หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการทำนบดินห้วยปลายพร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

พระบาทสมเด็จ ทรงรับโครงการก่อสร้างทำนยดินห้วยปลายพร้อมระบบส่งน้ำไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามที่นายนิพนธ์ พัฒน์คง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 16 ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะ ขอพระราชทานพระมหากรุณาในการก่อสร้างโครงการระบบประปาขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค และทำการ เกษตรในช่วงฤดูแล้ง (ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล.0005.5/17353 ลงวันที่ 18 กันยายน 2551)

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือถึงกรมชลประทานตามหนังสือเลขที่ กร 0007.4/7117 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2550 กรณีนายนิพนธ์ พัฒน์คง ผู้ใหญ่บ้านไร่ยาว หมู่ที่ 16 ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอพระราชทานพระมหากรุณา โครงการประปาภูเขาห้วยปลายพร้อมระบบส่งน้ำ บริเวณห้วยปลายเพื่อช่วยเหลือราษฎร หมู่ที่ 13 หมู่ที่ 15 หมู่ที่ 16 และหมู่ที่ 18  ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และทำ การเกษตรในช่วงฤดูแล้งจึงขอให้กรมชลประทานเข้าทำการตรวจสอบพิจารณาความเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือราษฎร ในเรื่องดังกล่าวด้วย กรมชลประทานโดยกลุ่มพิจารณาโครงการส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 15 ได้พบ ผู้ถวายฎีกาและพิจารณาความเหมาะสมในพื้นที่เห็นสมควรช่วยเหลือราษฎรได้ จึงทำการรวบรวมข้อมูลนำเสนอให้สำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทราบ และเพื่อให้สำนักราชเลขาธิการพิจารณา นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระมหากรุณาฝ่าละอองธุลีพระบาท ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ รับโครงการก่อสร้างโครงการทำนบดินห้วยปลายพร้อมระบบส่งน้ำไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล 0005.5/17353 ลงวันที่ 18 กันยายน 2551 และหนังสือสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ กร 0002 / พิเศษ 204 ลงวันที่ 30 กันยายน 2551

   
ที่ตั้งของโครงการ : บ้านไร่ยาว หมู่ที่ 16 ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตรในฤดูแล้งของราษฎร หมู่ที่ 13  หมู่ที่ 15  หมู่ที่ 16 และหมู่ที่ 18 ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ  จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 4 หมู่บ้าน  334 ครัวเรือน และพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 1,148 ไร่

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

ปีงบประมาณ 2552 โครงการก่อสร้าง 1 สำนักชลประทานที่ 15 ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงาน กปร. เพื่อก่อสร้างหัวงานโครงการและระบบส่งน้ำ ยาว 700 เมตร ปีงบประมาณ 2553 ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ ที่ 2 เพื่อก่อสร้างระบบส่งน้ำยาว 14,030 เมตร เป็นอันแล้วเสร็จทั้งโครงการ

 
ลักษณะโครงการ :
ก่อสร้างทำนบดินพร้อมระบบส่งน้ำ
  5.1 ทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ
   

สันทำนบดินกว้าง                                          8.00        เมตร    
สูง                                                                10.50      เมตร
ยาว                                                              64.60      เมตร
ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกัก                        35,000.00      ลบ.ม.
ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบ จำนวน 2 สาย
อาคารระบายน้ำล้น ประเภท Side Channel ทำการระบายน้ำลงลำห้วยเดิม
ในปริมาณน้ำ 45 ลูกบาศก์เมตร / วินาที

