หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการระบบท่อส่งน้ำบ้านซำตาเรือง
จังหวัดจันทบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

โครงการระบบท่อส่งน้ำบ้านซำตาเรืองเป็นโครงการที่สูบน้ำจากโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำจันทบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอ่างเก็บน้ำศาลทราย ส่งให้กับพื้นที่ชลประทานตอนบนของอ่างเก็บน้ำอีกประมาณ 2,185 ไร่ โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำจันทบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอ่างเก็บน้ำศาลทรายนี้เกิดขึ้นตามพระราชดำริเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2531 ณ วัดญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำแม่น้ำจันทบุรีและพระราชดำริ ในเรื่องนี้เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2531 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา สำนักงานกิจกรรมพิเศษได้ทำการศึกษาและจัดทำรายงานเบื้องต้นโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำจันทบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสร็จแล้ว ตามรายงานที่แนบและรายงานดังกล่าวนี้ได้ส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2531 สำหรับโครงการในเขตลุ่มน้ำแม่น้ำจันทบุรีที่สภาพภูมิประเทศมีความเหมาะสมในการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ มีอยู่ 23 โครงการ ซึ่งในจำนวนโครงการทั้งหมดนั้น โครงการอ่างเก็บน้ำศาลทรายเป็น 1 ใน 23 โครงการตามพระราชดำริ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย เป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อจังหวัดจันทบุรี เนื่องจากเป็นแหล่งเก็บกักน้ำขนาดกลางเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนบนของจังหวัด ประกอบกับประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนผลไม้ มีความต้องการใช้น้ำสูงในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้กำลังออกดอกและผล เพราะถ้าผลไม้ขาดแคลนน้ำในช่วงนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโต

            
   
ที่ตั้งของโครงการ : บ้านชำตาเรือง ต. คลองพลู อ. เขาคิชฌกูฎ จ. จันทบุรี
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านการใช้น้ำเพื่อการชลประทานการอุปโภคและบริโภคและกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆ
2เพิ่มแหล่งน้ำเพื่อใช้สำหรับ อุปโภค-บริโภค ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
3เพื่อสนับสนุนและเปิดโอกาสให้มีการสร้างงานใหม่ในท้องที่ชนบทมากยิ่งขึ้น โดยการจัดระบบให้มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้เคียงกับหมู่บ้านและพื้นที่ที่ทำการเกษตรให้เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่สามารถนำน้ำไปใช้อุปโภคและบริโภคทำเกษตรปลูกพืชเศรษฐกิจ และปลูกพืชสวนผักหรือพืชไร่และสวนผลไม้ในฤดูแล้งรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมงเป็นการสร้างอาชีพชาวชนบท และยกระดับรายได้พร้อมคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานตามนโยบายรัฐบาล
4เป็นระบบที่สามารถนำน้ำไปใช้ในพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าได้อย่างมีประสิทธิผล
5เป็นระบบที่สามารถส่งน้ำจากแหล่งน้ำที่มีเกินความต้องการไปยังแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้เคียงแต่ยังขาดแคลนน้ำต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6ในกรณีเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำสามารถควบคุมการใช้น้ำให้เป็นไปตามกฎระเบียบการใช้น้ำที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
7เพื่อเพิ่มผลผลิตที่ได้จากการใช้ที่ดินและใช้แรงงาน โดยการปลูกพืช 2 ครั้ง สำหรับนาข้าวและเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนของส่วนยางและไร่มันสำปะหลังให้เป็นสวนผลไม้ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าการส่งเสริมให้ปลูกยางและผลไม้ที่ผลผลิตสูงโดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
8วัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวการประมงน้ำกร่อย การอุตสาหกรรมและอื่นๆ

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
ลักษณะโครงการ :

