หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านปูยุดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดสงขลา

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

ตามที่นายเม้ง เจะมะ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ได้มีหนังสือลงวันที่ 28 มีนาคม 2546 ถึงสำนักราชเลขาธิการ ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระมหากรุณา ให้ทางราชการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องการขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภค และการเกษตรของราษฎรกลุ่มบ้านปลายลำไตร ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นกลุ่มหมู่บ้านกันดารตั้งบ้านเรือนอยู่ในหุบเขาราษฎรประมาณ 70 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 490 คน เนื่องจากยังไม่เคยได้รับความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อทำเป็นระบบประปาสำหรับใช้ในฤดูแล้ง สำนักราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือที่  รล 0005.5/10600 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2546 เรียนอธิบดีกรมชลประทานขอให้ตรวจสอบพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่างๆ กรมชลประทานโดยสำนักชลประทานที่16และโครงการชลประทานสงขลาร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่างๆ เสนอแนวทางช่วยเหลือผ่านทางราชเลขาธิการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านปูยุดพร้อมระบบท่อส่งน้ำและถังเก็บน้ำ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 รายละเอียดตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล 0005.5/17711 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547

   
ที่ตั้งของโครงการ : บริเวณบ้านปูยุด หมู่ที่  8 ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
   
วัตถุประสงค์โครงการ :
เพื่อส่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรให้แก่ราษฎรบ้านปูยุด หมู่ที่ 8 ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประชากรประมาณ 490 คน จำนวนครัวเรือน 70 ครัวเรือน มัสยิดจำนวน 1 แห่งพื้นที่การเกษตรประมาณ 120 ไร่ มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี และยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุน สนับสนุนระบบประปาหมู่บ้านของระบบส่งน้ำฝายทดน้ำบ้านปลายลำไตร ที่ดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี 2545 ปัจจุบันระบบส่งน้ำของหมู่บ้านขาดแคลนน้ำในช่วงเดือนเมษายนเป็นระยะเวลา 1 เดือน ได้อย่างเพียงพอ
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
ลักษณะโครงการ :

1.ก่อสร้างทำนบดิน ขนาดหลังคันกว้าง 6.00 เมตร ยาว 150.00 เมตร สูง 23.00 เมตร พร้อมวัสดุกรองในทำนบดิน
2.กิจกรรมปรับปรุงฐานราก งานเจาะและอัดฉีดของผสมเพื่อปรับปรุงฐานราก
3.กิจกรรมทางระบายน้ำล้น  (SERVICE SPILLWAY) ขนาด 1 -   3.00*3.00 ม. ยาว 152.30 เมตร
4.กิจกรรมท่อส่งน้ำ (ท่อเหล็กลอดผ่านทำนบดิน) ขนาด  0.50  เมตร ความยาว 113.00 เมตร

 

ผู้ได้รับประโยชน์ : ราษฎรบ้านปูยุด  หมู่ที่  8  ตำบลคูหา  อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา  ประชากรประมาณ  70  ครัวเรือน  จำนวน  490  คน 

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

จากการตรวจสอบสภาพพื้นที่ราษฎร ได้รับความเดือดร้อนเรื่องน้ำสำหรับกิจกรรมการอุปโภค - บริโภค  และการเกษตร  บริเวณบ้านปูยุด  หมู่ที่  8  ตำบลคูหา  อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา  ราษฎรประมาณ  70  ครัวเรือน ประชากร  490  คน  พื้นที่การเกษตรประมาณ  120 ไร่ และจากการศึกษารายละเอียด สภาพภูมิประเทศ จริงในสนามประกอบกับแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง  5122 II  ลำดับชุด L 7018 พบว่าสามารถพิจารณา ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือราษฎร โดยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบ้านปูยุด  พร้อมระบบส่งน้ำ  และถังเก็บน้ำ สำหรับอุปโภค - บริโภค  โดยมีรายละเอียดลักษณะโครงการดังนี้
อ่างเก็บน้ำและอาคารประกอบ

-พื้นที่รับน้ำฝนเหนืออ่างเก็บน้ำ

1.30

ตารางกิโลเมตร

-ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปี (อำเภอสะบ้าย้อย) 

1,775.50

มม.

-ระดับก้นอ่างเก็บน้ำ (Dead  Storage)  ประมาณ

+ 131.000

รทก.

-ระดับเก็บกักประมาณ

+ 152.000

รทก.

-ระดับน้ำสูงสุด

+ 152.400

รทก.

-ระดับน้ำต่ำสุด

+ 136.000

รทก.

-ระดับหลังทำนบดิน

+ 154.000

รทก.

-ความจุของอ่างเก็บน้ำประมาณ

334,600

ลูกบาศก์เมตร

-ทำนบดินขนาด :กว้าง 6.00 ม.  สูง 23.00 ม. ยาว  150.00  ม.

-อาคาร SURVICE  SPILLWAY   ขนาด  1 - * 3.00 x 3.00  ยาว

152.30

เมตร


 
ความสำเร็จของโครงการ :

สามารถส่งน้ำเพื่ออุปโภค - บริโภคและการเกษตร  ให้แก่ราษฎรบ้านปูยุด  หมู่ที่  8  ตำบลคูหา  อำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา  ประชากรประมาณ  70  ครัวเรือน  จำนวน  490  คน  มัสยิดจำนวน  1  แห่ง  พื้นที่การเกษตรประมาณ  120  ไร่  มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี   และยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุน ระบบประปาหมู่บ้าน ของระบบส่งน้ำฝายทดน้ำบ้านปลายลำไตร  ที่ดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี 2545 ปัจจุบันระบบส่งน้ำ ของหมู่บ้าน ขาดแคลนน้ำในช่วงเดือนเมษายน  เป็นระยะเวลา   1  เดือน  ได้อย่างเพียงพอ

 
   


ที่มาของข้อมูล : www.rid.go.th

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.