  5.2 ระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ เป็นท่อส่งน้ำแบ่งเป็น 2 สาย
    รวมความยาว 14,730 เมตร อาคารประกอบ จำนวน 65 แห่ง  
ขนาดและความยาวท่อส่งน้ำ
    ท่อส่งน้ำสายใหญ่ ยาว 8,800 เมตร
0 + 000 - 0 + 700  ใช้เหล็กกล้าเชื่อมด้วยไฟฟ้า  ขนาด 400 มม. ยาว  700  เมตร
0 + 700 - 1 + 200  ใช้ท่อ PVC. ชั้นคุณภาพ 8.5 ขนาด 400 มม.  ยาว  500 เมตร
1 + 200 - 2 + 300  ใช้ท่อ PVC. ชั้นคุณภาพ 8.5 ขนาด 300 มม.  ยาว  1,100 เมตร
2 + 300 - 3 + 400  ใช้ท่อ PVC. ชั้นคุณภาพ 8.5 ขนาด 250 มม.  ยาว  1,100 เมตร
3 + 400 - 6 + 800  ใช้ท่อ PVC. ชั้นคุณภาพ 8.5 ขนาด 200 มม.  ยาว  3,400 เมตร
6 + 800 - 8 + 800  ใช้ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสี  ขนาด 100 มม.  ยาว  2,000 เมตร
สายแยก 1 ขวา – สายใหญ่ ยาว 5,930.00  เมตร
0 + 250 - 1 + 800  ใช้ท่อ PVC. ชั้นคุณภาพ 8.5 ขนาด 250 มม. ยาว 1,550  เมตร
1 + 800 - 4 + 400  ใช้ท่อ PVC. ชั้นคุณภาพ 8.5 ขนาด 200 มม. ยาว 2,600 เมตร
4 + 400 - 6 + 180  ใช้ท่อ PVC. ชั้นคุณภาพ 8.5 ขนาด 100 มม. ยาว 1,780 เมตร
รวมความยาวท่อส่งน้ำ 14,730   เมตร
 

ผู้ได้รับประโยชน์ : -ช่วยเหลือราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตโครงการ ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค–บริโภค ได้ 334 ครัวเรือน เป็นพื้นที่การเกษตรกรรม 1,148 ไร่ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ในหมู่ที่ 13 หมู่ที่ 15  หมู่ที่ 16 และหมู่ที่ 18 ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
-เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ท่องเที่ยว
-เป็นแหล่งน้ำที่ให้เกิดความชุ่มชื้นแก่ดินและป่าไม้
-เพื่อเป็นการชะลอการไหลของน้ำไม่ให้ไหลลงสู่ทะเลอย่างรวดเร็วและไร้คุณค่า
-เพื่อเป็นอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างมีเป้าหมาย

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงาน กปร. 19,800,000 บาท
เพื่อก่อสร้างโครงการทำนบดินห้วยปลายพร้อมระบบส่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริก่อสร้างหัวงานโครงการและระบบส่งน้ำ ยาว 700 เมตร  ประกอบด้วยก่อสร้างทำนบดินและอาคารระบายน้ำล้น พร้อมระบบส่งน้ำด้วยท่อ ประกอบด้วยท่อเหล็กกล้าเชื่อมด้วยไฟฟ้า ขนาด 400 มม. ท่อ PVC. ชนิดต่อด้วยแหวนยาง ชั้นคุณภาพ 8.5 ขนาด 400 มม. รวมความยาวทั้งสิ้น 700 ม. พร้อมอาคารประกอบท่อส่งน้ำ จำนวน 2 แห่ง ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานฯ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553  ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (SP2) จำนวน 29,568,000.00 บาท
เพื่อก่อสร้างระบบส่งน้ำยาว 14,030 เมตร ประกอบด้วยท่อ PVC. ชนิดต่อด้วยแหวนยางชั้นคุณภาพ 8.5 ขนาด 400, 300, 250, 200 มม. และท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสีขนาด 100 มม. รวมความยาวทั้งสิ้น 14,030 ม. พร้อมอาคารประกอบท่อส่งน้ำ จำนวน 63 แห่ง
 
ความสำเร็จของโครงการ :

