หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไฟอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดพะเยา

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำร่องส้าน และทรงเยี่ยมราษฎร ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ได้ทรงมี พระราชดำริ เกี่ยวกับงานชลประทาน ดังต่อไปนี้ “ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และฝายทดน้ำตามลำห้วยสาขาของลำน้ำแม่ลาว เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรในหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้งอีกทั้งให้มีน้ำไว้เพื่อการอุปโภค-บริโภคตลอดไปด้วย ”

ที่ตั้งของโครงการ :

บ้านทุ่งกระเทียม (บ้านทุ่งติ้วเดิม) หมู่ 11(หมู่ที่ 6 เดิม) ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา

   
วัตถุประสงค์โครงการ :

จุดประสงค์ที่สร้างขึ้น เพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูกทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง และฤดูแล้ง และเพื่อการอุปโภค บริโภค ของราษฎรในเขตพื้นที่ ที่ใช้น้ำจากลำห้วยไฟ

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กรมชลประทาน  โดยโครงการชลประทานพะเยา สำนักงานชลประทานที่ 2 อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
 
ลักษณะโครงการ :

-ขนาดของทำนบดิน  สูง 14.00  ม. ยาว 158.00 ม. กว้าง 6.00 ม.
-ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 700,000 ลบ.ม.
-ปริมาณน้ำใช้งาน 650,000 ลบ.ม.
-ทางระบายน้ำล้นแบบรางเท  รางเทกว้าง 6.00 ม. 
-ท่อส่งน้ำฝั่งซ้าย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 ม.


ผู้ได้รับประโยชน์ : ชาวบ้านทุ่งกระเทียมและประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
          บริเวณนี้เดิมเป็นฝายชื่อ  “ฝายสล่ากู้”  และทางด้านท้ายน้ำลงไปยังมีฝายเล็กๆอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นกรมชลประทานได้ทำการศึกษาแล้วเห็นควรก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไฟขึ้น เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และในคราวที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมอ่างเก็บน้ำร่องส้าน นายสนิท คำงาม ผญบ.ทุ่งติ้วในขณะนั้นได้ถวายฏีกา เพื่อร้องขอให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไฟขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และการอุโภค บริโภค ทั้งยังสามารถลดปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลากลงอีกด้วยปัจจุบันมีกลุ่มผู้ใช้น้ำ 18กลุ่มพื้นฐาน มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 401 คน มีพื้นที่ประมาณ 2,440  ไร่
 
ความสำเร็จของโครงการ :
          สมาชิกในกลุ่มมีการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน โดยมีการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ในการรับผิดชอบดูแลคลองส่งน้ำของกลุ่ม การจัดตั้งกองทุนเพื่อที่จะบริหารและ พัฒนากลุ่มฯ ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และมีการจัดตั้งร้านค้าในรูปแบบของสหกรณ์กลุ่ม โดยใช้เงินกองทุน ของกลุ่ม มีการคืนทุนให้แก่สมาชิกในรูปแบบของกำไร ในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ทางคณะกรรมการพร้อมด้วยสมาชิก จะร่วมประชุมและตกลงวางแผนการปลูกพืช และการส่งน้ำกันก่อนฤดูการเพาะปลูกทุกครั้ง เพื่อให้การเพาะปลูกสัมพันธ์กับปริมาณน้ำที่มี ทำให้การใช้น้ำที่มีปริมาณจำกัดได้ประโยชน์ มากที่สุดและทั่วถึง สำหรับน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค ทางกลุ่มจะชักน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และจากอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กไปเก็บไว้ในสระเก็บน้ำ ทำให้ในหมู่บ้านมีน้ำใช้ตลอดปี ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
   


ที่มาของข้อมูล :
สำนักงาน กปร. หนังสืออันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2550 :79-85)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.