พื้นที่โครงการ 3,330  ไร่
พื้นที่ชลประทาน 2,185   ไร่
พื้นที่ประโยชน์ บ้านหมู่ 3, 7 ต.คลองพลู จำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ 100 ครัวเรือน
สถานีสูบน้ำ/เครื่องสูบน้ำ
      ชนิดของอาคารสูบน้ำ                                     หอสูงคอนกรีตเสริมเหล็ก
      เครื่องสูบน้ำ(ชนิด Vertica   Pump)             จำนวน 2 เครื่อง
      ขนาดกำลงเครื่องสูบน้ำ                                 0.70     ลบ.ม./ว
      มอเตอร์ไฟฟ้าชนิด Spuirrel–Cage Induction motor จำนวน2เครื่อง
ท่อส่งน้ำ
      ท่อส่งน้ำหลัก 1 สาย ( MP) ยาว 4.350 กม.
      ท่อส่งน้ำสายแยก 4 สาย (เป็นท่อ pvc ชั้น 8.5 dia. 400-200 มม). 2.395กม                
            สาย 1 L – MP ยาว                         0.971  กม.
            สาย 1L -   1L-MP ยาว                    0.968  กม.
            สาย 1R-1L-MP ยาว                             0.205  กม.
            ลาย2L-1L-MP ยาว                               0.251  กม.
            รวมความยาวท่อส่งน้ำทั้งหมด (รวมข้อต่อสามทาง) 6.745  กม.
อาคารประกอบท่อส่งน้ำ
      อาคารจ่ายน้ำ(off-Take)                                         14           แห่ง
      อาคารท่อลอดคลองธรรมชาติ                                  2            แห่ง
      อาคารท่อข้ามคลองธรรมชาติ(Apueduct)                2           แห่ง
      อาคารระบายตะกอน(Blow-Valve)                          4           แห่ง
      อาคารระบายอากาศ(Air-Valve)                              13          แห่ง
งบประมาณในการก่อสร้าง 25,600,000 บาท


ผู้ได้รับประโยชน์ : เกษตรกรโดยรอบโครงการฯ

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

การจัดทำโครงการดังกล่าวทางกรมชลประทานได้ประชาสัมพันธ์ด้านการบริหารการจัดการน้ำโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมดังนี้
1การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ
2.การจัดการบริหารการจัดการน้ำ
3.การจ่ายค่ากระแสไฟฟ้า
เกษตรกร สามารถปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และข้อตกลงของโครงการระบบท่อส่งน้ำสูบน้ำด้วยไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
การดูแลรักษาระบบท่อและอาคารประกอบ
1.ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตู้ควบคุมก่อนดำเนินการเปิดเครื่องสูบน้ำทุกครั้ง
2.ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่นทุกครั้ง และ ตรวจสอบการหยดของน้ำมันหล่อลื่นทุกครั้งก่อนเปิดเครื่อง
3.ตรวจสอบแรงดันในท่อทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ
4.ตรวจสอบรอยรั่วตามแนวเส้นท่อระหว่างการส่งน้ำ
5.ตรวจสอบหัวจ่ายน้ำและมิเตอร์วัดน้ำทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำตามจุดจ่ายน้ำต่างๆ
6.ช่วยหยุดการส่งน้ำทางโครงการฯ มีการทดสอบเครื่อง 15 วัน/ ครั้ง

 
ความสำเร็จของโครงการ :
เนื่องจากพื้นที่ที่รับประโยชน์ของอ่างเก็บน้ำศาลทรายอยู่ทางตอนล่าง ทำให้เกษตรกรโดยรอบที่อยู่ทางตอนบนของอ่างเก็บน้ำซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรโดยรอบได้รับน้ำไม่ทั่วถึง ทางกรมชลประทานจึงได้ประสานงานกับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์และแจงวัตถุประสงค์การจัดทำโครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรที่อยู่ทางตอนบนของอ่างฯได้
   


ที่มาของข้อมูล หนังสือสื่อมวลชนสัญจร โครงการเฉลิมพระเกียรติ "วิถีพอเพียงตามแนวพระราชดำริ" ครั้งที่ 1/2552
   













ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.