หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านยางน้อย
จังหวัดอุบลราชธานี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
   
แนวพระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินที่บ้านยางน้อย และบริเวณที่ดินสาธารณะ บ้านยางน้อย ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี และพระองค์ทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านยางน้อย หมู่ที่ 1,2 ถนนแจ้งสนิท กิโลเมตรที่ 32 ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
   
ที่ตั้งของโครงการ : ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

เพื่อพัฒนาอาชีพยกระดับรายได้และเป็นแหล่งการจ้างงานของราษฎรในพื้นที่ ที่ไม่ต้องมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการเกษตร การถ่ายทอดเทคโนโลยี่และความรู้ทางการเกษตรที่เหมาะสมให้กับราษฎรที่ทำงาน เป็นแหล่งผลิตอาหารของชุมชน รวมทั้งอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชน ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรบ้านยางน้อยและหมู่บ้านใกล้เคียง จำนวน 21 หมู่บ้าน

 

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :  
 
ลักษณะโครงการ :

แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ได้แก่ ฟาร์มตัวอย่างในพระองค์ซึ่งมีเนื้อที่ 210 ไร่ ส่วนที่สองคือ ศูนย์ศิลปาชีพฯ มีเนื้อที่ 214 ไร่


ผู้ได้รับประโยชน์ : ราษฎรบ้านยางน้อยและหมู่บ้านใกล้เคียง จำนวน 21 หมู่บ้าน

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
ฟาร์มตัวอย่างในพระองค์เป็นพื้นที่ทดลองการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เช่น ปศุสัตว์ ประมงน้ำจืด และการปลูกพืชสวนครัวปลอดสารพิษ การปลูกพืชสมุนไพร ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อผลิตไหมคุณภาพ ส่วน ศูนย์ศิลปาชีพฯแบ่งเป็นอาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ มีสินค้าที่น่าจับจ่ายจากกลุ่มทอผ้าไหมและฝ้าย เช่น ผ้ากาบบัว ผ้ามัดหมี่ และผ้าขิด มีทั้งแบบผืนที่ยังไม่ได้ตัดเย็บและเสื้อผ้าสำเร็จรูป กล่มชุบเงินและทอง ทำเครื่องประดับชุบเงินและทอง กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากรังไหมและผ้าใยบัว กลุ่มตีเหล็กเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ อาทิ มีด และกลุ่มเพ้นต์ผ้าฝ้ายบาติก นำไปตัดเย็บเป็นเสื้อ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ กระเป๋า และยังมีผลิตภัณฑ์ของสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพหลายแห่งในประเทศมาวางจำหน่ายด้วย เช่น ผ้าปักชาวไทยภูเขาผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เครื่องปั้นดินเผาจากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม จังหวัดสกลนคร ฯลฯ
 
ความสำเร็จของโครงการ :

ผลสำเร็จของบ้านยางน้อยที่เล็งเห็นได้จากโครงการนี้คือ ได้พัฒนามาเป็นแหล่งจ้างงานสำคัญที่ทำให้ราษฏรละทิ้งแนวถิ่นฐานน้อยลง และช่วยเสริมรายได้ให้ชาวบ้านยางน้อยและบริเวณใกล้เคียง ตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โดยการเป็นแหล่งผลิตอาหารคุณภาพและปลอดสารพิษ ที่ไม่เพียงมีขึ้นเพื่อการบริโภคของชาวไทย แต่ยังส่งออกไปสู่ประเทศต่างๆในโลกจนสามารถกล่าวได้ว่าคือคลังอาหารเลี้ยงคนไทยเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นโรงเรียนสอนการเกษตรที่เน้นการมีส่วนร่วม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เปิดให้ผู้สนใจจากภายนอกได้เข้าชมกระบวนการผลิต การจัดการด้านต่างๆ เช่น ภายในฟาร์มที่จัดรูปแบบของพื้นที่การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ สัญลักษณ์แห่งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ดึงดูดความสนใจด้วยแปลงข้าวพันธุ์บริสุทธิ์ ผักปลอดสารพิษ สมุนไพร พืชไร่ ไม้ผล เห็ด พืชอินทรีย์ ไม้ประดับ ปศุสัตว์ ประมง และการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพันธุ์พื้นเมืองแห่งเดียวในประเทศไทย เพื่อผลิตไหมคุณภาพระดับ Royal Thai Silk พร้อมทั้งมีพิพิธภัณฑ์ถาวรจัดแสดงเรื่องราวของผ้าไหม นอกจากนี้โครงการฟาร์มตัวอย่างยังได้ส่งเสริมการผลิตข้าวกล้องเพาะงอกปรุงเบญจกระยาทิพย์แรกผลิ6 ที่ผ่านกรรมวิธี GERMINATION เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยกระบวนการผลิตทางชีวเคมีธรรมชาติ โดยการนำข้าวกล้องที่ได้จากการทดลองปลูก ที่มีการควบคุมดูแลการเพาะปลูกอย่างใก้ลชิดจากนักวิชาการกรมวิชาการเกษตร เช่น ข้าวหอมมะลิ10 ข้าวเหนียวกข6 ข้าวหอมแดง ข้าวกล้องดอกมะลิ105 และข้าวก่ำดอยมูเซอร์ จากกระบวนการเพาะเมล็ดข้าวจนงอกก่อนนำมาหุงต้ม เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของโปรตีน และ คุณค่าทางโภชนา การให้มี คุณภาพยิ่งขึ้นตามธรรมชาติ ภายในสภาวะที่มีการควบคุมความชื้น แสง อุณหภูมิ เวลา และออกซิเจนที่พอเหมาะ จนได้ข้าวที่มีวิตามินสูงอีกทั้งยังมีสารGABA สูง เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระให้เซลล์ร่างกายทำงานเป็นปกติ ไม่ให้เซลล์แก่เร็วผิดปกติกลายเป็นสารมะเร็ง นอกจากนั้นยังเพิ่มสารแกมมาโอรายซานอล3เท่าของข้าวกล้องธรรมดา และที่สำคัญยังเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็นพอเหมาะที่ร่างกายต้องการซึ่งเป็นอาหาร ที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม สำหรับบำรุงสุขภาพ เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคภัยตามธรรมชาติ อีกทั้งยังมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม นุ่มนวล หุงต้มง่ายปลอดภัยจากสารเคมี และแบคทีเรีย เนื่องจากเป็นเมล็ดข้าวพันธุ์พิเศษที่ปลูกในหุบเขาสูง 900-1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ท่ามกลางพื้นที่ปราศจากมลพิษในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด และการเพาะเมล็ดจนงอกก่อนนำมาบริโภคนั้น เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็ปไตน์ ในข้าวที่มีแทนนินสูงข้าวที่มีแทนนินสูงแสดงถึงการมีแร่ธาตุสูง

 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.