หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่อาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดลำพูน

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพพื้นที่ บริเวณที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่อาวน้อย ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยมีพลโทไพโรจน์ จันทร์อุไร แม่ทัพภาคที่ 3 นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. และ นายปราโมทย์ ไม้กลัด ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านให้คำ ปรึกษาการจัดสรรน้ำและปรับปรุงบำรุงรักษาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ และถวายรายงาน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน พระราชดำริต่อกรมป่าไม้โดยสรุป ดังนี้
"ให้กรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการจำแนกประเภทป่าเสื่อมโทรมบริเวณที่ราบ ยังมีคุณภาพดี เพื่อจัดสรรให้ราษฎร ที่ไม่มีที่ทำกินได้เข้าอยู่เป็นการถาวร จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า ส่วนพื้นที่ดอย พื้นที่เนินสูงหรือภูเขาต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ ที่ดินมีคุณภาพไม่ดี และเสียสภาพป่า ให้ดำเนินการปลูกป่าทดแทน"

   
ที่ตั้งของโครงการ :

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ห่างจากอำเภอเมือง 20.5 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซาง 7.1 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 127,058 ไร่ เป็นเนื้อที่อยู่ในเขตอำเภอป่าซาง 122,058 ไร่ และอยู่ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง 5,000 ไร่ มีราษฎรอาศัยและทำมาหากินในเขตพื้นที่โครงการ ทั้งหมด 5,652 ครัวเรือน 20,046 คน

   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1. อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยการป้องกันรักษาและควบคุมไฟป่า
2. ปลูกเสริมป่า และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
3. ส่งเสริมการปลูกไม้ใช้สอยชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร
4. จัดทำแนวเขตป่าอนุรักษ์ในพื้นที่โครงการให้ชัดเจน

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

หน่วยงานดำเนินการประกอบด้วย กรมป่าไม้, ส.ป.ก.,กรมชลประทาน, กรมส่งเสริมสหกรณ์, กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นหน่วยงานกลาง ในการประสานงาน 

 
ลักษณะโครงการ :

 

 


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ครอบคลุมราษฎร 2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 6 ตำบล 27 หมู่บ้าน ดังนี้
     อำเภอป่าซาง                     4 ตำบล     23 หมู่บ้าน
     อำเภอบ้านโฮ่ง                   1 ตำบล     1 หมู่บ้าน
     กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง       1 ตำบล     3 หมู่บ้าน

 


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

การดำเนินโครงการที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ดังนี้

      ทรัพยากรน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการอุปโภคบริโภค ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ปรับปรุงแหล่งน้ำโดยการขุดลอกหนองน้ำ คู คลองธรรมชาติ สร้างฝาย จัดทำระบบท่อผันน้ำจากฝายไปสู่อ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นการสนับสนุนแหล่งน้ำต้นทุน ขุดสระทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก รวมทั้งได้จัดหาแหล่งน้ำใต้ดิน โดยการเจาะน้ำบาดาล และจัดทำประปาหมู่บ้าน

      ทรัพยากรป่าไม้ ป้องกันรักษาป่า ประชาสัมพันธ์เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ พัฒนาแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว สนับสนุนกิจกรรมการปลูกป่า เพาะชำกล้าไม้ พัฒนาระบบเกษตร และป่าไม้ เป็นต้น

      ทรัพยากรที่ดิน ปฏิรูปที่ดิน สำรวจรังวัด และจัดสรรที่ดินให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ พร้อมทั้งมีการติดตามการทำประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร ในส่วนงานพัฒนาที่ดิน ได้จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำพร้อมกับการปรับปรุงดินควบคู่กันไป และยังจัดอบรมเกษตรกรเรื่องการพัฒนาที่ดินอีกด้วย

      เส้นทางคมนาคมและสาธารณูปโภค ก่อสร้างถนนลาดยาง ถนนลูกรัง เพื่อใช้ในการเดินทางและขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาด ก่อสร้างถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านและเข้าไปพื้นที่สวนเกษตร มีการขยายเขตไฟฟ้า และติดตั้งหมายเลขโทรศัพท์ให้แก่หมู่บ้านในเขตพื้นที่โครงการ

      พัฒนาอาชีพ ส่งเสริมโครงการเคหกิจการเกษตร การปลูกขยายพันธุ์พืช จัดกิจกรรมประมงโรงเรียน ประมงหมู่บ้าน เลี้ยงวัว เลี้ยงสัตว์ปีกทั้งในครัวเรือนและโรงเรียน จัดฝึกอบรมเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ ตัดเย็บเสื้อผ้า จักสาน ศิลปะประดิษฐ์ ฝึกอบรมด้านการตลาด เป็นต้น

      การพัฒนาสังคม สร้างที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน สนับสนุนอาหารเสริม (นม) อาหารกลางวันแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จัดอุปสมบทพระภิกษุและสามเณรภาคฤดูร้อน จัดบริการสาธารณสุขในสถานบริการ สาธารณสุขมูลฐาน กิจกรรมพัฒนาเยาวชน เป็นต้น

      การบริหารโครงการ งานอำนวยการและบริหารโครงการ ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ รวมทั้งจัดสัมมนาและทัศนศึกษาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้นำหมู่บ้านในเขตพื้นที่โครงการ

     

 

 
ความสำเร็จของโครงการ :

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินงานโครงการมีความครบถ้วนสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม อาทิ การพัฒนาทรัพยากรน้ำทั้งแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน สภาพป่าไม้ดีขึ้น พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ไม่มีไฟป่าในบริเวณพื้นที่โครงการ เพราะความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่โครงการที่ช่วยกันป้องกัน รักษา และอนุรักษ์สภาพป่าไม้ ผลของการพัฒนาทรัพยากรน้ำและป่าไม้ ส่งผลให้ดินได้รับการฟื้นฟูตามมา ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรทุกๆ ด้านเกิดตามขึ้นมาอย่างเป็นวงจรและส่งเสริมกันอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การพัฒนาอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตร รวมทั้งการพัฒนาสังคม

 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.