หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสามขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดลำปาง

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

   
แนวพระราชดำริ :

นายรัตน์ แก้วปัญญา ประธานสภาตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานอ่างเก็บน้ำห้วยสามขา หมู่ที่ 6 บ้านสามขา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2526 สำนักงานชลประทานที่ 2 ได้ทำการตรวจสอบสภาพภูมิประเทศ ปรากฏว่าสามารถจะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ได้ในบริเวณที่ราษฎรกราบบังคมทูลขอพระราชทานได้อย่างเหมาะสม จึงสำรวจและออกแบบ ตลอดจนก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสามขาแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2527

   
ที่ตั้งของโครงการ : บ้านสามขา หมู่ที่ 6 ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำบรรเทาความเดือดร้อนในการขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรและอุปโภค-บริโภค ของราษฎร

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานชลประทานที่ 2
 
ลักษณะโครงการ :

การดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสามขา ประกอบด้วย 
ทำนบดิน
-ทำนบดิน แกนดินเหนียว ขนาด สันทำนบกว้าง 6.00 ม. ยาว 100 ม. สูง 14.00 ม. จำนวน 1 แห่ง โดยมีความจุที่ระดับเก็บกัก 129,000 ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การ 92,000 ลบ.ม.พื้นที่รับน้ำฝนเหนือเขื่อน 7 ตร.กม. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1.627 ล้าน ลบ.ม.
อาคารทางระบายน้ำล้น
-งานทางระบายน้ำล้นแบบรางเปิดคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดสันกว้าง 10.00 ม.
อาคารท่อส่งน้ำฝั่งขวา
-งานท่อส่งน้ำ (ฝั่งขวา) ขนาดท่อ f  0.30 ม. จำนวน 1 แห่ง
อาคารแบ่งน้ำและน้ำตก
-อาคารแบ่งน้ำและน้ำตกแบบรางเท ขนาดกว้าง 1.25 ม. จำนวน 1 แห่ง


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ราษฎรจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 6, หมู่ 5, หมู่ 4 ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 1,500 คน เนื่องจากการทำนาต้องอาศัยธรรมชาติทำให้มีความลำบากในการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม มีความประสงค์จะสร้างอ่างเก็บน้ำในห้วยสามขา ไว้ใช้ในการเกษตรได้ตลอดปี


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
 
ความสำเร็จของโครงการ :

ช่วยในการส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกของราษฎรรวม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสามขา หมู่ 6 บ้านทุ่ง หมู่ 5 และบ้านห้วยมะเกลือ หมู่4 ในเขตพื้นตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ (จากการออกแบบสามารถส่งน้ำในฤดูฝน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 900 ไร่ และในฤดูแล้งประมาณ 100 ไร่ ตามการคำนวณปริมาณน้ำ) พื้นที่รับประโยชน์ในปัจจุบัน 798-1-6 ไร่ ตามจำนวนสมาชิกกลุ่มบริหารการใช้น้ำฯ ทั้งสิ้น 234 ราย ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมชลประทาน ปี 2551 มี ประชากรรวม 645 คน 195 ครัวเรือน (ครัวเรือนเกษตรกร 150 ครัวเรือน คิดเป็น 76.92%)

กิจกรรมการใช้ประโยชน์
ได้จัดตั้งกลุ่มบริหารการใช้น้ำฯ ของกรมชลประทานเมื่อปี 2549 มีวาระคราวละ 2 ปี และเลือกตั้งคณะกรรมการฯ ใหม่ในปี พ.ศ.2551 รวมพื้นที่เพาะปลูกของสมาชิก 234 คน รวมเป็น 798-1-6 ไร่ จากกลุ่มพื้นฐาน 17 กลุ่ม (เหมือง/ฝาย)
โดยมี คณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสามขา  ได้แก่
-นายณรงค์ วงศ์ปัญญา ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำฯ
-นายบุญส่ง บุญเจริญ และ นายบุญหลง ปิงไฟ เป็นรองประธาน
-คณะกรรมการกลุ่มพื้นฐาน (หัวหน้าเหมืองฝาย) 30 คน
-คณะกรรมการที่ปรึกษา ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน , กำนัน , ส.อบต. , นายก อบต. , ประธานสภาอบต. , ผู้แทนโครงการชลประทานลำปาง และ นายอำเภอแม่ทะ
กลุ่มบริหารการใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสามขา ประกอบด้วยหัวหน้าเหมืองฝาย และรองหัวหน้าฯ มีกลุ่มพื้นฐานจำนวนทั้งสิ้น 17 กลุ่มพื้นฐาน ได้แก่ กลุ่ม.
1. เหมืองนาหมาลูกที่  1             10. เหมืองทุ่งหล่ายห้วย                    
2. เหมืองนาหมาลูกที่  2             11. เหมืองนาปัง                    
3. เหมืองนาหมาลูกที่  3             12. เหมืองนาปุย
4. เหมืองนาหมาลูกที่  4             13. เหมืองนาบ่อฮู
5. เหมืองนาใหม่                        14. เหมืองเพลิง
6. เหมืองกลางบ้าน                    15. เหมืองพนัง
7. เหมืองขอก                             16. เหมืองเหล่าป่าจว้าก                    
8. เหมืองห้วยต้นตาล                 17. ฝายทุ่งปงผึ้ง
9. เหมืองกลาง
-การเพาะปลูกในช่วงฤดูฝนมีการปลูกข้าวเหนียว พันธ์สันป่าตอง 1 และ ข้าวเหนียวพันธ์พื้นเมือง(ข้าวดอ) ผลผลิตก่อนมีอ่างเก็บน้ำ ประมาณ 320 กก./ไร่ แต่เมื่อมีอ่างเก็บน้ำแล้ว ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 600 กก./ไร่ ผลผลิตส่วนใหญ่มีไว้เพื่อการบริโภค หากเหลือจากความต้องการถึงจะออกขาย
-การเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง ปลูกพืชไร่ พืชสวนครัว ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น หอม กระเทียม
-ตลอดจนการเพาะปลูกตลอดปี ใช้การปลูกแบบปลอดสารพิษ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยน้ำ ที่ผลิตขึ้นเอง
-การส่งน้ำกระจายเข้าพื้นที่ และการบำรุงรักษาดูแล มีความเป็นระเบียบ ยึดกฎกติกาของกลุ่มเป็นอย่างดี ถึงแม้ในอ่างฯจะมีน้ำน้อยแต่ก็จัดสรรได้อย่างเหมาะสม
-สร้างความชุ่มชื้นให้กับแหล่งต้นน้ำลำธาร เช่น การสร้างฝายแม้วครอบคลุมแหล่งต้นน้ำเป็นจำนวนมาก อีกทั้งใช้วิถีแบบเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาช่วยแก้ไขปํญหาให้ลุล่วงด้วยดี จนปัจจุบันมีความชุ่มชื้นอยู่ทั่วไป อีกทั้งมีน้ำในอ่างเพิ่มมากขึ้น

 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.