หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดอุตรดิตถ์

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :
   
ที่ตั้งของโครงการ : หมู่ 12 บ้านกิ่วเคียน ต. จริม อ.ท่าปลา จ. อุตรดิตถ์
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี เกิดขึ้นจากความเดือดร้อนของราษฎรในเรื่องของน้ำบริโภคอุปโภค และการเกษตรราษฎรจึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีช่วยเหลือราษฎรที่อพยพเมื่อตอนสร้างเขื่อนสิริกิติ์ เมื่อประมาณปี 2515

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :  
 
ลักษณะโครงการ :  

ผู้ได้รับประโยชน์ :
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี หลังการก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยให้ราษฎรในเขต อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึง โดยครอบคลุมพื้นที่แล้งซ้ำซากในเขต ต.น้ำหมัน และ ต.วังดิน อ.เมือง รวม 2,787 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี และมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรในพื้นที่แปลงอพยพจากเขื่อนสิริกิติ์ 4 ตำบลหลัก ได้แก่ ต.จริม ต.ท่าปลา ต.หาดล้า ต.ร่วมจิต และ ต.น้ำหมัน บางส่วน และอีก 3 ตำบล ในเขตพื้นที่ อ.เมืองอุตรดิตถ์ ได้แก่ ต.หาดงิ้ว ต.บ้านด่าน และ ต.แสนตอ รวมพื้นที่ได้รับประโยชน์ 91,080 ไร่ ครอบคลุม 60 หมู่บ้าน โดยใช้น้ำทำการเกษตร 61.60 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี รวมถึงประโยชน์ทั้งด้านการประมง การท่องเที่ยว และการเลี้ยงสัตว์

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :  
 
ความสำเร็จของโครงการ :
พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เป็นประธานการประชุมหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยว ข้อง ณ ห้องประชุม 1 เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี 2548 โดยจะมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี พร้อมระบบผันน้ำ ระบบส่งน้ำ และอาคารประกอบ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรให้แก่ราษฎรในนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน และพื้นที่ใกล้เคียง

ซึ่งเป็นราษฎรที่เสียสละพื้นที่ทำกินในการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ เมื่อปี พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎรและได้ทรงติดตามพร้อมกับพระราชทานความช่วยเหลือมาโดยตลอด ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะได้นำข้อสรุปไปหาทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรต่อไป

นายดนุชา สินธวานนท์ ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงาน กปร. เปิดเผยว่า โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีฯเกิดขึ้นจากความเดือดร้อนของราษฎรในเรื่องของน้ำบริโภคอุปโภค และการเกษตร ราษฎรจึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีช่วยเหลือราษฎรที่อพยพเมื่อตอนสร้างเขื่อนสิริกิติ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2515 จากการนี้ สำนักงาน กปร. จึงเป็นหน่วยงานที่เข้ามาประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าและยังผลตามความต้องการของราษฎรในพื้นที่

“จากการศึกษาด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าผลประโยชน์ที่พึงได้มากกว่าผลเสียที่จะเกิดขึ้น ที่สำคัญจากการเข้าพบปะกับราษฎรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีพบว่า ราษฎรส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่” นาย ดนุชา สินธวานนท์ กล่าว

ทั้งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 การก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปิดกั้นลำน้ำในบริเวณตำบลผาเดือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันสามารถกักเก็บน้ำได้ 9,150 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งได้รับพระราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธยว่า “เขื่อนสิริกิติ์”โดยรัฐบาลได้มีการจัดสรรพื้นที่ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง ทั้งยังให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้แก่ราษฎรเพื่อให้ราษฎร ซึ่งเป็นผู้เสียสละที่ทำกินเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตนเองได้อย่างมีความสุข เช่น การจัดทำระบบชลประทานเข้าสู่แปลงที่ทำกิน การให้ความรู้ในการประกอบอาชีพที่หน่วยราชการต่าง ๆ ได้ร่วมแรงร่วมใจให้การสนับสนุน

เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 38 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยราษฎรในพื้นที่ดังกล่าวมาโดยตลอดโดยได้พระราชทานพระ ราชดำริให้การช่วยเหลือราษฎรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการแก้ไขปัญหาการคมนาคม การพระราชทานแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการพระราชทานอาชีพทั้งการประมง ปศุสัตว์ และการเกษตร พร้อมกับได้ทรงรับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามที่ ราษฎรได้ขอพระราชทานความช่วยเหลือ และได้พระราชทานแนวทางแก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎรมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสุขและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียง อันเป็นการตอบแทนราษฎรที่ได้ช่วยกันสร้างประโยชน์ให้แก่ผืนแผ่นดินไทย ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ จากส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีมีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจยิ่ง

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีเมื่อแล้วเสร็จจะช่วยให้ราษฎรในเขต อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึง โดยครอบคลุมพื้นที่แล้งซ้ำซากในเขต ต.น้ำหมัน และ ต.วังดิน อ.เมือง รวม 2,787 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี และมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรในพื้นที่แปลงอพยพจากเขื่อนสิริกิติ์ 4 ตำบลหลัก ได้แก่ ต.จริม ต.ท่าปลา ต.หาดล้า ต.ร่วมจิต และ ต.น้ำหมัน บางส่วน และอีก 3 ตำบล ในเขตพื้นที่ อ.เมืองอุตรดิตถ์ ได้แก่ ต.หาดงิ้ว ต.บ้านด่าน และ ต.แสนตอ รวมพื้นที่ได้รับประโยชน์ 91,080 ไร่ ครอบคลุม 60 หมู่บ้าน โดยใช้น้ำทำการเกษตร 61.60 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี รวมถึงประโยชน์ทั้งด้านการประมงการท่องเที่ยว และการเลี้ยงสัตว์ ได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย.
   


ที่มาของข้อมูล : กรมชลประทาน ,สำนักงาน กปร. ,นสพ.เดลินิวส์

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.