หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการไม้ดอกเมืองหนาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดยะลา

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
   
แนวพระราชดำริ :
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงานทดลองปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส และได้พระราชทานพระราชดำริ เพิ่มเติมให้ดำเนินการทดลองปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ในบริเวณพื้นที่สูงในภาคใต้ด้วย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวจะมีอากาศเย็น และเหมาะสมกับการปลูกไม้ดอกฯ ผลผลิตที่ได้น่าจะมีคุณภาพดีทัดเทียมและแข่งขันกับต่างประเทศได้ "ควรจะมีการทดลองปลูกไม้ดอกในระยะแรก โดยทดลองดูว่าพันธุ์ไม้ดอกอะไรปลูกได้บ้าง เมื่อได้ผลแล้วจึงนำไปแนะนำให้ชาวบ้านปลูกต่อไป"
   
ที่ตั้งของโครงการ : บริเวณหมู่บ้านปิยะมิตร 2 ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1.  เพื่อทดสอบและพัฒนาการปลูกไม้ดอกเมืองหนาว
2.  เพื่อสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพของเกษตรกร
3.เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : จังหวัดยะลา , ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
 
ลักษณะโครงการ :

พื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 60 ไร่ แบ่งเป็น
1.พื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา ประมาณ 20 ไร่
2.พื้นที่ขยายผลเพื่อการท่องเที่ยว ประมาณ 20 ไร่
3.พื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี


ผู้ได้รับประโยชน์ :  

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

1. การทดลองวิจัยและการปรับภูมิทัศน์
1.1 การทดลองวิจัย
ระยะที่ 1  ปี 2538 – 2547 กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการเตรียมพื้นที่ และนำพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาวจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เพื่อทดสอบโดยแบ่งเป็นไม้ดอกปลูกกลางแจ้ง จำนวน 17 ชนิด ได้แก่ แกลดิโอลัส บานไม่รู้โรย ซัลเวีย รักเร่ ซ่อนกลิ่น สร้อยไก่ กระเจียว มากาเร็ต กระดาษ ฮอลลีฮ๊อค ดาวเรือง ผีเสื้อ พิค๊อก สร้อยทอง แอสเตอร์จีน เสี้ยนฝรั่ง และดอกกระดาษ ไม้ดอกในโรงเรือน จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ เบญจมาศ กุหลาบ คาร์เนชั่น ลิลลี่ เยอร์บีร่า และหน้าวัว พบว่าไม้ดอกทุกชนิดมีคุณภาพดอกสูงกว่าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุล ทองฯ โดยเฉพาะเบญจมาศและแกลดิโอลัส มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์
ระยะที่ 2  ปี 2548 – ปัจจุบัน ได้ทำการทดลองปลูกหน้าวัวลูกผสมสายพันธุ์ กรมวิชาการเกษตร พบว่าหน้าวัวลูกผสมมีผลผลิตไม่แตกต่างจากการทดลองปลูกในภาคเหนือ ขณะสีของดอกสวยกว่ามีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม และมีการแตกกอ ราษฎรสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้
1.2 การปรับปรุงภูมิทัศน์
ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์  โดยดำเนินการปรับระดับพื้นที่และปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เทียนฝรั่ง ซัลเวีย คริสต์มาส และหญ้านวลน้อย เพื่อให้เกิดความสวยงามและเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยเฉลี่ยมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมประมาณเดือนละ 800 คน

2. การขยายผลสู่เกษตรกร
2.1 การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลาได้ดำเนินการวางแผนการผลิต ติดตาม แนะนำให้ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกเมืองหนาวแก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ และเกษตรกรรายอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอได้แนะนำพันธุ์เบญจมาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในพื้นที่ให้แก่เกษตรกรจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ ลิมบอนเนต(ดอกเดี่ยวสีขาว),เรโชมี(ดอกเดี่ยวสีม่วง), จากั้วเรด(ดอกช่อมสีแดง) และชมพูหวาน(ดอกช่อสีชมพู) ซึ่งทั้ง 4 สายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีในพื้นที่ แต่ไม้ดอกชนิดอื่นๆ ยังอยู่ระหว่างการทดสอบสายพันธุ์ให้มีความทนทาน
- สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ร่วมสำนักงานเกษตรอำเภอเบตง ได้จัดตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร สนับสนุนพันธุ์ แนะนำการปลูกเบญจมาศ การใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา ฯลฯ ให้แก่กลุ่มเกษตรกรประชาชนที่สนใจและนักท่องเที่ยว

3. การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
สมาชิกผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย จำนวน  28 ครัวเรือน สมาชิก 54 คน  สมาชิกได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มไม้ดอกเมืองหนาวเพื่อการค้า

 
ความสำเร็จของโครงการ :
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.