หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยบ่อ
จังหวัดเชียงราย

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ
   
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ไปทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณดอยบ่อ ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีนายนรินทร์ พานิชกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, พลโท พิชาญเมธ ม่วงมณี แม่ทัพภาคที่ 3 และเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เฝ้าฯ รับเสด็จ ทรงทราบว่าสภาพพื้นที่ บริเวณขุน ห้วยแม่สักกลองแวกซ้าย ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ 2,000 ไร่ มีแหล่งน้ำ อุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยสักกลองที่เป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำกก และเป็นแหล่ง กำเนิดลำน้ำสำคัญๆ ในอดีตชาวเขาเผ่ามูเซอและอาข่า เข้าบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อใช้เป็นพื้นที่ ปลูกฝิ่นและข้าวไร่ รวมทั้งตัดไม้เศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน จำปา เพื่อนำไปใช้ในการสร้างบ้าน ปัจจุบันสภาพ ป่าไม้ถูกทำลายจำนวนมาก แต่บริเวณสันเขาบางส่วน ยังคงความอุดมสมบูรณ์
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ปัญหาและให้ความช่วยเหลือราษฎร โดยมุ่งสร้างความเข้าใจและให้ตระหนักถึงความ สำคัญการดำรงชีวิตร่วมกับธรรมชาติเพื่อหยุดยั้งการทำลายป่า โดยให้ดำเนินการจัดระเบียบชุมชนราษฎร ชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่บริเวณในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้าน จำนวน 91 ครอบครัว ให้ทำงานในโครงการ โดยจัดจ้างแรงงานและส่งเสริมฝึกอบรมอาชีพด้านศิลปหัตถกรรม รวมทั้งสนับสนุนให้ราษฎรปลูกพืช เศรษฐกิจ อาทิ ฟัก เกาลัด นะคะลิเบียนัท และกาแฟพันธุ์อะราบิกา เพื่อเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง นอกจากนั้นยังให้ความรู้ในการทำเกษตรบนพื้นที่สูงอย่างถูกวิธี โดยไม่ทำลายระบบนิเวศตามธรรมชาติ อาทิ การปลูกพืชแบบขั้นบันไดควบคู่กับการปลูกป่าซึ่งจะช่วยรักษาแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารและสัตว์ป่า โอกาสนี้ได้มีพระราชเสาวนีย์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มดำเนินการให้ความรู้แก่ราษฎรอย่างใกล้ชิดด้วย การอธิบายคุณประโยชน์ ของทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

   
ที่ตั้งของโครงการ :

ตั้งอยู่บริเวณบ้านลอบือ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1.เพื่อสนับสนุนโดยการประสานงานและการคุ้มครองป้องกันชุมชนให้หน่วยงานร่วมโครงการตลอดจนราษฎรในโครงการให้สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางพระราชดำริ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ ซึ่งได้แก่
     1.1จัดตั้งสถานีทดลองเกษตรในที่สูงเพื่อใช้พื้นที่ที่ถูกแผ้วถางแล้วมาทำประโยชน์ ให้เกิดผลผลิตสูงสุดเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการฯ
     1.2ฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้กลับคืนสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม
     1.3อนุรักษ์สภาพป่าไม้และพันธุ์สัตว์ป่าที่ยังมีเหลืออยู่ในพื้นที่ป่าโดยให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในลักษณะของ การฝึกราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า
     1.4ฝึกอบรมเกษตรแบบครบวงจรเพื่อให้ราษฎรเรียนรู้การใช้ที่ดินที่มีจำกัดให้เกิดผลผลิตที่เพียงพอต่อการเลี้ยงตนเองได้ รวมทั้งให้เรียนรู้การบริหารจัดการในการทำโครงการเกษตรปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลง เรียนรู้ด้านการตลาดด้วยการรวมกลุ่มในรูปแบบของสหกรณ์การแปรรูปผลผลิตการเกษตรให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้มูลค่าเพิ่มขึ้น
     1.5ช่วยให้ราษฎรมีงานทำและมีรายได้ เพื่อสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการว่างงานการกระจายรายได้ไปสู่ราษฎรในชนบทที่ยังอยู่ใต้เส้นระดับยากจน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.เพื่อลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ ด้วยการเคลื่อนไหวในพื้นที่การปฏิบัติการจิตวิทยา การประชาสัมพันธ์ และการปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วม และสร้างความเข้มแข็งให้เกิดแก่ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะงานการป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของยาเสพติดจากภายนอกประเทศ

