หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการระบบระบายน้ำบ้านโคกขามอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดพัทลุง

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดเขียนบางแก้ว บ้านอาพัด หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เพื่อนมัสการพระสงฆ์ถวายจตุปัจจัยธรรม และทรงเยี่ยมราษฎรในครั้งนี้ได้ทรงรับทราบว่าพื้นที่หมู่บ้านอาพัดและหมู่บ้านใกล้เคียงจำนวนรวม 7 หมู่บ้าน ในเขตตำบลจองถนน ตำบลหานโพธิ์ และตำบลเขาชัยสนราษฎรได้ประสบปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากพื้นที่เกิดน้ำท่วม ระยะประมาณ 1-2 เดือน ในช่วยฤดูฝนประกอบกับการระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาได้น้อย ส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรได้รับคามเสียหายประมาณ 5,000 ไร่ นอกจากนี้ในช่วงฤดูแล้งได้ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร อีกทั้งเกิดปัญหาน้ำเค็มจากทะเลสาบสงขลาหนุนเจ้าคลองบางแก้วและคลองปากเพนียดซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตรจากปากคลอง จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าวทำให้ราษฎรต้องประสบกับความยากจน เนื่องจากไม่สามารถประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตรกรรมอย่างเต็มจึงได้มีพระราชเสาวนีย์กับนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ เลขาธิการ กปร. นายสหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักพระราชวังฝ่ายกิจกรรพิเศษ นายประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายเกียรติศักดิ์ สุขวัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มกิจกรรมพิเศษ กรมชลประทาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ร่วมพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรต่อไปด้วยในการนี้เลขาธิการ กปร. ได้กราบบังคมทูลเห็นสมควรตรวจสอบข้อเท็จจริงจัดทำรายงานขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย

วันที่ 4 ตุลาคม 2546 สำนักงาน กปร. ร่วมกับ กรมชลประทาน จังหวัดพัทลุง กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ตลอดจนราษฎรในพื้นที่ ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับสภาพปัญหา ความต้องการ และพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่พบว่า ราษฎรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวรวมจำนวน 895 ครัวเรือน 7 หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่ 3 ตำบล อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

   
ที่ตั้งของโครงการ : ตำบลเขาชัยสน  อำเภอเขาชัยสน  จังหวัดพัทลุง 
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

 

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กรมชลประทาน , สำนักงาน กปร.
 
ลักษณะโครงการ : โครงการระบบระบายน้ำ

ผู้ได้รับประโยชน์ : ราษฎร 7 หมู่บ้าน ในเขตตำบลจองถนน ตำบลหานโพธิ์ และตำบลเขาชัยสน

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสลับกับเนิน เนื้อที่รวม ๑๖,๕๑๑ ไร่ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา พันธุ์ข้าวที่ปลูกคือ พันธุ์เล็บนก และพันธุ์บางแก้วซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของพื้นที่ ส่วนอาชีพรองลงมาได้แก่ การทำสวนผลไม้ ทำไร่ การทำสวนยาง ประมง เลี้ยงสัตว์และประกอบอาชีพรับจ้าง ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน ถือครองที่ดินทำกินเฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ ๕-๑๐ ไร่ บางรายต้องเช่าที่ดินทำกิน เอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินส่วนใหญ่เป็นโฉนด และน.ส.๓ก. น้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ได้มาจากน้ำฝน และจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่คลองบางแก้วและคลองปากพะเนียด ซึ่งมีต้นน้ำมาจากเทือกเขาบรรทัด ไหลรวมกันลงคลองบางแก้ว และคลองปากพะเนียดสู่ทะเลสาบสงขลาบริเวณบ้านอาพัด และบ้านปากพะเนียด ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีแหล่งน้ำผิวดิน ได้แก่ ห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ และแหล่งน้ำใต้ดิน โดยมีการขุดเจาะบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้นมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค – บริโภคเกือบทุกหมู่บ้าน

