หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำเขื่อนป่าสักตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเพชรบูรณ์

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

   
แนวพระราชดำริ :

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำป่าสักตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบูรณ์ เกิดขึ้นเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 และ 25 สิงหาคม 2548 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณา เก็บกักน้ำตอนบนของลำน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักไว้ให้มาก เพื่อใช้ด้านการเกษตร และป้องกันอุทกภัย เนื่องจากปริมาณน้ำเหนือเขื่อนป่าสักมีมาก และให้พิจารณาจัดเก็บให้เหมาะสม

   
ที่ตั้งของโครงการ :

บ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

   
วัตถุประสงค์โครงการ :

เพื่อใช้แก้ปัญหาภัยแล้ง และป้องกันอุทกภัย

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงาน กปร. , กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
ลักษณะโครงการ :

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ เขื่อนแห่งนี้สร้างภายใต้โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 การก่อสร้างเขื่อนป่าสักเริ่มงาน ณ ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ทอดยาวไปถึง ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี ตัวเขื่อนมีลักษณะเป็นเขื่อนดิน แกนดินเหนียว ความยาวประมาณ 4,860 เมตร ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ +43 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ปริมาณ กักเก็บ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 4,860 เมตร ความสูงที่จุดสูงสุด 36.50 เมตร


ผู้ได้รับประโยชน์ :

ประชาชนในแถบจังหวัด ลพบุรี สระบุรี อยุธยา ปทุมธานี และใกล้เคียง


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

กรมชลประทานได้เริ่มทำการก่อสร้างเขื่อนตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2537 เป็นต้นมา การก่อสร้างเขื่อนป่าสักเริ่มหัวงาน ณ ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ทอดยาวไปถึง ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี ตัวเขื่อนมีลักษณะเป็นเขื่อนดิน แกนดินเหนียว ความยาวประมาณ 4,860 เมตร ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ +43 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ปริมาณ กักเก็บ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจำนวน 105,300 ไร่ อยู่ในเขต 2 จังหวัด รวม 4 อำเภอ 15 ตำบล 65 หมู่บ้าน ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบประมาณ 7,700 ครอบครัว แต่เขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักมีประโยชน์อย่างมากต่อส่วนรวม คือเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคของชุมชนต่างๆ ในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเขตสองจังหวัดดังกล่าว 135,500 ไร่ เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเดิมในทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง เนื้อที่ประมาณ 2,200,000 ไร่ เป็นแหล่งน้ำช่วยเสริมเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งยังช่วยป้องกันอุทกภัย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย ถึงแม้ว่าการก่อสร้างเขื่อนได้ส่งผลกระทบต่อราษฎรในจังหวัดลพบุรี และสระบุรี เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่ชาติจะได้รับนั้น นับว่าผลประโยชน์มหาศาลมาก อย่างไรก็ตามราษฎรที่ได้รับผลกระทบ ทางราชการได้อพยพให้ไปอยู่ ณ ที่จัดไว้ให้ ส่วนราษฎรที่ประสงค์จะไปอยู่ใหม่ยังที่ที่ตนต้องการทุกครอบครัวต่างได้รับค่าชดเชยพิเศษจากทางราชการอย่างสูงสุดและครบถ้วน ภาพแห่งความหวังค่อยๆ ปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้นทีละน้อย จากผืนดินอันว่างเปล่ากลายมาเป็นผืนน้ำแห่งความหวังของมวลหมู่ประชากรแถบลุ่มน้ำป่าสักและเจ้าพระยาตอนล่าง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานประกอบพิธีปิดประตูเขื่อนเพื่อเริ่มเก็บกักน้ำ นับจากนั้นเป็นต้นมาปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มเขื่อนแลดูสวยงามเมื่อยามผืนน้ำต้องแสงอาทิตย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาฯพระราชทานชื่อเขื่อนว่า “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 การเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อย่างเป็นทางการ ได้กำหนดให้เป็นพระราชพิธีหนึ่ง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนารถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันพฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542

 

 

ความสำเร็จของโครงการ :

นับจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้สร้างเสร็จ ปัญหาความแห้งแล้ง และอุทกภัยในแถบลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาบางส่วน  ได้ถูกแก้ไข รอยยิ้มเปี่ยมสุขของมวลหมู่ราษฎร ที่ดำเนินวิถีชีวิต แถบจังหวัด ลพบุรี สระบุรี อยุธยา ปทุมธานี และใกล้เคียง ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เกษตรกรมีน้ำเพื่อการเกษตรมีอย่างพอเพียง มีอาชีพประมงเกิดขึ้นใหม่ในพื้นที่ รวมทั้งการจำหน่ายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่มาชมความงามของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์แห่งนี้ ได้เกิดขึ้นตามมาด้วย

 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.