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

กองพลทหารราบที่ 4 โดย กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17

 
ลักษณะโครงการ :  

ผู้ได้รับประโยชน์ : 1.พื้นที่บริเวณดอยบ่อ ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและพื้นที่ที่ถูกบุกรุกที่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อพื้นที่โครงการ
2.ราษฎรในหมู่บ้านจะต๋อ, บ้านจะฟู และบ้านลอบือ จำนวน 3 หมู่บ้าน

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

1.ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ
จากการกำหนดขอบเขตพื้นที่โครงการจำนวน 15,000 ไร่ ในปี พ.ศ.2547 พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่โครงการ มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ประมาณ 7,730 ไร่ (48.87%) มีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจำนวน 6,570 ไร่ (43.8%) และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ประมาณ 1,100 ไร่ (7.33%) ทั้งนี้จากการดำเนินงานที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการปลูกป่าในบริเวณที่เสื่อมโทรมมากโดยจะเน้นการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และปลูกป่าไม้ใช้สอยรวมทั้งสิ้น 3,150 ไร่ รวมทั้งการปลูกปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำในบริเวณพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมปานกลางอีกจำนวน 1,500 ไร่ ประกอบกับได้จัดทำฝายต้นน้ำลำธารอีกจำนวนรวม 434 แห่ง ทำให้พื้นที่ป่าได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพกลับคืนความสมบูรณ์คิดเป็น 23% ของพื้นที่โครงการผลที่ได้ คือ ทำให้พื้นที่ดอยบ่อมีความชุ่มชื้นมากขึ้นน้ำในลำธารมีอัตราการไหลมากขึ้น และยาวนานมากขึ้น โดยเห็นได้ชัดเจนจากที่ในปีที่ผ่านมาหมู่บ้านโครงการและในพื้นที่สาธิตของโครงการไม่ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งสภาพป่าภายหลังการปลูกป่าและก่อสร้างฝายมีความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มมากขึ้น สามารถเอื้ออำนวยน้ำให้มีการไหลอย่างเนื่อง บริเวณฝายต้นน้ำมีการดักตะกอนเต็มด้านหน้าฝายส่วนด้านข้างสองฝั่งลำห้วยมีไม้เบิกนำจำพวกขิงข่า ผักกูดป่า และต้นกล้วยป่าขึ้นปกคลุม และเจริญเติบโตอย่างดีทำให้เห็นความชุ่มชื่นที่เพิ่มขึ้น