นายจรัส สินทอง อายุ 28 ปี เกษตรกรบ้านไร่กลาง ผู้ได้รับประโยชน์จากการใช้น้ำในโครงการทำนบห้วยปลาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งมีแปลงปลูกต้นปาล์มน้ำมันห่างจากโครงการฯ  ประมาณ 5 กิโลเมตร ได้บอกกับผู้ประสานงานว่า (21 ตุลาคม 2553)  “เมื่อก่อนที่ไม่มีน้ำตนต้องดึงน้ำมาจากคลองมาใช้ ในช่วงฤดูแล้งค่อนข้างจะ ลำบากมากเพราะน้ำจะแห้งขอดไม่มีน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและไม่มีน้ำที่จะดึงขึ้นมารดต้นกล้าปาล์มได้เลยเลย แต่เมื่อมีโครงการของ พระองค์ท่านลงมาทำให้ตนได้รับน้ำจากโครงการทำนบดินห้วยปลายฯ มาทำการเกษตรโดยเฉพาะใช้รดต้นปาล์มน้ำมัน และชาวบ้าน และเกษตรกรอื่นๆ ก็มีความสะดวกสบายมีชีวิตที่ดีขึ้นทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นค่าใช้จ่ายก็ลดลง ซึ่งเมื่อก่อนนั้นในช่วงหน้าแล้งจะมีปัญหาอยู่ เพราะว่าช่วงหน้าแล้งน้ำจะแห้งคลอง

นายจรัสเล่าว่า เมื่อตนเองเรียนจบแล้วมาทำแปลงปาล์มเลย เพราะพ่อแม่มีอาชีพปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพาราอยู่แล้วซึ่งมีรายได้หลัก จากการขายต้นกล้าปาล์มน้ำมันและผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้รับผลผลิตแล้ว และมีรายได้ส่วนหนึ่งจากยางพารา โดยส่วนตัวนั้น มีรายได้ปีหนึ่งประมาณ  6 แสนกว่าบาทต่อปี  รายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายต้นกล้าปาล์มน้ำมัน ขายราคาต้นละ 80-90 บาท ซึ่งต้นกล้าอายุที่สามารถลงปลูกได้อายุประมาณ  8 -12 เดือน  สำหรับการปลูกในแปลงที่แนะนำนี้  มีทั้งต้นใหญ่และต้นเล็ก ประมาณ 9,000 ต้น ส่วนใหญ่เป็นปาล์มน้ำมันที่อายุประมาณ 7-8 เดือนแล้ว  การเพาะกล้าปาล์มปีหนึ่งทำประมาณ  1 หมื่น เมล็ด และงอกเป็นต้นกล้าเพื่อจำหน่าย  ประมาณ 7-8 พันต้น ซึ่งตนปลูกมาแล้วประมาณ  5 ปี  ซึ่งเมื่อมีโครงการฯ นี้  ทำให้ได้ผลผลิตนั้นทำได้เพิ่มมากขึ้น    ซึ่งเมื่อมีโครงการนี้มีความสะดวกในการใช้น้ำมากยิ่งขึ้น  โดยการต่อก๊อกน้ำแล้วเปิด ซึ่งเมื่อก่อน ต้องลำบากดึงน้ำจากคลองด้วยการใช้ปั๊มน้ำทำให้มีค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะค่าไฟเมื่อก่อนผมต้องจ่ายค่าไฟฟ้าบ้าง ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์บ้าง แต่เมื่อมีโครงการของพระองค์ท่านลงมาการต่อน้ำทำได้โดยตรงค่าใช้จ่ายเรื่องของค่าไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์ ในการใช้ปั๊มน้ำค่าน้ำมันก็ไม่มี ทำให้ลดค่าใช้จ่ายอย่างเห็นได้ชัดนอกจากรายได้จากการเพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมันแล้ว ปัจจุบันตนเอง ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากปาล์มน้ำมันทั้งสิ้น 20 ไร่  ผลผลิตของปาล์มน้ำมันปีละ 3.5 ตัน/ไร่/ปี หรือ 3,500 กิโลกรัม ขายเป็นกิโลกรัมตอนนี้อยู่กิโลละ 5 บาท  หรือ 5,000 บาทต่อตัน   โดยส่งขายผลปาล์มตามลานที่เขาเปิดรับซื้อ กองตรวจลานปาล์ม ของสุราษฏร์ธานี ในการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันนั้นตนเองได้แนะนำและขยายผลไปสู่เพื่อนบ้านบ้างโดยการ แนะนำ ให้เขาปรับปรุงใน ส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมีการลดการใช้สารฆ่าแมลงให้กลับมาเป็นอินทรีย์ทั้งหมด ซึ่งเขาก็สนใจค่อนข้างดี

