะเนคำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" สำหรับข้าวที่ปลูกในดินเท่ากัน จะมีความต้องการปุ๋ยแตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังแนะนำให้เกษตรกรสังเกตการเจริญเติมโตและการให้ผลผลิตของข้าวเพื่อปรับการใช้ปุ๋ยให้แม่นยำมากขึ้น เปรียบเสมือนเสื้อที่มีขนาดพอดีตัว สำหรับเทคโนโลยี "ปุ๋ยสั่งตัด" มี 3 ขั้นตอนคือ
     ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบข้อมูลชุดดิน สอบถามข้อมูลชุดดินที่สถานีพัฒนาที่ดิน ศึกษาจากแผนที่ชุดดินระดับตำบล
     ขั้นตอนที่ 2 วิเคาระห์ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในดิน โดยชุดวิเคาระห์ดินอย่างง่าย (KU Soil test kit) สามารถทราบระดับไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในดิน แบบรวดเร็วใช้เวลาเพียง 30 นาที และเกษรตกรทำได้ด้วยตนเอง แต่ต้องเก็บตัวอย่างดินให้ถูกวิธี
     ขั้นตอนที่ 3 ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ศึกษาจากคู่มือคำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" หรือโปรแกรม SimRice สำหรับข้าวที่เว็บไซต์ http://www.ssnm.info (ทัศนีย์ และคณะ , 2559)

การเก็บตัวอย่างดิน
   
 พื้นที่ที่จะเก็บตัวอย่างดินไม่ควรเปียกแฉะหรือมีน้ำท่วมขังจะทำให้เข้าไปทำงานลำบาก แต่ถ้าแห้งเกินไปดินจะแข็งดินความมีความชื้นเล็กน้อยจะทำให้ขุดและเก็บได้ง่ายขึ้น ไม่เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่เคยเป็นบ้าน หรือโรงเรือนเก่าจอมปลวก เก็บให้ห่างไกลจากบ้านเรือน อาคารที่อยู่อาศัย คอกสัตว์ และบริเวณจุดที่เคยเป็นบ้าน หรือสารเคมีอื่นๆ ต้องบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างดินของแต่ละตัวอย่างตามแบบฟอร์ม "บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน" ให้มากที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้คำแนะนำการจัดการดินให้ถูกต้องที่สุด

ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างดิน
     1. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นได้แก่ เครื่องมือสำหรับขุดหรือเจาะเก็บดิน เช่น พลั่ว จอบ และเสียม ส่วนภาชนะที่ใส่ดิน เช่น ถังพลาสติก กล่องกระดาษแข็ง กระบุง ผ้ายางหรือผ้าพลาสติก และถุงพลาสติกสำหรับใส่ตัวอย่างดินส่งไปวิเคาระห์
     2. ขนาดของแปลงที่จะเก็บตัวอย่างดินไม่จำกัดขนาดแน่นอนขึ้นอยู่กับความแตกต่างของพื้นที่ (ที่ราบ ที่ลุ่ม ที่ลาดชัน เนื้อดิน สีดิน) ชนิดพืชที่ปลูกและการใช้ปุ๋ยหรือการใช้ปูนที่ผ่านมา แปลงปลูกพืชที่มีความแตกต่างดังกล่าวจะต้องแบ่งพื้นที่เป็นแปลงย่อยเก็บตัวอย่างแยกกันเป็น แปลงละตัวอย่าง พื้นที่ราบ เช่น นาข้าวขนาดไม่ควรเกิน 50 ไร่ พื้นที่ลาดชัน ขนาดแปลงละ 10-20 ไร่ พืชผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ที่ปลูก
     3. สุ่มมเก็บตัวอย่างดิน กระจ่ายให้ครอบคลุมทั่วแต่ละแปลง ๆ 15.20 จุดก่อนขุดดินจะต้องถางหญ้า กวาดเศษพืช หรือวัสดุที่อยู่ผิวหน้าดินออกเสียก่อน (อย่าแซะหรือปาดหน้าดินออก) แล้วใช้จอบ เสียมหรือพลั่ม ขุดหลุม เป็นรูป V ให้ลึกในแนวดิ่งประมาณ 15 เซนติเมตร หรือในระดับไถพรวน (สำหรับพืชทุกชนิด ยกเว้นสนามหญ้าเป็บจากผิวดินลึก 5 เซนติเมตร และไม้ยืนต้นเก็บจากผิวลึก 30 เซนติเมตร) แล้วแซะเอาดินด้านหนึ่ง เป็นแผ่นหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร จากปากหลุมถึงก้นหลุม ดินที่ได้นี้เป็นดินจาก 1 จุด ทำเช่นเดียวกันนี้จนครบ นำดินทุกจุดใส่รวมกันในถึงพลาสติกหรือภาชนะที่เตรียมไว้
     4. ดินที่เก็บมารวมกันในถึงนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของที่ดินแปลงนั้น เนื่องจากดินมีความชื้นจึงต้องทำให้แห้ง โดยเทดินในแต่ละถังบนแผ่นผ้าพลาสติก หรือผ้ายางแยกกัน ถังละแผ่นเกลี่ยดินผึ่งไว้ในที่ร่มจนแห้งดินที่เป็นก้อนให้ใช้ทุบให้ละเอียดพอประมาณ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันจนทั้ว
     5. ตัวอย่างดินที่เก็บในข้อ 4 อาจมีปริมาณมากแบ่งส่งไปวิเคราะห์เพียงครึ่งกิโลกรัมก็พอ วิธีีการแบ่งเกลี่ยตัวอย่างดินแผ่ให้เป็นรูปวงกลมแล้วแบ่งผ่ากลางออกเป็น 4 ส่วนเท่ากันเก็บดินมาเพียง 1 ส่วนหนักประมาณครึ่งกิโลกรัมใสในถุงพลาสติกที่สะอาดพร้อมด้วยแบบฟอร์มที่บันทึกรายละเอียดของตัวอย่างดินเรียบร้อยแล้วปิดปากถุงให้แน่นส่งไปวิเคราะห์ (กรมพัฒนาที่ดิน,2552)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Download (1)

บทคัดย่อ

การศึกษาการเพิ่มประสิทธภาพการใช้ปุ๋ยสั่งตัดโดยวิธีแบ่งใส่หลายครั้งในนาข้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าว โดยการแบ่งใส่ปุ๋ยสั่งตัดหลายครั้งกับข้าวเหนียว พันธุ์ กข.6 ที่ปลูกในนาน้ำฝน ชุดดินร้อยเอ็ด ในจังหวัดสกลนคร วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล๊อกสมบูรณ์ (Randomize Complete Block Design : RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 ตำรับทดลอง ตำรับทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยสั่งตัด (แบ่งใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง พร้อมปักดำ และ 80 วันหลังปักดำ 45 วัน และ 80 วัน) ผลการทดลอง พบว่า ข้าว กข.6 มีความสูงของข้าวไม่แตกต่างกันการแบ่งใส่ปุ๋ยสั่งตัด 3 ครั้ง มีจำนวนหน่อต่อกอมีมากที่สุด 8.1 หน่อต่อกอ มีจำนวนรวงต่อกอ มากที่สุด 7.6 รวงต่อกอ และให้ผลผลิตสูงที่สุุด 616.4 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งแตกต่างกันทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยข้าวโดยวิธีอื่น ๆ การแบ่งใส่ปุ๋ยสั่งตัด 3 ครั้ง มีต้นทุนการผลิตสูงที่สุด คือ 3,430 บาทต่อไร แต่เนื่องจากมีผลผลิตต่อไรสูงที่สุด คือ 616.4 กิโลกรัม จึงส่งผลให้มีรายได้สุทธิต่อไรสูงงที่สุด คือ 2,999.26 บาท
ผู้วิจัย / คณะวิจัย นุชนภางค์ สุวรรณแทน , ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช , ณัฏฐิดา ตะสายวา
ดำเนินการ 2552
ระยะเวลา 2559-2562
งบประมาณ 2560
พระราชทานพระราชดำหริ 16 มกราคม 2556 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