หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด บ้านโคกอิฐ-โคกใน
จังหวัดนราธิวาส

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

วันที่ 3 ตุลาคม 2533
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการสูบน้ำบ้านโคกกูแว มีพระราชดำริให้ส่งน้ำจากคลองมูโนะให้พื้นที่เกษตรกรรมบ้านโคกกระท่อม บ้านโคกอิฐ-โคกใน และบ้านโคกชุมบก เพื่อใช้ล้างดินเปรี้ยวและปลูกข้าว โดยให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรปรับปรุงดินในพื้นที่บ้านโคกอิฐ-โคกใน เพื่อให้สามารถปลูกข้าวได้ บ้านโคกอิฐ-โคกใน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโคกไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมด 6,915 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม และมีที่ดอนเป็นที่ตั้งชุมชน ลักษณะดินมี 2 ประเภท คือ ดินบนพื้นที่ดอน เป็นทรายจัด มีชั้นดานอินทรีย์แทรกอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 70-100 เซนติเมตร ส่วนบริเวณที่ลุ่มเป็นดินเปรี้ยวจัด มีปัญหาในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ประชากรในหมู่บ้านมี 14 ครัวเรือน มีที่ดินถือครองครอบครัวละ 7-9 ไร่ หรือเฉลี่ย 7.4 ไร่ พื้นที่ทำนาก่อนปี 2533 ถูกทิ้งร้างว่างเปล่าเนื่องจากมีปัญหาดินเปรี้ยว น้ำท่วมและขาดน้ำในช่วงแล้ง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์

วันที่22 สิงหาคม 2534
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรการพัฒนาพื้นที่เพื่อการปลูกข้าวโคกอิฐ-โคกใน

วันที่ 9 ตุลาคม 2539
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแปลงทดสอบถ่ายทอดเทคโนโลยีบ้านโคกอิฐ-โคกใน

วันที่28 กันยายน 2536
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการโคกกูแว ตำบลพร่อน บริเวณพื้นที่ส่งน้ำชลประทาน ที่บ้านโคกอิฐ-โคกใน และบริเวณพื้นที่ขอบพรุที่อาคารบังคับน้ำบางเตย 5 ในเขตโครงการลุ่มน้ำบางนรา จังหวัดนราธิวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่บรรดาราษฎรและข้าราชการทุกคนในที่นั้นรู้สึกซาบซึ้ง และประทับใจไม่รู้ลืมก็คือ
"…แต่ก่อนนี้ เรามายืนตรงนี้…เห็นพื้นที่ที่เขาทำนาน้อยกว่านี้ แต่ว่าเป็นจุดที่เขียวที่สุด…ใช้ได้…นี่ที่มาที่นี่ ดีใจมาก…ที่ทั้งเจ้าหน้าที่ทุกคนร่วมกันทำ…และชาวบ้านร่วมกันทำ…และชาวบ้านร่วมกัน…ช่วยกันทำ…เห็นผลจึงต้องมาที่นี่ จะอธิบายได้…"
"...สภาพพื้นที่ดินเปรี้ยวในบ้านโคกอิฐ และบ้านโคกใน เกษตรกรมีความต้องการจะปลูกข้าว ทางชลประทานได้จัดส่งน้ำชลประทานมาให้ ก็ให้พัฒนาที่ดินเปรี้ยวเหล่านี้ให้ใช้ประโยชน์ได้ และให้ประสานงานกับชลประทาน จะต้องควบคุมระดับน้ำใต้ดินอยู่เท่าใด…"
พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่3 กันยายน 2533
"...เราเคยมาโคกอิฐ-โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้นๆ เขาทำแต่ว่าเขาได้เพียง 5 ถัง 10 ถัง แต่ตอนนี้ได้ขึ้นไปถึง 40-45 ถัง ก็ใช้ได้แล้ว ต่อไปกินจะไม่เปรี้ยวแล้ว เพราะว่าทำให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไรๆ ทำให้เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น อันนี้สิเป็นชัยชนะที่ดีใจมาที่ใช้งานได้แล้ว ชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อข้าว เดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขายได้…"
พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

   
ที่ตั้งของโครงการ : ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

 

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :  
 
ลักษณะโครงการ :  

ผู้ได้รับประโยชน์ :  

