หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเชียงใหม่

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2535 และ 21 มีนาคม 2536 ซึ่งสามารถ สรุปได้ดังนี้
        ห้พิจารณาดำเนินการพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่กวงโดยให้แบ่งพื้นที่ดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
(1)ระยะที่ 1 พื้นที่ดำเนินการมีขอบเขตทางด้านทิศเหนือของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นไปจนจรดขอบอ่างเก็บน้ำแม่กวง รวมเนื้อที่ประมาณ 30,000 ไร่
(2)ระยะที่ 2 พื้นที่ดำเนินการมีขอบเขตต่อจากระยะที่ 1 ขึ้นไปทางทิศเหนือจนจรดเขตอำเภอแม่แตงและอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ รวมเนื้อที่อีกประมาณ 70,000 ไร่
(3)ระยะที่ 3 ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่เหลือในเขตลุ่มน้ำแม่กวงมีพื้นที่ดำเนินโครงการอีกประมาณ 245,000 ไร่ ต่อจากขอบเขตระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ไปทางด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ดจนจรดพื้นที่อำเภอสันกำแพง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
   
ที่ตั้งของโครงการ : อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

 

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :        
        โครงการฯ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงานกลางในการบริหารและประสานงานโครงการฯ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรการดำเนินงานโครงการฯ ที่ตั้งขึ้นคือ คณะกรรมการบริหารโครงการฯ โดยมี ฯพณฯ นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา องคมนตรี เป็นประธาน รองเลขาธิการ กปร. เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีอธิบดีจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการฯ ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
        คณะอนุกรรมการอำนวยโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธาน และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
        คณะทำงานดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 1 เป็นประธาน และหัวหน้าศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นคณะทำงานและเลขานุการ
        สำนักงานโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหัวหน้าศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นผู้อำนวยการโครงการฯ
 
ลักษณะโครงการ :  

ผู้ได้รับประโยชน์ :  

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

แผนการพัฒนาพื้นที่โครงการฯ ประกอบด้วยแผนงานหลักดังนี้

  • แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ ดำเนินการจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค เพื่อการเกษตรให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่โครงการ ตลอดจนการจัดหาน้ำเพื่อสนับสนุนงานพัฒนาป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
  • แผนงานพัฒนาป่าไม้ ดำเนินการพัฒนาป้องกันรักษา และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธาร สภาพแวดล้อม
  • แผนงานพัฒนาที่ดิน ดำเนินการให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกต้องตามศักยภาพของพื้นที่ รวมตลอดจนการบุกเบิกและพัฒนาพื้นที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร
  • แผนงานพัฒนาอาชีพ ดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพทั้งในและนอกการเกษตรให้แก่ราษฎร
  • แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น
  • แผนงานพัฒนาสภาพแวดล้อม ดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อม โดยเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน และการลดละการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง
  • แผนพัฒนาบุคลากร ดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรทั้งในภาครัฐและราษฎรที่ช่วยปฏิบัติงานในโครงการ
  • แผนงานติดตามประเมินผลโครงการฯ ดำเนินการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการเป็นระยะ ๆ

    ผลการดำเนินงาน
             จากการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ปี พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน ทั้งแผนแม่บทระยะที่ 1 (พ.ศ. 2536 – 2537) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2537 – 2538) และระยะที่ 3 (พ.ศ. 2539 – 2544) จะเห็นได้ว่าสามารถฟื้นฟูป่าไม้ที่ถูกทำลายให้มีทรัพยากรป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและสามารถป้องกันรักษาป่าไม้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และยังสามารถจัดการหาพื้นที่ให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในป่าให้เหมาะสม ราษฎรในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังให้ความร่วมมือร่วมใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งช่วยกันดูแลควบคุมไฟป่า ร่วมกันปลูกเสริมป่าให้มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ เพื่อให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    แนวทางการดำเนินงานต่อไป
            การดำเนินงานของโครงการฯ ที่ผ่านมา นับได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะในด้านการป้องกันรักษาป่าไม้ แต่ในด้านของอาชีพที่เข้าไปส่งเสริมยังต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นการพัฒนาให้หมู่บ้านสามารถอยู่ร่วมกับป่าไม้ธรรมชาติได้ โดยไม่บุกรุกทำลายป่า หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการได้เห็นความสำคัญของโครงการฯ และเห็นควรให้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงฯ เป็นหนึ่งในศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนแม่บทของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ รวมทั้งการที่จะจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงฯ ต่อไป

 
ความสำเร็จของโครงการ :

นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เปิดเผยว่า แนวพระราชดำริที่ได้พระราชทาน ในการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงคือ พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมจัดให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการอยู่ก่อนแล้ว ได้ทำกินด้านการเกษตรเพื่อไม่ให้มีการบุกรุกป่าเพิ่มเติม พร้อมปลูกป่าในพื้นที่ที่ถูกทำลาย ฟื้นฟูสภาพแหล่งต้นน้ำลำธาร พิจารณาดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ที่สมบูรณ์ และหามาตรการป้องกันรักษาป่าที่เหมาะสม พร้อมสร้างฝายต้นน้ำลำธารให้กระจายทั่วพื้นที่โครงการ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่ป่า และจัดหาน้ำสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของโครงการตามความเหมาะสม

เลขาธิการ กปร. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการฯ นับได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะในด้านการป้องกันรักษาป่าไม้ โดยเน้นการส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรในที่นั้นเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นการพัฒนาให้ราษฎรอยู่ร่วมกับป่าธรรมชาติได้ โดยไม่บุกรุกทำลายป่า ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรักและหวงแหนพื้นที่ของตนเองอีกด้วย ทั้งนี้มีศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นแม่แบบและให้การสนับสนุนการดำเนินงานจนกระทั่งประสพผลสำเร็จ

“โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ทรัพยากรป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น จนสามารถป้องกันรักษาป่าได้ร้อยละ 100 ทั้งนี้ราษฎรในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมือร่วมใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้รวมทั้งช่วยกันดูแลควบคุมไฟป่าเป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากทรัพยากรธรรมชาติจะกลับมาสมบูรณ์ดังเดิมแล้ว สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรป่าขุนแม่กวงยังดีขึ้นอีกด้วย” นายเฉลิมเกียรติ กล่าว


 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.