นอกจากนี้ นายจรัสได้น้อมนำเอาแนวเกษตรทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาใช้เช่นกัน โดยพยายามจัดระบบภายในสวน โดยเน้นการใช้เกษตรอินทรีย์มากขึ้นการใช้สารธรรมชาติช่วยธรรมชาติปรับปรุงธรรมชาติ ส่วนเรื่องอบายมุขจะไม่ข้องเกี่ยวถ้าหากว่า ไม่กินเหล้าไม่สูบบุรี่ ไม่ใช้เงินผิดประเภทก็จะทำให้เงินเหลือซึ่งเมื่อก่อนนั้นตนก็สูบบุหรี่ตอนนี้ก็ลดลงไปบ้างแล้ว
ซึ่งจะเห็นว่าหลังจากมีโครงการฯนี้  ทำให้ชีวิตของชาวบ้านที่นี่ดีขึ้นในเรื่องของการอุปโภคบริโภค ทำให้มีมีน้ำใช้สะดวกขึ้น  เมื่อก่อนนั้นเวลาใช้น้ำตนต้องดึงมาจากคลอง ซึ่งอยู่ด้านหลังแต่ตอนนี้ทำการต่อน้ำจากโครงการได้เลย ซึ่งตนนอกจากใช้น้ำ ในการรดต้นปาล์มน้ำมันแล้วในบ้านก็ใช้อาบและใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย จากสิ่งเหล่านี้ที่ได้ผลประโยชน์จากจากโครงการ ถือว่าเป็น ประโยชน์มากเพราะว่าเมื่อก่อนเราเจอความลำบาก พอมีโครงการของพระองค์ท่าน ความสะดวกสบายในเรื่องของน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค จากโครงการของพระองค์ท่าน ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น เมื่อก่อนจะมีผลกระทบมากในช่วงหน้าแล้ง เพราะช่วงหน้าแล้งน้ำขาดจริงๆ พอมีโครงการพระองค์ท่านลงมาไม่ใช่เฉพาะผมแต่เพื่อนๆพี่น้องที่อยู่ที่นี้ 3-4 หมู่บ้านก็ได้รับน้ำได้อย่างทั่วถึง เพราะการบริหาร น้ำจากโครงการนี้

และขอขอบพระคุณพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงพระราชทานโครงการนี้ให้กับพวกเรา อยากจะให้ รุ่นลูก รุ่นหลาน ร่วมกัน รักษาและสืบสานโครงการนี้เอาไว้ อย่าไปทำลายสิ่งที่พระองค์ท่านสร้างให้เพราะมันคือความสะดวกสบาย คือ ชีวิตใหม่ของพวกเรา  สำหรับตนนั้นรู้สึกตื้นตันใจไม่รู้จะพูดบรรยายยังไง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านทำให้พวกเรามีความสุข สำหรับตนขอถวาย คำสัตย์ปฏิญาณต่อพระองค์ท่านว่า “ผมจะดำรงชีวิตอย่างพอเพียง เป็นคนดีของพระองค์ท่าน”

   


ที่มาของข้อมูล :
- เอกสาร กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการทำนบดินห้วยปลายพร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (โครงการก่อสร้าง 1 สำนักชลประทานที่ 15 ตุลาคม 2553)
- เอกสารแจกสื่อมวลชน กิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร "โครงการพิธีส่งมอบการบริหารจัดการน้ำ เพื่อประโยชนสุขปวงประชา" จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 21-22 ตุลาคม 2553 (สำนักงาน กปร.)

 

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.