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

หลังจากได้รับพระราชทานพระราชดำริแล้ว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นดำเนินการโดยจัดทำเป็นโครงการทดสอบการถ่ายทอดเทคโนโลยีชาวบ้านโคกอิฐ-โคกใน เพื่อนำเทคโนโลยีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดที่ศึกษาจนได้ผลดีแล้วไปดำเนินการถ่ายทอดสู่พื้นที่เกษตรกร ด้วยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่หลายสาขาวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นด้านดิน น้ำ พืช ปศุสัตว์ และประมง ได้เข้าไปดำเนินการ โดยขั้นแรกดำเนินการในพื้นที่ 500 ไร่ ทำการสำรวจพื้นที่วัดระดับสูงต่ำของพื้นที่ หาคุณสมบัติของดิน แล้วนำข้อมูลมาวางแผนว่าควรจะใช้พื้นที่บริเวณที่ลุ่มเป็นบ่อปลา คลองตรงกลางควรใช้เป็นคลองระบายน้ำเปรี้ยวออกจากพื้นที่   ปรับระดับที่นาให้ลาดเทสู่คลองระบาย ทำคันนาใหม่ให้สามารถกักเก็บน้ำได้และปล่อยออกได้เมื่อต้องการระบายน้ำออก แล้วจึงดำเนินการปรับความเป็นกรดของดินด้วยการใช้หินปูนฝุ่นควบคู่ไปกับการใช้น้ำจากคลองชลประทาน เนื้อที่บ้านโคกอิฐ-โคกใน ประมาณ 1,000 ไร่ ใช้ประโยชน์ในการทำนาประมาณ 600 ไร่ และหลังจากการปรับปรุงดินแล้ว เกษตรกรปลูกข้าวได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ และปลูกข้าวติดต่อกันทุกปี

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จัดระบบอนุรักษ์ดินในที่ลุ่ม โดยการขุดยกร่องให้แก่เกษตรกร จำนวนเนื้อที่ 69 ไร่ ดำเนินการร่วมกับเกษตรกรทำแปลงเพาะกล้า โดยใช้พันธุ์ข้าวแนะนำทำการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ได้ปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว และดูแลรักษา ซึ่งเมื่อดำเนินการปลูกข้าวครั้งแรกก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยได้ผลผลิตเฉลี่ย 32 ถัง/ไร่ จากที่ไม่เคยได้รับผลผลิตเลย ผลสำเร็จของการขยายผลการพัฒนาที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนในพื้นที่บ้านโคกอิฐ-โคกใน จนราษฎรสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตสูง 41-50 ถัง/ไร่ มีข้าวพอกินและเหลือขายด้วย นอกจากนั้นยังปลูกผักสวนครัวเป็นรายได้เสริม มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 43,174 บาทต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.6

ในปี 2542 พัฒนาพื้นที่เพื่อปลูกข้าวจำนวน 332 ไร่ ขุดยกร่อง เพื่อปลูกไม้ผลและจัดทำแปลงเกษตรกรแบบผสมผสานจำนวน 5 ไร่ ในปี 2544 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ขยายผลการพัฒนาพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกโดยการขุดยกร่องและทำการเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ และปรับปรุงพัฒนาที่ดินเพื่อการปลูกข้าว จำนวนพื้นที่ทั้งหมด 737 ไร่

 
ความสำเร็จของโครงการ :

ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้พัฒนาปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยวโดยเฉพาะการฟื้นฟูพื้นที่นาร้าง บ้านโคกอิฐ-โคกใน เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร ได้ปลูกข้าว จำนวน 461.72 ไร่ ขุดยกร่องทำการเกษตรผสมผสาน จำนวน 179.46 ไร่ ขุดยกร่องเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน 194.07 ไร่ รวมพื้นที่ที่เกษตรกรใช้ประโยชน์ ทั้งหมด 835.25 ไร่ และในแต่ละปี งานพัฒนาที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกข้าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเกษตรกรบ้านโคกอิฐ-โคกใน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น คณะครู-นักเรียนในบริเวณใกล้เคียง มาร่วมกิจกรรมกันอย่างมากมาย สร้างความคึกคักและขวัญกำลังใจที่จะพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวแห่งนี้ ให้เขียวขจีไปจนเหลืองอร่าม เป็นแหล่งอู่ข้าวให้แก่ราษฎรได้มีกินมีใช้อย่างพอเพียง


   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.