ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

นายฉลวย จันทแสง

ภูมิภาค
ภาคตะวันออก
จังหวัด
จันทบุรี
ศูนย์การศึกษาพัฒนาฯ
อ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี
ด้านศูนย์
เกษตรผสมผสาน ,
การผลิตผักผลไม้ปลอดภัย

นายฉลวย จันทแสง
1. ประวัติส่วนตัว
อายุ : 65 ปี (เกิด วันที่ 27 เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2495)
สถานภาพ : สมรสกับนางวรรณา จันทแสง มีบุตร 2 คน
ที่อยู่ปัจจุบัน : 18/2 หมู่ที่ 7 ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
เบอร์โทรศัพท์ : 087-9099730
2. ประวัติการศึกษา
จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3. ประวัติการประกอบอาชีพ
นายฉลวย จันทแสง เริ่มทำสวนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 แต่เดิม เป็นแปลงเกษตรที่ใช้เคมี 100 % โดยมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมาโดยตลอด แม้ราคาปุ๋ยเคมีแพงมากก็ยังซื้อใช้ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก แต่หลังจากหันกลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สารสกัดชีวภาพตั้งแต่ ปี 2545 เป็นต้นมา ซึ่งทุนการผลิตลดลงเรื่อยๆ แม้ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และสารสกัดชีวภาพ จะสูงพอๆกับปุ๋ยเคมี แต่ปัจจุบันต้นทุนกับลดลงประมาณ 50 % ด้านรายได้ของเกษตรกร ซึ่งเดิมที่รายได้จากการขายผลผลิตไม่คุ้มกับการลงทุน เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง แต่ปัจจุบันนายฉลวย จันทแสง กับมีรายได้จากการขายผลผลิตเพิ่มขึ้น มีรายได้เฉลี่ยปีละประมาณ 300,000-400,000 บาท/ปี
4. การถือครองที่ดิน
ถือครองที่ดินจำนวน 1 แปลง พื้นที่ 16 ไร่ (เป็นแปลงทำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัย)
5. แรงงานในครัวเรือน
จำนวน 4 คน


รูปแบบการจัดการพื้นที่
ศูนย์เรียนรู้มีพื้นที่จำนวน 16 ไร่ ได้ถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วนต่างๆ ประกอบด้วย
1. บ้านพักอาศัย
2. โรงเรือน
3. สระน้ำ
4. พื้นที่ปลูกไม้ผลผสม ทุเรียน,มังคุด,ลองกอง
5. พื้นที่ปลูกพริกไทย

ส่วนที่ 3 : กิจกรรมที่ดำเนินการภายในแปลง 
การเกษตรที่ทำเป็นรูปแบบไม้ผลผสมผสาน โดยในแปลงมีการปลูกไม้ผลหลายชนิด และได้มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ไว้ในในแปลงเพื่อลดการใช้สารเคมี ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค
1. ปลูกไม้ผล 
ปลูกไม้ผล เป็นการปลูกแบบไม้ผลผสม มีหลายชนิดอยู่ในแปลงเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ประกอบด้วย
• ทุเรียน
• มังคุด
• ลองกอง
2. ปลูกพริกไทย
ระยะหลังมีการแบ่งเนื้อที่ เพื่อทดลองในการปลูกพริกไทย เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี ที่สามารถสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง โดยมีการใช้ปุ๋ยที่ผลิตเอง ทำให้ประหยัดต้นทุนไปได้มาก 
3. ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่ง พด.ชนิดต่างๆ เช่น พด.2 พด.6 และพด.7 เพื่อนำมาใช้เองภายในศูนย์เรียนรู้ และยังมีการรวมกลุ่มของเกษตรกรรอบๆ โดยได้ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร จำนวน 1 กลุ่ม โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านสองห้อง” โดยการจัดตั้งกลุ่มมีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 48 คน โดยนายฉลวย จันทแสง เป็นประธานกลุ่ม มีการบริหารจัดการกลุ่ม การรวมหุ้นของสมาชิก เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ
บทสรุป
ศูนย์เรียนรู้ด้านผลิตผักและผลไม้ปลอดภัย นายฉลวย จันทแสง เป็นศูนย์เรียนรู้ขนาดกลางที่มีแหล่งความรู้มากมายให้ผู้เข้าชมมาศึกษา ซึ่งลุงฉลวยเป็นเกษตรกรที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน คิดค้นน้ำสกัดชีวภาพจากสมุนไพรต้นมหาปราบ เพื่อรักษาโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน โดยลุงฉลวยประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องการปลูกทุเรียนที่มีชื่อเสียง ได้ส่งทุเรียนจากสวนที่ใช้สารสกัดชีวภาพ เข้าประกวดงานวันเกษตรของดีจังหวัดจันทบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศทุเรียนหมอนทองคุณภาพดีของจังหวัดและรางวัลเกษตรกรดีเด่น “สาขาเกษตรกรทำสวน” จังหวัดจันทบุรี นอกจากนี้ลุงฉลวยยังเป็นผู้ถ่ายทอดที่ดี มีความเป็นกันเองและ มีอัธยาศัยที่ดีต่อผู้ที่เข้ามาศึกษาและชมศูนย์เรียนรู้ มีประสบการณ์ในการทำสวนมาอย่างยาวนาน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ถ่ายทอดความรู้ด้วยการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นกันเอง ทำให้ผู้ที่เข้าชมรู้สึกสดชื่นกับความร่มรื่น ผ่อนคลายจากทั้งบรรยากาศในสวน และจากลุงฉลวยเอง

 

รายละเอียดเพิ่มเติม
ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2562

ข้อมูลที่อยู่

นายฉลวย จันทแสง

ที่อยู่ หมู่ 7 ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

  • โทร: 08 7909 9730
  • Fax: -
  • อีเมล์: -

ผู้ประสานงาน

นายฉลวย จันทแสง

หลักสูตรอบรม

-

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Download