หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยตะเพินอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดกาญจนบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขานุการ กปร. ณ อาคารชัยพัฒนา ในสวนจิตรลดา ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรที่ขาดแคลนน้ำในเขตจังหวัดต่างๆ โดยในจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยตะเพิน ควรพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณตอนบนของห้วยตะเพิน ในเขตอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีทำเลเหมาะสมมากพร้อมกับสร้างฝายทดน้ำทางด้านท้ายอ่างเก็บน้ำดังกล่าวในลำน้ำสายนี้เป็นระยะๆ เพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรตำบลต่างๆ ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนน้ำ และเพื่อช่วยบรรเทาอุทกภัยที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งมักก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตร ตลอดจนทรัพย์สินของทางราชการ และราษฎรอยู่เป็นประจำควรพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำสาขาต่างๆ ของห้วยตะเพิน ในเขตอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เช่น ห้วยพุตะเคียน ห้วยแม่ระวัง และลำห้วยสาขา ห้วยแม่ตะกึง ห้วยตะกวด ห้วยกระพร้อย และห้วยป่าไร่ เป็นต้น เพื่อหาน้ำช่วยเหลือราษฎรในเขตโครงการให้มีน้ำทำการเพาะปลูก และอุปโภค – บริโภคตลอดทั้งปี

   
ที่ตั้งของโครงการ :

บ้านลำเหย หมู่ที่  8  ตำบลหลุมรัง   อำเภอบ่อพลอย   จังหวัดกาญจนบุรี

   
วัตถุประสงค์โครงการ :

เพื่อให้เกษตรกรได้รับการบรรเทา และลดการสูญเสียจากการเกิดอุทกภัย
เพื่อไม่เกิดการกัดเซาะของตลิ่ง
เพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตรฤดูแล้ง ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

กลุ่มงานก่อสร้าง 4 โครงการก่อสร้าง 1 สำนักชลประทานที่ 13

 
ลักษณะโครงการ :  

ผู้ได้รับประโยชน์ : บ้านลำเหย หมู่ที่  8  ตำบลหลุมรัง   อำเภอบ่อพลอย   จังหวัดกาญจนบุรี

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างแหล่งน้ำในลุ่มน้ำห้วยตะเพินจนถึงปัจจุบันแล้วเสร็จทั้งสิ้น 54 แห่ง รวมปริมาตรเก็บกัก 70.80 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์ 57,518 ไร่ ดังนี้

-การพัฒนาแหล่งน้ำในห้วยตะเพิยสายหลัก มีทั้งสิ้น 22 แห่ง ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ฝายทดน้ำ 18 แห่ง และสถานีสูบน้ำ 2 แห่ง รวมปริมาตรเก็บกัก 52.55 ล้าน ลบ.ม. จากอ่างเก๋บน้ำลำตะเพิน 50 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำองค์พระ 2.55 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์ 17,520 ไร่

-การพัฒนาตามลำน้ำสาขาต่างๆของห้วยตะเพิน มีทั้งสิ้น 32 แห่ง ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำ 16 แห่ง ฝายทดน้ำ 16 แห่ง รวมปริมาตรเก็บกัก 18.25 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์ 39,998 ไร่

 
ความสำเร็จของโครงการ : กรมชลประทานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.) ตรวจสอบสภาพพื้นที่แล้วพบว่า ควรก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ บริเวณตอนบนของห้วยตะเพิน พร้อมกับสร้างฝายทดน้ำทางด้านท้ายอ่างเก็บน้ำดังกล่าวในลำน้ำสายนี้เป็นระยะ ๆ และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำสาขาต่างๆ ของห้วยตะเพิน เช่น ห้วยพุตะเคียน ห้วยแม่ระวังรวมถึงลำห้วยสาขา ห้วยแม่ตะกึง ห้วยตะกวด ห้วยกระพร้อย และห้วยป่าไร เป็นต้น

กรมชลประทานวางแผนที่จะพัฒนาเพิ่มเติมโดยจะดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2552-2560 ประกอบด้วย การสร้างอ่างเก็บน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ 5 แห่งคือ อ่างเก็บน้ำห้วยตะกวด อ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อย อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ตะกึง อ่างเก็บน้ำห้วยป่าไร่ และขยายความจุอ่างเก็บน้ำลำอีซู

รวมทั้งยังจะสร้างฝายทดน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ 12 แห่ง ได้แก่ ปรับปรุงฝายทดน้ำบ้านหนองใหญ่ ฝายทดน้ำบ้านยางสูง ฝายทดน้ำบ้านช่องด่าน ฝายทดน้ำบ้านหนองแดง ฝายทดน้ำบ้านรางเข้ ปรับปรุงฝายบ้านท่าแจง ฝายทดน้ำบ้านวังกุ่ม ฝายทดน้ำบ้านหลุมมะกอก ฝายทดน้ำบ้านปากน้ำรัก ฝายทดน้ำบ้านบึงหล่ม ฝายทดน้ำบ้านหลุมรัง และฝายทดน้ำบ้านหนองปรือ นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของการดำเนินโครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำห้วยตะเพิน ไปในพื้นที่แห้งแล้งของอำเภอเลาขวัญ และอำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 2 แห่ง คือระบบผันน้ำจากห้วยตะเพินไปอ่างเก็บน้ำห้วยเทียน อำเภอเลาขวัญ และระบบผันน้ำจากห้วยตะเพินไปอ่างเก็บน้ำหนองนาทะเล อำเภอห้วยกระเจา

 
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักชลประทานที่ 13 กรมชลประทาน ,สำนักงาน กปร. ,นสพ.เดลินิวส์


ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.