หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการประตูระบายน้ำคลองรัตภูมิอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดสงขลา

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :
   
ที่ตั้งของโครงการ :

หมู่ที่ 11 ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

   
วัตถุประสงค์โครงการ :
-เพื่อจัดหาน้ำต้นทุนเพิ่มเติมให้กับโครงการชลประทานขนาดเล็ก จำนวน 9 โครงการ ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วพื้นที่การเกษตรประมาณ 7,500 ไร่ ในเขตตำบลรัตภูมิ และตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรอย่างพอเพียง
-เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรในเขตตำบลบางเหรียง จำนวน 12 หมู่บ้าน และตำบลรัตภูมิ จำนวน 10 หมู่บ้าน คิดเป็นประชากรประมาณ 8,400 คน ลักษณะการใช้ประโยชน์ แยกเป็น 2 ลักษณะคือ
          ก.ราษฎรสามารถสูบน้ำจากคลองธรรมชาติสายต่างๆ ขึ้นมาใช้ได้โดยตรง
          ข.เพิ่มระดับน้ำใต้ดินทำให้ราษฎรสามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ตลอดปี  
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : โครงการชลประทานสงขลา , สำนักงาน กปร.
   

ลักษณะโครงการ :  

ผู้ได้รับประโยชน์ : ประชาชน ต.บางเหรียง 12 หมู่บ้าน , ต.รัตภูมิ 10 หมู่บ้าน และประชาชนโดยรอบคลองรัตภูมิ

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองรัตภูมิ จำนวน 3 ช่อง พร้อมทางระบายน้ำ และคลองส่งน้ำสายที่ 1 (ฝั่งขวา) เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูก จำนวน 3,000 ไร่ ในเขตตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง และก่อสร้างคลองส่งน้ำสายที่ 2 (ฝั่งซ้าย) พร้อมอาคารประกอบ เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูก จำนวน 4,500 ไร่ ในเขตตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการเมื่อปี 2548 และแล้วเสร็จในปี 2549
 
ความสำเร็จของโครงการ :
          1.สามารถจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเติมให้กับโครงการชลประทานขนาดเล็กทั้ง 9 โครงการ ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 7,500 ไร่ มีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตรด้านต่างๆ โดยราษฎรสามารถสูบน้ำจากคลองขึ้นมาใช้ ได้โดยตรง 
          2.ราษฎรจำนวน 8,400 คน จาก 22 หมู่บ้าน ในเขตตำบลบางเหรียง และตำบลรัตภูมิ มีน้ำอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรได้ผลผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ราษฎรสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริม 
          3.ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความชุ่มชื้นในดินและช่วยเพิ่มระดับน้ำใต้ดิน  ทำให้ราษฎรสามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ตลอดปี
 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.