2.ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต  
งานด้านการเกษตร ได้ดำเนินการร่วมกันแบบบูรนาการจากหลายหน่วยงาน
1เกษตรกรพัฒนารูปแบบวิธีการในการทำเกษตรสู่รูปแบบที่ทันสมัยขึ้นมีการประยุกต์ใช้ความรู้วิชาการในการผลิตสามารถเพิ่มผลผลิตขึ้นตามความเหมาะสมอาทิเช่นมีการใส่ปุ๋ยในนาข้าวตามหลักวิชาการตามระยะการเจริญเติบโตของข้าวมีการตรวจเช็คสภาพข้าวตรวจพบศัตรูธรรมชาติของข้าวเองมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างชาวบ้านด้วยกันและระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่เพื่อหาทางป้องกันกำจัดศัตรูข้าวหรือมีการแลกเปลี่ยนสายพันธุ์ข้าว เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตนเอง
2เกษตรกรเกิดการเรียนรู้นำความรู้ที่ได้รับจากการทำงานในสถานีจากการศึกษาดูงานนอกสถานที่หรือจากการแลกเปลี่ยนความรู้จากหน่วยงาน องค์กรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ของตนเอง
3เกษตรกรองค์ความรู้ที่ที่สามารถนำไปเป็นแนวทางประกอบอาชีพได้เอง ดังตัวอย่างเกษตรกรบางรายที่ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานองค์กรในสถานีที่มีการเพาะชำต้นกล้าหรือพืชผักต่างๆเมื่อเกษตรกรกลับไปในชุมชนได้นำประสบการณ์ไปปฏิบัติเอง เช่น เพาะกล้า กาแฟ เพาะกล้าไม้ผล เพาะกล้าไม้ยืนต้น และกล้าหวาย เป็นต้น เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง โดยไม่ได้รับการสนับสนุนปัจจัยหรือความรู้จากเจ้าหน้าที่แต่อย่างใดเจ้าหน้าที่และนักเกษตรกรผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานโครงการจากเจ้าหน้าที่แต่อย่างใดเจ้าหน้าที่และนักเกษตรกรผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานโครงการได้มีความเข้าใจและยอมรับระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่เหาะสมนำมาถ่ายทอดไปยังเกษตรกรที่อาศัยบริเวณรอบๆสถานีเกษตรกรได้บริโภคอาหารปลอดภัยและมีรายได้เพิ่มขึ้น
งานด้านการประมง สำหรับเป็นแหล่งอาหารโปรตีนของราษฎรได้ดำเนินการสำรวจพันธุ์สัตว์น้ำแล้วผลิตและปล่อยคืนลงสู่แหล่งธรรมชาติปีละกว่า 25.000 ตัว และรวมถึงการได้ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่ราษฎรด้วยส่วนของงานด้านปศุสัตว์ในพื้นที่ เน้นเป็นแหล่งสาธิตและการดูแลสุขภาพสัตว์ในพื้นที่โครงการ แยกเป็นด้านต่างๆดั้งนี้
1.การสาธิตเลี้ยงแกะพันธุ์ขน
-ทำให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการมีรายได้จากการทำงาน และได้รู้จักในตัวของสัตว์สาธิตและได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงสัตว์ตลอดจนการดูแลสุขภาพสัตว์เพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์และการประกอบอาชีพต่อไป
-การผลิตสัตว์ โดยจากการที่นำสัตว์สาธิตเข้ามาเลี้ยงในพื้นที่โครงการก็มีการเพิ่มและลดลงของยอดสัตว์สาธิตอย่างไรก็ตามจำนวนสัตว์สาธิตก็ยังเพียงพอในการฝึกปฏิบัติสำหรับการเรียนรู้ของเกษตรกรในการเลี้ยงและการดูแลและซึ่งจำนวนสัตว์ก็ค่อนข้างพอเหมาะกับพื้นที่ในปัจจุบันมีจำนวนแกะพ่อพันธุ์ 2 ตัว แม่พันธุ์ 8 ตัว และแกะรุ่นเพศผู้ 25 ตัว เพศเมีย 3 ตัว
-กิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขนแกะ มีการให้ความเกษตรกรให้เกษตรกรได้ ฝึกปฏิบัติจริง โดยมีการจ้างวิทยากรเป็นผู้สอนและมีการฝึกตัดขนแกะ เพื่อนำไปผ่านกระบวนการซักล้างขนแกะให้สะอาด แล้วนำไปตากให้แห้ง แล้วนำมาตีฟูก่อนที่จะนำไปก่อเป็นเส้นด้ายขนแกะ แล้วจึงนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากขนแกะ ปัจจุบันมีการผลิตแปรรูปออกมาเป็น หมวกกันหนาว 3 ใบ และผ้าพันคอ 14 ผืน
2.การเลี้ยงสัตว์และการดูแลสุขภาพสัตว์ในพื้นที่โครงการ
-มีการพบปะเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ใน พื้นที่หมู่บ้าน 3 หมู่บ้านโครงการประจำทุกเดือน มีการปรึกษาปัญหาด้านการเลี้ยงสัตว์และการดูแลสุขภาพสัตว์และมีการนำข้อมูลและสำรวจข้อมูลประชากรสัตว์ ในพื้นที่ไว้เสมอตลอดจนมีการจัดการฝึกการอบรมเพื่อให้ความเรื่องการเลี้ยงสัตว์และการป้องกันโรคสัตว์ในพื้นที่เกษตรกรมีความสนใจพอสมควรมีการซักถามและมีการซื้อเวชภัณฑ์ยากลับไปใช้กลับสัตว์เลี้ยงของตนเอง
-กิจกรรมด้านเวชภัณฑ์กองทุนยาสัตว์มีการสนับสนุนเวชภัณฑ์ยารักษาโรคสัตว์เบื้องต้นซึงอยู่ในรูปของกองทุนยาสัตว์ซึ่งปัจจุบันหมู่บ้านในพื้นที่โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยบ่อ จำนวน 3 หมู่บ้าน
ด้านการศึกษา ได้จัดการศึกษาสำหรับประชาชนที่พ้นการศึกษาภาคบังคับ และผู้ที่ด้อยพลาดและขาดโอกาสทางการศึกษาในระบบผู้เข้ารับบริการส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่ผลการดำเนินงานทำให้ผู้รับบริการมีทักษะด้านต่างๆและคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการดีขึ้น ดังนี้
1.ผู้เข้ารับบริการตระหนักถึงความสำคัญของสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
2.ผู้รับบริการเข้าใจในการเป็นชาติไทยและตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
3.ชาวบ้านมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นและเจริญรอยตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น
4.ชาวบ้านให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
5.ชาวบ้านมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเข้าใจและดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองและคนในครอบครัวให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
6.ชาวบ้านมีความก้าวหน้าทางด้านการใช้ภาษาไทยดีขึ้นสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นดีขึ้นและสามารถ ฟัง พูด อ่าน เขียนได้บ้าง
7.ชาวบ้านเข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น
8.ชาวบ้านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ด้านการส่งเสริมอาชีพนอกภาคการเกษตร ราษฎรสามารถผลิตผ้าปักประจำเผ่าและการผลิตเครื่องเงินเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวทำให้หมู่บ้านมีอาชีพประจำท้องถิ่น ราษฎรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพที่สุจริตไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและรักษาขนบธรรมเนียมประจำเผ่าให้คงอยู่สืบไป
ด้านแหล่งน้ำ สำหรับอุปโภคบริโภค ได้ดำเนินจัดหาน้ำให้กับราษฎรตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยสามารถช่วยเหลือพื้นที่สาธิตของโครงการและพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรทั้ง 3 หมู่บ้านโดยสามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรในฤดูฝนที่บ้านลอบือ ได้กว่า 500  ไร่ และในฤดูแล้งกว่า 200  ไร่ ในฤดูฝนที่บ้าน จะต่อเบอร์ ได้กว่า 500 ไร่และในฤดูแล้งกว่า 250  ไร่นอกจากนี้ที่บ้านจะฟู สามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรในฤดูฝน ได้กว่า 400  ไร่ และในฤดูแล้งกว่า 100  ไร่
การอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งในลำดับแรกได้มีการวางระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดการยอมรับของเกษตรกรจะคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของดินอย่างถูกต้อง เช่น ตามลักษณะของสภาพพื้นที่ (ภูมิประเทศ, ภูมิอากาศ เป็นต้น) การวางแผนระบบการปลูกพืช การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่เพื่อให้เกิดการยอมรับในระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำนั้นๆ การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยการผสมผสานมาตรการหรือวิธีการต่างๆ ของการอนุรักษาดินและน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายไปหายาก เพื่อจะให้เกษตรกรสามารถ ปฏิบัติและดูแลรักษาเองได้ การปรับปรุงบำรุงดินเป็นการเสริมความสามารถของดินให้สามารถทำการผลิตปัจจัยต่างๆ ที่ความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของการให้ผลผลิตของพืช โดยได้ดำเนินการดังนี้
1.การปลูกพืชตานแนวระดับขวางความลาดชัด
2.การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถบขวางความลาดชัด
3.การทำคูรับน้ำรอบเขา
4.การทำขั้นบันไดดินปลูกไม้ผล
5.การใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน

3.ด้านการเสริมความมั่นคง และปลอดภัย
จากการดำเนินงาน ทั้งการร่วมกันลาดตระเวน จัดชุดมวลชนสัมพันธ์เคลื่อนที่ เพื่อให้การป้องคุ้มภัย และหาเบาะแสด้านยาเสพติดจากชาวบ้าน รวมถึงได้ร่วมกับเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องในการนำผู้ติดยาเสพติดไปบำบัดรักษา ทำให้ยาเสพติด มีจำนวนลดลง ปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าลดน้อยลง

 
ความสำเร็จของโครงการ :

1.ส่วนราชการและราษฎรในพื้นที่ได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ด้วยการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำในพื้นที่ 2,700 ไร่ มีการจัดทำฝายต้นน้ำ 394 แห่ง พร้อมทำจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
2.ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของราษฎร อาทิ การปลูกกาแฟ บ๊วย กล้วย และผักเมืองหนาว ตลอดจนการส่งเสริมการปศุสัตว์ ที่ผ่านมาทำให้ราษฎรสามารถปลูกข้าวในพื้นที่ของตนเองได้ผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี ทั้งยังเป็นพันธุ์ข้าวที่ตรงกับความต้องการของราษฎร นอกจากนี้จากการประสานความร่วมมือกับกองทัพบกและราษฎร ทำให้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ลดลงเป็นอย่างมากณะกรรมการบริหารงาน ที่เข้มแข็งและดำเนินการกิจกรรมตามกฎระเบียบของสหกรณ์ผู้ใช้น้ำฯ ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.