หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ


   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

เมื่อ 19 มิถุนายน 2540 ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
-ให้การอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าโดยใช้รูปแบบในการดำเนินการของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดราชบุรี เมื่อ 29 พ.ค. 2541
-ให้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกโดยปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้มาก
-ให้ปลูกสับปะรดที่คุณภาพไม่จำเป็นต้องดีนัก สำหรับเป็นอาหารช้างโดยที่ลูกค้าของสับปะรดคือช้าง และเพื่อให้คนและช้างสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขให้ชาวบ้านมาช่วยดูแลพืชอาหารช้าง
-ให้สำรวจตรวจสอบพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะทำ Check dam ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมก็ดำเนินการได้เลย
-ให้พัฒนาที่ดินโดยใช้หญ้าแฝก เพราะมีระบบรากยาวช่วยน้ำสร้างความชุ่มชื้นได้มากและจะพัฒนาดินด้วย
-ถ้ามีฝนแล้งหรือเกิดน้ำท่วมก็พิจารณาหาแหล่งน้ำสัก 1 จุด ซึ่งจะใช้น้ำมาเติม Check dam ควรมีการสร้างฝายหรือเขื่อนเก็บกักน้ำ รวมถึงการขุดลอกหรือหาแนวทางแก้ไขโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปี เพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรและการใช้สอยของราษฎรในบริเวณลุ่มน้ำดังกล่าว
เมื่อ 8 มิ.ย.2541
-ควรมีการปลูกพืชเสริมเพื่อเป็นอาหารของสัตว์ป่า เช่น การปลูกอ้อย สับปะรด หรือพืชอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยทดลองนำพันธุ์พืชขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปโปรยในกลางป่าบริเวณต่าง ๆ เพื่อให้เติบโตและเป็นอาหารของสัตว์ป่าซึ่งอาจเป็นทฤษฎีใหม่อีกแบบ
-ควรพิจารณาจัดหาแหล่งน้ำให้แก่พื้นที่โครงการและนำมาใช้ในการเกษตร ในพื้นที่ที่เหมาะสม 
เมื่อ 5 ก.ค.2542
-ช้างควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารให้เพียงพอ การปฏิบัติคือให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย
-กรณีช้างออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างบ้าง 
เมื่อ 18 ก.ค.2542
-เมื่อช้างมีอาหารรับประทาน ก็จะไม่มารบกวนชาวบ้าน และให้นำเมล็ดพันธุ์พืชไปโปรยเพิ่มเติมอีก เพื่อจะได้เป็นอาหารของช้างในปีต่อไป
เมื่อ 12 ส.ค.2542
-การปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารช้างตามที่ได้ดำเนินการปลูกตามรูปถ่ายที่ส่งให้ทอดพระเนตรนั้น ไม่ค่อยได้ประโยชน์เพราะปลูกไม่ลึกเข้าไปในป่า ควรปลูกให้ลึกเข้าไปในป่ามากๆ และปลูกให้กระจายอย่าปลูกเพียงแห่งเดียวให้ปลูกหลายๆ แห่ง การโปรยหว่านทางอากาศก็เช่นเดียวกันให้โปรยเข้าไปลึกๆ และจัดชุดสำรวจด้วยว่าได้ผลหรือไม่ ต้องการให้ช้างหากินอยู่ในป่าลึกๆ ก็ควรทำในป่าลึกๆ เข้าไป
-การจัดทำ Check dam ก็ควรทำในป่าลึกๆ เข้าไป
-ทั้งการทำ Check dam และการปลูกพืชให้ช้างไม่ควรใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ให้ทหารที่มีหน้าที่ในการลาดตระเวนอยู่แล้ว นำพืชหรือเมล็ดพันธุ์พืชติดตัวไปด้วย และทำการปลูกในขณะลาดตระเวนเข้าไปในป่าลึกๆ 

   
ที่ตั้งของโครงการ : ตอนเหนือของบ้านรวมไทย ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
   
วัตถุประสงค์โครงการ :
1.เพื่อสนองพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในอันที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ให้สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยอย่างยั่งยืนสืบไป
2.เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการฟื้นฟูบูรณะให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งควบคุมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่โครงการแบบ “พออยู่ พอกิน“ เพื่อการ “พึ่งตนเอง” ขณะเดียวกับที่ปูพื้นฐานไว้สำหรับความ “อยู่ดี กินดี“ ตามแนวพระราชดำริ ได้อย่างยั่งยืน
3.เพื่อให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความสมดุลทั้งในด้านระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อม และการพัฒนา โดยใช้การร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและดูแลรักษาสภาวะแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ราษฎรมีความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรธุรกิจแบบ “บูรณาการ”
4.เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างคนและช้างอย่างยั่งยืนตลอดไป
5.เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการศึกษาทดลองตามแนวพระราชดำริ ที่ประสบผลสำเร็จ มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการต่อไป
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กองทัพภาคที่ 1 , สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรี , อุทยานแห่งชาติป่ากุยบุรี , จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
 
ลักษณะโครงการ :

 โครงการเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ประมาณ 18,675 ไร่


ผู้ได้รับประโยชน์ : 1.ทำให้พื้นที่ป่าได้รับการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่คนและสัตว์ป่าทั้งทางตรงและทางอ้อม
2.มีพื้นที่ป่าสำหรับสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น มีแหล่งน้ำและอาหารเพียงพอสำหรับดำรงชีวิตอย่างปกติสุข
3.เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ให้เป็นป่าต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งซับน้ำธรรมชาติก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ต่อพื้นที่
4.เสริมสร้างทัศนคติและความสำนึกรับผิดชอบที่ดีงามต่อประเทศชาติให้กับประชาชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า
5.ได้รูปแบบการดำเนินงานในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่ารวมทั้งการอนุรักษ์สัตว์ป่าเพื่อนำไปดำเนินการในพื้นที่อื่นที่มีสภาพคล้ายคลึงกัน
6.ราษฎรที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่โครงการมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี และพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นจำนวน 3 คณะ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการดังกล่าว ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และสามารถสนองพระราชดำริได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1.คณะทำงานด้านการประสานงานโครงการ ดำเนินการในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1ประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2แก้ไขปัญหาและป้องกันการบุกรุกที่ดินทำกิน รวมทั้งแก้ไขปัญหาเรื่องการเช่าที่ดินของราษฎรในพื้นที่โครงการ
1.3ประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการและบุคคลทั่วไป ได้รับทราบวัตถุประสงค์และประโยชน์ของโครงการ โดยจัดทำเป็นสื่อทาง สถานีโทรทัศน์ ทุกช่อง วิทยุ แผ่นพับ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ บทความต่าง ๆ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ตลอดจนเผยแพร่ทางเว็บไซต์

2.คณะทำงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินการในด้าน
2.1พิจารณาปลูกป่าในบริเวณพื้นที่โครงการในรูปแบบต่างๆ ตามแนวพระราชดำริ
2.2ดำเนินงานอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริในพื้นที่โครงการ
2.3ประสานงานในเรื่องของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และแผนปฏิบัติงานที่ได้กำหนดไว้

3.คณะทำงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
3.1พิจารณาส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรให้มีการประกอบอาชีพและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามแนวพระราชดำริ
3.2ประสานการดำเนินงานในด้านการพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และแผนงานโครงการที่กำหนดไว้
3.3ปฏิบัติงานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรตามที่อนุกรรมการดำเนินงานโครงการฯ มอบหมาย

 
ความสำเร็จของโครงการ :
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักงาน กปร.

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.