ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

การฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (นบร.) รุ่นที่ 7 ระหว่างวันที่ 31 มกราคม -31 มีนาคม 2561 และใบสมัครเข้ารับการอบรม

โครงการฝึกอบรมนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (นบร.) รุ่นที่ 7 

-------------------------------------

1.  หลักการและเหตุผล

          ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ทรงครองราชย์ พระองค์ทรงมีพระราชดำริเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศไว้อย่างมากมาย ครอบคลุมในทุกสาขาการพัฒนา และวิถีชีวิตของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า  เฉพาะพระราชดำริที่ได้ดำเนินการเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น บัดนี้นับได้มากกว่า 4,000 โครงการ แนวพระราชดำริทั้งหลายนี้ เป็นการตกผลึกแห่งพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่ทรงผสมผสานระหว่างหลักวิชา ประสบการณ์ และบริบทแวดล้อมเกิดเป็นหลักการทรงงาน ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนาด้านต่างๆ ที่วางรากฐานอยู่บนหลัก“ภูมิสังคม” อาทิ ทฤษฎีใหม่ แกล้งดิน ฝายชะลอน้ำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ซึ่งล้วนบังเกิดผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์เป็นที่ยอมรับสรรเสริญและน้อมนำไปปฏิบัติทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          คุณค่าและผลสัมฤทธิ์แห่งการพัฒนาตามแนวพระราชดำริตลอดจนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ได้แปรมาเป็นเจตจำนงของรัฐ ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในเรื่องของการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) จนถึงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) ในปัจจุบัน

          สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการประสานและดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นเวลากว่า 36 ปี มีความเห็นว่าการขับเคลื่อนให้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริและการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์และประโยชน์สุขแก่ประชาชนนั้น เป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของทุกกระทรวง กรม หน่วยงานของรัฐและเอกชนทั้งหลายอยู่แล้ว แต่ยังเป็นไปในลักษณะที่เน้นภารกิจขององค์กรของตนหรือความถนัดของตนเป็นหลัก 

          ดังนั้น หากมีช่องทางให้ผู้บริหารในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เหล่านี้ได้ร่วมรับรู้หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริในด้านต่างๆ หลักการทรงงาน ตลอดจนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปประยุกต์ใช้ในภาพรวมอย่างครบถ้วน  รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่แต่ละหน่วยงานดำเนินการอยู่ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสองประการ ได้แก่ ประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และประโยชน์ต่อการสร้างสมองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้ ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายคือประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ สมดังพระราชดำริที่ทรงพระราชทานในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในการศึกษา วิจัยและพัฒนาที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างมีบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่ประชาชน  ความว่า

          ...กรมกองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนทุกด้าน ได้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรองดองกัน ประสานกัน...  ก็หมายถึงว่าที่สำคัญปลายทางคือ  ประชาชนจะได้รับประโยชน์และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์...

          สำนักงาน กปร. จึงได้ร่วมมือกับสำนักสิริพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดหลักสูตรฝึกอบรมนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ  สำหรับผู้บริหารสังกัดสำนักงาน กปร. และภาคส่วนอื่นๆ ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพวรางกูร รัชกาลที่ 10 ตลอดจนเป็นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์สืบไป

2.  วัตถุประสงค์

          1) เพื่อเทิดทูน และพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์

          2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ตลอดจนสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้นำองค์กรในการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          3) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับลึกซึ้ง

          4) เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายนักบริหารในการขับเคลื่อนและขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

         

3.  กลุ่มเป้าหมาย จำนวนรุ่นละ 50 คน  ดังนี้

          3.1 คุณสมบัติ กำหนดคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาอบรม ดังนี้

                   (1) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารต้น อำนวยการสูง เชี่ยวชาญ อำนวยการต้นหรือชำนาญการพิเศษต้องดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี (กรณีเป็นชำนาญการพิเศษต้องปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะงานอำนวยการหรือหัวหน้ากลุ่มงานหรือข้าราชการประเภทอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่า)

