หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดพัทลุง

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

เมื่อปี  2505 นายเปรม อักษรสว่าง สมาชิกสภาจังหวัดพัทลุงและนายกพุทธิกสมาคมบางแก้ว ได้นำสมาชิกฯ  ยุวกสิกรและประชนประมาณ 500 คน  ขุดลอกเหมืองส่งน้ำจากคลองตะโหมดหรือคลองท่าเชียดเพื่อนำไปใช้ในเขตอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง แต่ไม่ได้ผลเนื่องจากจะต้องขุดเหมืองส่งน้ำลึกประมาณ 5-6 เมตร ซึ่งเกินกำลังที่เกษตรกรจะทำได้ ต้องใช้เทคนิคและเครื่องจักรเครื่องมือในการดำเนินงาน จึงร้องเรียนผ่านชลประทานภาคใต้ในสมัยนั้น ขอให้พิจารณาเปิดโครงการท่าเชียดขึ้น เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าวชลประทานภาคใต้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปพิจารณาเห็นว่าลู่ทางที่จะเปิดการก่อสร้างโครงการฯ ขึ้นได้จึงส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศและสถิติต่างๆ เพื่อนำมาวางโครงการและออกแบบ และได้ก่อสร้างโครงการเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2514 มีพื้นที่ทั้งหมด 121,527 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 100,000 ไร่ วันที่ 14 กันยายน 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครการชลประทานเพื่อช่วยเหลือการทำนาในเขตจังหวัดพัทลุง ต่อมาสำนักงานชลประทานที่ 12 (ปัจจุบันคือสำนักชลประทานที่ 16) ได้รับหนังสือจากอำเภอตะโหมด ที่ พท. 0616/256 ลงวันที่ 25 มกราคม 2532  ขอให้พิจารณาความเป็นไปได้โครงการอ่างเก็บน้ำโละหนุนตามพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานท่าเชียด จำนวน 100,000 ไร่  และลดอันตรายจากอุทกภัยในเขตอำเภอตะโหมด อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ประธานสภาตำบลตะโหมด (นายบุญชอบ เพชรหนู) ประธานสภาตำบลคลองใหญ่ (นายหวัง เสถียร) และประธานตำบลแม่ขรี (นายสวัสดิ์ มุสิกะสงค์) ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2533 เรียนราชเลขาธิการขอพระราชทานสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง โดยให้เหตุผลว่าท้องที่ตำบลตะโหมด ตำบลคลองใหญ่ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง รวม 25 หมู่บ้าน ประชากร 21,443 คน มีการทำนาทำสวนเป็นอาชีพหลัก เนื้อที่การเกษตร 73,158 ไร่ แต่การประกอบอาชีพ ดังกล่าวไม่ได้ผลเต็มที่เนื่องจากขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และเป็นคลังจ่ายน้ำให้กับโครงการชลประทานท่าเชียด ต่อมาราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือ ที่ รล 0005/10206 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม  2533 เรียนอธิบดีกรมชลประทาน และหนังสือที่  รล 0005/10207 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2533  เรียนผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง แจ้งให้ทราบถึงความประสงค์ของราษฎรที่ต้องการให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง จึงขอให้พิจารณาในเรื่องนี้ และหากมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะประการใดแจ้งให้สำนักราชเลขาธิการทราบด้วย จากการประสานงานระหว่างกรมชลประทานโดยสำนักชลประทานที่ 12 (ปัจจุบันคือ สำนักชลประทานที่ 16) กับจังหวัดพัทลุง เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการในเรื่องนี้  และได้ดำเนินการพิจารณาเบื้องต้นแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2533 สำนักชลประทานที่ 12 ได้มีบันทึกที่ กษ 0337/350 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2533 เรียนอธิบดีกรมชลประทานเห็นสมควรขอพระราชทานโครงการเป็นโครงการพระราชดำริ กรมชลประทานได้มีหนังสือที่ กษ 0301/1825 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2534 เรียนราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณารับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือที่ รล 0005/5226 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534 และหนังสือที่   รล 0005/5227 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534 แจ้งให้กรมชลประทานและผู้ว่าราชการจังหวัดทราบตามลำดับ ว่าความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองวางโครงการได้ดำเนินการศึกษาและรายงานโครงการเสร็จเรียบร้อยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2540  ซึ่งต่อมาโครงการชลประทานพัทลุง ได้มีบันทึกที่ กษ 0337.02/686 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2540 เรียน ผสก.ผชป.12 (ปัจจุบัน ผส.ปช.16)  เพื่อโปรดพิจารณาขออนุมัติกรมฯ  ตั้งงบประมาณก่อสร้างในปี  2541  ต่อไป