จากการสอบถามราษฎร กำนัน สมาชิก อบต. ตลอดจนหน่วยงานในพื้นที่พบว่าปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรประกอบด้วย
๑.ปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ เดิมบริเวณดังกล่าวได้ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำอยู่แล้ว โดยน้ำจะท่วมประมาณ ๔-๕ วัน และปริมาณน้ำก็จะลดลงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรของราษฎร แต่ในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมาพบว่า น้ำจะท่วมขังนานขึ้นประมาณ ๑-๒ เดือน โดยมีระดับความสูงวัดจากถนนขึ้นมาประมาณ ๐.๓๐-๐.๔๐ ม. และหากวัดจากที่นาจะมีความสูงประมาณ ๑.๕-๒.๐ ม. ทำให้บ้านเรือนและผลผลิตทางการเกษตรได้แก่นาข้าว พืชสวน พืชไร่ ได้รับความเสียหาย จำนวน ๑๘,๐๐๐ ไร่ (เฉพาะหมู่บ้านเป้าหมาย ๗ หมู่บ้าน ประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่) นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงของราษฎรด้วย จากการสอบถามพบว่าสาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจาก ทรบ. โคกขาม กั้นคลองปากพะเนียด และถนนกั้นขวางทางน้ำไหลก่อนลงทะเลสาบสงขลาทำให้น้ำไม่สามารถระบายได้เต็มที่
๒.ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ราษฎรไม่สามารถประกอบอาชีพทางการเกษตรได้อย่างเต็มที่ ข้าวปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ทำให้เกษตรกรหันไปทำการเกษตรประเภทอื่น เช่น การปลูกยางพารา ซึ่งมีความต้องการน้ำน้อย เป็นต้น
๓.ปัญหาน้ำเค็มจากทะเลสาบสงขลารุกล้ำเข้ามายังคลองบางแก้ว และคลองปากพะเนียด ในช่วงฤดูแล้ง ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร ส่งผลให้ราษฎรที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรที่ต้องใช้น้ำจืดได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
๔.ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ปัจจุบันราษฎรในพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล และบางหมู่บ้านมีน้ำประปาใช้ แต่ประสบปัญหาเนื่องจากคุณภาพของน้ำไม่ดี น้ำขุ่น เป็นคราบ บางแห่งเกิดสนิม ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
๕.ปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพดินเป็นกรด เนื่องจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยขาดการบำรุงรักษา
๖.ปัญหาความยากจนและการว่างงาน เนื่องจากราษฎรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร เมื่อประสบกับปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเค็ม ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างเต็มที่ จึงประสบปัญหาความยากจนมาโดยตลอด ผลจากการสำรวจ จปฐ. พบว่า จากประชากรรวม ๘๙๕ ครัวเรือน มีรายได้ต่ำกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี จำนวน ๕๘๐ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๘๐ 

ความต้องการของราษฎรในพื้นที่
๑.ปรับปรุง ทรบ.โคกขามบริเวณคลองปากพะเนียดให้สามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
๒.ขุดลอกคลองปากพะเนียด และคลองบางแก้ว ตั้งแต่บริเวณด้านท้ายน้ำของทรบ.โคกขาม จนถึงทะเลสาบสงขลาเพื่อให้การระบายน้ำดีขึ้น
๓.บริเวณถนนที่กีดขวางช่องทางน้ำไหล ให้จัดทำท่อลอดเพิ่มเติมเพื่อให้น้ำระบายได้รวดเร็วขึ้น และบริเวณใดที่มีท่อลอดแบบทรงกลม ขอให้เปลี่ยนเป็นท่อแบบสี่เหลี่ยม
๔.ก่อสร้าง ปตร.คลองบางแก้ว และปตร. คลองปากพะเนียด เพื่อป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็ม
๕.ขอให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียดก่อสร้างคลองไส้ไก่ U-SHAPE ไปยังที่ดินทำกินของราษฎร
๖.ก่อสร้างฝายในคลองบางแก้ว (บริเวณบ้านหนองเมา) ช่วงระหว่างหมู่ที่บ้านทุ่งแซะ หมู่ที่ ๕ และบ้านพรุ หมู่ที่ ๗
๗.มีระบบประปาในหมู่บ้าน
๘.ต้องการอาชีพทางการเกษตรเพิ่มเติม ได้แก่ ประมง ปศุสัตว์ ไร่นาสวนผสม ฯลฯ

 
ความสำเร็จของโครงการ :