                   (2) ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มีชั้นยศและรับอัตราเงินเดือนตั้งแต่ขั้นพันเอก(พิเศษ) นาวาเอก(พิเศษ) นาวาอากาศเอก(พิเศษ) และพันตำรวจเอก (พิเศษ) ขึ้นไป

                   (3) พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานอื่นของรัฐต้องดำรงตำแหน่งเทียบได้กับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนตามข้อ (1)

                   (4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ หรือองค์กรไม่แสวงกำไร ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งสำนักงาน กปร. เชิญให้เข้าร่วม       

          3.2 บุคคลตามข้อ 3.1 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                   (1) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี

                   (2) ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร

                   (3) มีหน้าที่ความรับผิดชอบหรือประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริหรือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                   (4) อายุไม่เกิน 57 ปี 

          3.3 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 50 คน จากสำนักงาน กปร. ส่วนราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชน ที่มีบทบาทเกี่ยวกับข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากราชดำริการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือเป็นตัวอย่างความสำเร็จในการน้อมนำหลักการทรงงาน การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หรือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ

          3.4 การคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม  สำนักงาน กปร. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้ได้ผู้มีคุณสมบัติ มีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ตามจำนวนที่กำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของการฝึกอบรมและความเป็นเครือข่ายความร่วมมือ สำนักงาน กปร. อาจพิจารณายกเว้นให้ผู้ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากที่กำหนดเข้ารับการอบรมได้

4.  วิธีการ สถานที่และระยะเวลาฝึกอบรม

          1) วิธีการฝึกอบรม ประกอบด้วย การบรรยาย การอภิปราย การสัมมนา การปฏิบัติจริงในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ตกลงร่วมกันของรุ่น และมาดำเนินการนำมาเสนอหลังจากสำเร็จการศึกษาอบรม การศึกษาดูงานในประเทศและการศึกษาดูงานต่างประเทศ

          2) สถานที่ฝึกอบรม

                   2.1 หลักสูตรที่เป็นการบรรยาย 12 วัน ณ ห้องประชุม 101 ชั้น 1 สำนักงาน กปร.

                   2.2 สถานที่ศึกษาดูงาน

                             - ในประเทศ  3 ครั้ง รวม 6 วัน เกี่ยวกับตัวอย่างความสำเร็จของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หรือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                           - ต่างประเทศ 1 ครั้ง 5 วัน เป็นการศึกษาดูงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการน้ำ , สิ่งแวดล้อม , ป่าไม้ , ชุมชน ฯลฯ 

          3) ระยะเวลาฝึกอบรม  ระหว่างวันที่ 31 มกราคม  – 31 มีนาคม 2561 (โดยปกติสัปดาห์ละ 2 วัน (ศุกร์และเสาร์) ยกเว้นกรณีศึกษาดูงาน) รวม 23 วัน เป็นการบรรยายในชั้นเรียน 12 วัน ศึกษาดูงานในประเทศ 6 วัน ศึกษาดูงานต่างประเทศ 5 วัน

          ทั้งนี้ กำหนดการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้บ้างตามความเหมาะสม

5.  งบประมาณ

          ใช้งบประมาณของสำนักงาน กปร. ปี 2561 ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือ จากที่กำหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัดอาทิ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเพื่อเข้ารับการอบรม ค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปต่างประเทศ เป็นต้น

6.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1) สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการเทิดทูน พิทักษ์รักษาในฐานะสถาบันหลักที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง

          2) ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นในการบริหารจัดการ
เชิงยุทธศาสตร์ สำหรับใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          3) ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หลักการทรงงาน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับลึกซึ้งจนพร้อมที่จะนำไปเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องนี้ จนสามารถเป็นตัวแทนของหน่วยงานในการเผยแพร่ความรู้ ประยุกต์ใช้และขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริได้เป็นอย่างดี

