หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเชียงใหม

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร บริเวณที่จะทำการก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ในเขตบ้านปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน เนื่องด้วยอ่างเก็บน้ำห้วยเกี๋ยง และอ่างเก็บน้ำห้วยฮัก พร้อมระบบส่งน้ำ ซึ่งกรมชลประทานได้สร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2523 สำหรับใช้เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนโครงการจัดที่ดินเพื่ออพยพราษฎรออกจากเขตน้ำท่วมของโครงการเขื่อนแม่กวง (โครงการหมู่บ้านจัดสรรเขื่อนแม่กวง) พื้นที่ส่งน้ำประมาณ 2,100 ไร่ ครอบครัวละ 7 ไร่ จำนวน 300 ครอบครัว นั้น ปรากฏว่าอ่างเก็บน้ำ ทั้งสองมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอจะส่งน้ำให้กับพื้นที่จัดสรรดังกล่าวทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี ปัจจุบันจะส่งน้ำให้เฉพาะในฤดูแล้ง และในฤดูฝนเฉพาะ ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงเท่านั้น โดยจะส่งน้ำให้เป็นรอบเวร ประมาณ 7 วันครั้ง ซึ่งแต่ละครอบครัวจะต้องมีบ่อพักน้ำ ประจำบ้าน ไว้ขนาดความจุประมาณ 30 ลูกบาศก์เมตรทุกครอบครัว จึงพิจารณาวางโครงการและก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ พร้อมอ่างบริวารโดยเร่งด่วน แล้วต่อท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ นำน้ำไปเสริมให้กับอ่างบริวารคือ อ่างเก็บน้ำห้วยเกี๋ยง และอ่างเก็บน้ำห้วยฮัก ตามความเหมาะสม เพื่อให้อ่างเก็บน้ำต่างๆ ดังกล่าว มีน้ำส่งให้กับพื้นที่หมู่บ้านจัดสรรเขื่อนแม่กวง พื้นที่ประมาณ 2,100 ไร่

   
ที่ตั้งของโครงการ :

อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ตั้งอยู่ที่บ้านปง หมู่ที่ 6 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1.เพื่อส่งน้ำเสริมให้พื้นที่จัดสรรราษฎรที่อพยพจากเขตน้ำท่วม 300 ครอบครัว จำนวน 2,100 ไร่
2.เพื่อส่งน้ำให้ประปาหมู่บ้านของบ้านปง ซึ่งอยู่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้
3.เพื่อสนับสนุนโครงการปลูกป่าของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 1,200 ไร่

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

-โครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน
-มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 
ลักษณะโครงการ :

อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ขนาดความจุ 1,250,000 ลูกบาศก์เมตรพร้อมระบบท่อส่งน้ำสามารถส่งน้ำให้คลองส่งน้ำห้วยเกี๋ยง และอ่างเก็บน้ำห้วยฮัก อีกทั้งส่งน้ำให้แก่ประปาหมู่บ้านและบริเวณพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 1,200 ไร่ ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2528

 

ผู้ได้รับประโยชน์ :

ราษฎรหมู่บ้านจัดสรรเขื่อนแม่กวง


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ โดยมีรายละเอียดโครงการดังนี้
-พื้นที่รับน้ำ 1,200 ตารางกิโลเมตร
-ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปี 1,250 มิลลิเมตร
-ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเฉลี่ยทั้งปี 3.00 ล้านลูกบาศก์เมตร
-เขื่อนดินสูง 20.00 เมตร
-เขื่อนดินยาว 225.00 เมตร
-ระดับสันเขื่อน +392.00 เมตร(รทก.)
-ระดับน้ำสูงสุด +391.00 เมตร(รทก.)
-ระดับน้ำเก็บกัก +390.00 เมตร(รทก.)
-ระดับท้องน้ำ +772.00 เมตร(รทก.)
-ความจุที่ระดับเก็บกัก 1.25 ล้านลูกบาศก์เมตร
-พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกัก 140 ไร่
-อาคารระบายน้ำล้น 1 แห่ง
-ท่อส่งน้ำเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.30 เมตร ยาว 4.60 กิโลเมตร

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถเก็บกักน้ำได้ถึง 1.25 ลูกบาศก์เมตรและเริ่มเก็บกักน้ำ เมื่อปี 2529 มีการดำเนินการต่างๆ ดังนี้
1.ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้
2.จัดฝึกอบรมกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน หลักสูตร “การพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำสู่ความเข้มแข็ง” โครงการชลประทานเชียงใหม่ เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรในด้านการบริหารจัดการน้ำ การมีส่วนร่วมของเกษตรกร การจัดสรรน้ำ ฯลฯ
3.การพัฒนาและปรับภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ำ
4.ส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้น้ำของเกษตรกรในพื้นที่ เช่น การบวชป่า การเลี้ยงผีขุนน้ำ การสืบชะตาป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นพิธีการทางศาสนาของทางภาคเหนือ
5.รณรงค์เรื่องการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เพื่อรักษาป่าต้นน้ำโดยการจัดตั้ง “ชุมชนคนรักษ์ป่า” จัดรอบเวรในการดูแลรักษา
6.การก่อสร้างป้ายโครงการและศาลาหกเหลี่ยมบริเวณอ่างเก็บน้ำ
7.การจัดฝึกอบรมยุวชลกรเรียนรู้โครงการชลประทานเชียงใหม่

 
ความสำเร็จของโครงการ :

1. ส่งน้ำเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในพื้นที่
2. ส่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค โดยเป็นน้ำต้นทุนในการจัดทำระบบประปาภูเขา และประปาผิวดิน
สามารถทำการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภคได้ตลอดปี ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกหมู่บ้านจัดสรร ดังกล่าวมีรายได้ดีขึ้น พอเลี้ยงครอบครัวได้ นอกจากนั้นควรต่อท่อส่งน้ำจากอ่างเพื่อนำน้ำไปส่งให้กับพื้นที่ลูกเนินท้ายอ่าง สำหรับสนับสนุนโครงการปลูกไม้ฟืน และไม้ผล ของสถาบันเทคโนโลยีเกษตรกรรมแม่โจ้ พื้นที่ประมาณ 1,200 ไร่ และควรพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำซับ บริเวณชายเนินเป็นแห่งๆ ตามความเหมาะสม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ในดินสนับสนุนการปลูกไม้ฟืนและไม้ผลบนพื้นที่ลูกเนินนี้ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ต่อไป

 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.