แนวทางในการแก้ไขปัญหา จากการประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน ทำให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นส่วน ๆ ดังนี้ ให้กรมชลประทานพิจารณาปรับปรุง ทรบ.โคกขาม เดิมมีขนาด ๓ ช่องระบายท่อสี่เหลี่ยมขนาด ๒.๐๐ x ๒.๐๐ เมตร จำนวน ๑ แห่ง ซึ่งกั้นขวางทางน้ำให้สามารถระบายน้ำได้อย่างเต็มที่ และจะช่วยให้พื้นที่รับประโยชน์ของ ทรบ. ดังกล่าวลดปัญหาน้ำท่วมได้

การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎร
     เนื่องจากปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเค็ม ดังกล่าว ส่งผลให้ราษฎรไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างเต็มที่ ทำให้ประสบปัญหาความยากจนและเกิดการว่างงาน ดังนั้นจึงเห็นสมควรส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎรโดยเร่งด่วนดังนี้
ด้านประมง ได้แก่ 
- การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในคอกบริเวณทะเลสาบสงขลา
- การเลี้ยงปลาในบ่อดิน
- ปล่อยสัตว์น้ำ จำพวก ปลา และกุ้งก้ามกรามในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ด้านปศุสัตว์ ได้แก่
- การเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมือง โดยสนับสนุนในลักษณะธนาคารโค- กระบือ 
- การเลี้ยงเป็ดเทศ
ด้านการเกษตร ได้แก่
- การส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์ดี
- ไร่นาสวนผสม 
- การปรับปรุงบำรุงดิน
หลังจากได้ก่อสร้างระบบระบายน้ำบ้านโคกขาม  เสร็จในเดือนกันยายน  2547  ก็เกิดสถานการณ์ฝนตกหนักโดยทั่วไปในจังหวัดพัทลุง  ระหว่างวันที่  31  ตุลาคม  2547  ถึงวันที่  7  พฤศจิกายน  2547  ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมขังโดยทั่วไปในจังหวัดพัทลุง  ซึ่งจากการติดตามผลหลังการก่อสร้างระบบระบายน้ำโคกขาม  บริเวณหมู่ที่  2  (บ้านโคกขาม)  ตำบลเขาชัยสน  หมู่ที่  4  (บ้านอาพัด)  และหมู่ที่  5  (บ้านทุ่งแซะ)  ตำบลจองถนน  อำเภอเขาชัยสน  จังหวัดพัทลุง  ซึ่งเคยเกิดน้ำท่วมเป็นระยะเวลาหลายวันในทุกๆ ปี  ปริมาณน้ำในคลองปากเพนียด  (สะพานบ้านวังหลาม)  วัดได้มากที่สุดในวันที่  6  พฤศจิกายน  2547  วัดได้  41.461  ลูกบาศก์เมตร/วินาที  ปริมาณน้ำส่วนหนึ่งจำนวน  11.204  ลูกบาศก์เมตร/วินาที  ไหลลงสู่คลองพาลายซึ่งได้ขุดลอกแล้ว  สามารถระบายน้ำได้  15  ลูกบาศก์เมตร/วินาที  และปริมาณน้ำอีกส่วนหนึ่งจำนวน  30.257  ลูกบาศก์เมตร/วินาที  ระบายน้ำผ่าน  ทรบ.บ้านโคกขาม  ซึ่งได้ก่อสร้างขยายท่อระบายน้ำและเพิ่มอาคารระบายน้ำล้นเสร็จในเดือนกันยายน  2547  มีความสามารถระบายน้ำได้  55  ลูกบาศก์เมตร/วินาที    ได้ระบายน้ำลงสู่คลองปากเพนียด  ด้านท้าย  ทรบ.บ้านโคกขาม  ที่ได้ขุดลอกแล้ว  สามารถระบายน้ำได้  40  ลูกบาศก์เมตร/วินาที  ออกสู่ทะเลสาบ  ซึ่งจากการเฝ้าติดตามดูการเกิดฝนตกหนักในครั้งนี้  ไม่เกิดสภาวะน้ำท่วมพื้นการเกษตรของราษฎรที่ก่อให้เกิดความเสียหาย  อันเกิดจากน้ำล้นตลิ่งคลองปากเพนียดและคลองพาลาย  ซึ่งเคยเกิดขึ้นทุกปี

 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.