          4) มีการสร้างและพัฒนาเครือข่ายของผู้บริหารในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มแข็ง

          5) มีผลผลิตที่เกิดจากการพัฒนาองค์ความรู้ในการฝึกอบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน อันเป็นการแสดงถึงศักยภาพในการแปลงผลจากการเข้ารับการอบรมไปสู่ภาคปฏิบัติ เช่น รายงานผลการศึกษาอบรม  เป็นต้น

7.  การประเมินผล

          โครงการกำหนดเกณฑ์ประเมินความสำเร็จของหลักสูตร ดังนี้

                   1) มีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมตามเป้าหมายที่กำหนด (ไม่น้อยกว่า 50 คน)

                   2) ผู้สำเร็จการอบรมเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ของเวลาทั้งหมด

                   3) ผู้สำเร็จการอบรมได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 1 เมื่อเทียบกับก่อนการอบรม    

                   4) ผู้สำเร็จการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมระดับมากขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และระดับปานกลางขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

                   5) ผู้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่านการทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้วยคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มการทดสอบ

                   6) การติดตามผลภายหลังการอบรม โดยสอบถามกิจกรรมที่ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ ความเข้าใจ เครือข่ายที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ ในลักษณะในลักษณะต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม

8.เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม

          1) ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีเวลาเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ของเวลาทั้งหมด (ไม่น้อยกว่า 19 วัน) จึงจะถือว่าสำเร็จการศึกษา

          2) ผู้ที่จะมีสิทธิ์ไปศึกษาดูงานต่างประเทศต้องมีเวลาเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนวันที่มีการฝึกอบรมก่อนหน้าวันที่จะไปศึกษาดูงาน

          3) ส่งรายงานการศึกษาของกลุ่ม ภายในเวลาที่ผู้บริหารหลักสูตรกำหนด

9ผู้เสนอโครงการ

          กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อขับเคลื่อนแนวพระราชดำริ สำนักงาน กปร.

 

กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตร “นักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ” (นบร.) รุ่นที่ ๗

ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑

ณ ห้องประชุม ๑๐๑ สำนักงาน กปร. ถนนอรุณอมรินทร์ กรุงเทพมหานคร

 

วัน เดือน ปี

๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.

๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

สัปดาห์ที่ ๑

 

พุธที่

๓๑ มกราคม

๒๕๖๑

 - ลงทะเบียน (๐๘.๓๐น.)
   แนะนำหลักสูตร
 โดย อ.ดร.วิชัย รูปขำดี
 การสอบวัดความรู้
พิธีเปิดการฝึกอบรม และบรรยายพิเศษ “ประสบการณ์การสนองพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน”
     
 
 
 

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 

วิทยากร อ.สุพัฒน์ สังข์สายศิริกุล

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 พฤหัสบดีที่

๑ – ๒  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง

สัปดาห์ที่ ๒ศุกร์ที่

๙ กุมภาพันธ์

๒๕๖๑

การบริหารโครงการ

อันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุข

ของประชาชน

วิทยากร เลขาธิการ กปร.

 

การสร้างสังคมไทย

ให้เข้มแข็งยั่งยืน

บนความพอเพียง

วิทยากร  นพ.ประเวศ วะสี

การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อความพอเพียง

วิทยากร  ผศ.ดร.ไพโรจน์ ภัทรนรากุล

คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์

  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

เสาร์ที่

๑๐ กุมภาพันธ์

๒๕๖๑

ทฤษฎีใหม่แบบครบวงจร : จากการผลิตสู่การตลาด

(ทฤษฎีใหม่ : การจัดการตลาดเพื่อชุมชน)

วิทยากร นายบัญญัติ คำบุญเหลือ

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)

การพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของทฤษฎีการพัฒนาระดับสากล

วิทยากร  อ.ดร.วิชัย รูปขำดี 

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สัปดาห์ที่ ๓

ศุกร์ที่

๑๖ กุมภาพันธ์

๒๕๖๑

การสร้างสังคมไทยสีเขียวตามแนวพระราชดำริ

และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วิทยากร ศ.ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