   
ที่ตั้งของโครงการ :

บ้านหัวช้าง หมู่ที่ 2  และ บ้านคลองนุ้ย
หมู่ที่  5  ตำบลตะโหมด  อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1.เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนช่วยเหลือการเพาะปลูกให้แก่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียด จังหวัดพัทลุง แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาวะฝนทิ้งช่วง
2.เพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูกและช่วยบรรเทาอุทกภัยในฤดูฝนในเขตอำเภอตะโหมด อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือพักผ่อนของประชาชนบริเวณใกล้เคียง
3.เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภค
4.เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :  
 
ลักษณะโครงการ : อ่างเก็บน้ำ

ผู้ได้รับประโยชน์ :

1.สามารถส่งน้ำช่วยเหลือการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียด จำนวน 38,000 ไร่ (พื้นที่ชลประทาน 103,298 ไร่)
2.สามารถใช้น้ำในอ่างฯ เพื่อการอุปโภค - บริโภคของราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
3.บรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝนในเขต อำเภอตะโหมด อำเภอเขาชัยสน และอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
4.ส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
5.ส่งน้ำสนับสนุน โครงการแก้ไขปัญหาแลพัฒนาพื้นที่หมู่บ้านอาพัด และหมู่บ้านใกล้เคียง อำเภอเขาชัยสน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
6.สามารถใช้ตัวอ่างฯ เป็นแหล่งแพร่ เพาะ และขยายพันธ์ปลาน้ำจืดรวมทั้งเป็นแหล่งจับปลาของราษฎรที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งด้วย
7.ใช้เป็นสถานที่พักหย่อนใจของราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

ปีงบประมาณ 2548 ใช้งบประมาณจากงบกลาง (กปร.) ดำเนินการก่อสร้างที่ทำการบ้านพัก, ถนนบริเวณภายในหัวงานโครงการ,  ระบบสาธารณูปโภค
แล้วเสร็จ  100%

ปีงบประมาณ 2549 ใช้ใช้งบประมาณจากงบกลาง (กปร.)  ดำเนินการก่อสร้างถนทางเข้าหัวงานโครงการ  และทำนบดินปิดช่องเขาขาด  2
แล้วเสร็จ  100%

ปีงบประมาณ  2550 ใช้งบประมาณตามแผนงบประมาณบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ผลผลิตจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน
งานดำเนินการเอง ก่อสร้างงานทำนบดินหัวงานพร้อมอาคารประกอบ  และงานทำนบดินปิดช่องเขาขาด 2
งานจ้างเหมา  ก่อสร้างทำนบดินปิดช่องเขาขาด 1 วงเงินค่าก่อสร้าง 107,900,000.-  บาท  ตามสัญญาเลขที่ กจ.01/2550 (ฝพพ.4)  ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2550  เริ่มนับอายุสัญญาวันที่  21 กันยายน  2550 สิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 12 พฤษภาคม  2552  รวมอายุสัญญา  600 วัน ผูกพันปีงบประมาณ  2550 - 2552
แล้วเสร็จ  100%

ปีงบประมาณ 2552-2554 ใช้งบประมาณ แผนงบประมาณ : จัดการทรัพยากรน้ำ ผลผลิต การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน

 
ความสำเร็จของโครงการ :

ระยะเวลาก่อสร้าง  :   7  ปี 
(งบประมาณ  2548   - ปีงบประมาณ  2554)
-ก่อสร้างส่วนประกอบอื่น  (เตรียมงานเบื้องต้น) ใช้ระยะเวลาดำเนินการ   2  ปี
(พ.ศ. 2548 - 2549)
-ก่อสร้างทำนบดินช่องเขาตัวที่ 2  ใช้ระยะเวลาดำเนินการ  2  ปี  (พ.ศ. 2549 - 2550)
- ก่อสร้างทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ  ใช้ระยะเวลาดำเนินการ  3 ปี
(พ.ศ. 2550, และ 2552 - 2554)
-ก่อสร้างทำนบดินขาดตัวที่ 1 ใช้ระยะเวลาดำเนินการ  3  ปี (พ.ศ. 2550 - 2552)
-ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (พ.ศ.2553 - 2554)

   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.