วิทยากร นายชาติชาย เหลืองเจริญ

เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง

เสาร์ที่

๑๗ กุมภาพันธ์  

๒๕๖๑

การกำหนดตัวชี้วัดและผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนา

และการประเมินผลการพัฒนา

วิทยากร ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม

คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

การพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในมุมมองของภาคเอกชน

วิทยากร  นายอภัยชนม์  วัชรสินธุ์

รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

 

สัปดาห์ที่ ๔

ศุกร์ที่

๒๓ กุมภาพันธ์

๒๕๖๑

 

โครงการหลวง

สืบสานพระราชดำริ
วิทยากร 

มูลนิธิโครงการหลวง

 

การเขียนโครงการ

และการจัดทำรายงาน

วิทยากร  

อ.ดร.วิชัย รูปขำดี 

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

การนำเสนอข้อเสนอโครงการ

เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนและโครงการพัฒนา เมื่อลงพื้นที่ปฏิบัติจริง

วิทยากร  

อ.ดร.วิชัย รูปขำดี 

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

 

เสาร์ที่

๒๔ กุมภาพันธ์

๒๕๖๑

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทรรศนะโลก

และการขับเคลื่อนในภาคเอกชนและประชาชน

วิทยากร  ดร.พิพัฒน์  ยอดพฤติการณ์

 

 

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

กับการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ

วิทยากร รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูรฯสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

สัปดาห์ที่ ๕

ศุกร์ที่

๒ มีนาคม

๒๕๖๑

ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ  

ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

เสาร์ที่

๓ มีนาคม  

๒๕๖๑

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ

วิทยากร นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ

รองเลขาธิการ สศช.

แนวโน้มสถานการณ์การเมืองโลกและของไทย

กับการขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อ.ดร.วิชัย รูปขำดี 

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สัปดาห์ที่ ๖

 พุธที่ ๗ –
ศุกร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๑

การจัดทำแผนโครงการและปฏิบัติ ณ โครงการที่ตกลงร่วมกันของรุ่น ณ ต่างจังหวัด

 

สัปดาห์ที่ ๗

ศุกร์ที่

๑๖ มีนาคม

๒๕๖๑

การตลาดประชารัฐกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วิทยากร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

หลักการทรงงานและการน้อมนำมาปฏิบัติ

วิทยากร  ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

 

เสาร์ที่

๑๗ มีนาคม

๒๕๖๑

การเสวนาการร่วมมือแบบบูรณาการ เพื่อผลสัมฤทธิ์

ของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ

วิทยากร 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ / กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ/

กระทรวงมหาดไทย / เลขาธิการ กปร.

อ.ดร.วิชัย รูปขำดี  ผู้ดำเนินการเสวนา

สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย

วิทยากร  ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ

สัปดาห์ที่ ๘

วันที่ ๑๙ – ๒๓มีนาคม ๒๔๖๑

การศึกษาดูงานต่างประเทศ (จำนวน ๕ วัน)

 

สัปดาห์ที่ ๙

ศุกร์ที่

๓๐ มีนาคม

๒๕๖๑

ภูมิคุ้มกันประเทศไทย

วิทยากร ศ.เกียรติคุณ น.พ.เกษม  วัฒนชัย

องคมนตรี

ธรรมะสำหรับผู้บริหาร

เพื่อสร้างสมดุลในทุกมิติ

วิทยากร

พระเทพปฏิภาณกวี

การเผยแพร่และขยายผลการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในประชาคมอาเซียนและนานาชาติ

วิทยากร อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

เสาร์ที่

๓๑ มีนาคม  

๒๕๖๑

สัมมนา  การขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผ่านกลไกระบบบริหารราชการ 

วิทยากร อ.ดร.วิชัย รูปขำดี 

-ประเมินผลการฝึกอบรม
-การสอบวัดความรู้
-ปิดหลักสูตร

 

-------------------------------