หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอนุรักษ์ป่าและพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดนครพนม

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือที่ รล. 0005.3/8036 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2548 แจ้ง กรมชลประทาน กรณีพระมหาชัยพุทธวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย หมู่ที่ 1 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ขอพระราชทานพระกรุณาในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ป่าและพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้าง ให้เป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดให้ราษฎรมีอาชีพทำการประมงเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา ใช้ในการอุปโภค-บริโภค การเลี้ยงสัตว์ และอนุรักษ์พื้นที่ป่า 907 ไร่ โดยรอบกุดเลาะ เพื่อไม่ให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับโครงการอนุรักษ์ป่าและพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้างไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

   
ที่ตั้งของโครงการ : บ้านนางัว  ตำบลนางัว  อำเภอนาหว้า  จังหวัดนครพนม
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1.เป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด
2.ใช้ในการอุปโภค-บริโภค การเลี้ยงสัตว์ เพื่อไม่ให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า

 

   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงาน กปร. , กรมชลประทาน
 
ลักษณะโครงการ : อ่างเก็บน้ำ

ผู้ได้รับประโยชน์ :

ได้รับประโยชน์ในช่วงฤดูฝน 907 ไร่ จำนวนครัวเรือน 873 ครัวเรือน ประชากร 4,506 คน จำนวน 1 หมู่บ้าน


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

ขุดลอกเพิ่มความจุหนองกุดเลาะประมาณ 150 ไร่ ลึกเฉลี่ย 3.00 เมตร ความจุ 0.776,019ล้านลบ.ม.ขุดลอกภายในหนองประมาณ 50 ไร่ ปรับปรุงขันดินกว้าง 4.00 X 100.00 X 2.00 เมตร พร้อมท่อระบายน้ำขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.40 X 1.50 X 1.50 จำนวน 1 แห่ง ทำนบดินขนาด กว้าง 6.00 X 400.00 X 6.00 เมตร พร้อมอาคารท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1.00 X 1.00 จำนวน 1 แห่ง

 
ความสำเร็จของโครงการ :
"เดิมกุดเลาะกุดกว้าง เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ชาวบ้านจำนวนมากได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งวันที่ 5 ธันวาคม 2545 พระมหาชัยวุฒิ พุทธวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ได้ริเริ่มและจัดทำโครงการอนุรักษ์โคกกุดเลาะเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาครบ 75 พรรษา จึงทำพิธีบวชป่าบายศรีสู่ขวัญป่าปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ป่าแห่งนี้" สมบูรณ์ วะชุม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.นางัว ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกกุดเลาะกุดกว้าง บ้านนางัว ย้อนอดีตความเป็นมาของป่าแห่งนี้ ก่อนขอพระราชทานแนวพระราชดำริพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้าง จากนั้นสำนักราชเลขาธิการขอให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำรวจออกแบบก่อสร้างโครงการตามหลักวิชาวิศวกรรมชลประทาน โดยมอบหมายให้สำนักงานชลประทานที่ 7 เป็นผู้รับผิดชอบ
สมบูรณ์เผยต่อว่า หลังจากพระมหาชัยวุฒิ พุทธวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ขอพระราชทานดำเนินการโครงการอนุรักษ์ป่าและพัฒนาแหล่งน้ำกุดเลาะกุดกว้างให้ เป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำต่างๆ และขอพระบรมราชานุญาตให้ทรงรับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด ให้ชาวบ้านมีอาชีพทำประมงเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ป่า 907 ไร่ เพื่อไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า

 "ประโยชน์ที่ได้รับก็เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านกว่า 873 ครัวเรือน ที่อาศัยอยู่รอบๆ ผืนป่า ได้มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ใช้ทำอาชีพการเกษตร แล้วก็เป็นผลให้ชาวบ้านไม่เข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าโคกกุดเลาะกุดกว้าง"

 พระมหาชัยวุฒิ พุทธวโร ในฐานะผู้ริเริ่มการอนุรักษ์ผืนป่ากุดเลาะกุดกว้าง และเป็นผู้ถวายฎีกาขอพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มองว่า ผลพวงจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้สภาพพื้นที่ป่าตรงนี้เสื่อมโทรม อาจจะโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวบ้าน ส่งผลให้บริเวณตรงหนองน้ำตื้นเขิน มีหญ้า ปลาที่อยู่ตามธรรมชาติก็ไม่สามารถจะวางไข่ได้ 

 "ทุกวันนี้ชาวบ้านดีขึ้น เพราะว่าชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์ ตรงพื้นที่หนองกุดเลาะเมื่อได้รับการพัฒนาได้ทำการขุดลอกพื้นที่แล้วก็ ปล่อยปลาแล้วชาวบ้านก็สามารถจะทำการประมง มีปลาขาย ป่าไม้ก็สมบูรณ์ขึ้น ชาวบ้านก็สามารถเก็บเห็ดขาย เก็บผลผลิตจากป่าขายมีรายได้เกือบตลอดทั้งปี"

 พระมหาชัยวุฒิยอมรับว่า หลังจากมีการขุดลอกหนองน้ำกุดเลาะกุดกว้าง ภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมีการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้ทุกวันนี้มีนกเป็ดน้ำเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่ในอดีตไม่เคยมี กลับมาให้ชาวบ้านได้เป็นกัน

 "อย่างนกเป็ดน้ำ ปัจจุบันมีประมาณเกือบ 1,000 ตัว คงเป็นเพราะว่าไม่ได้มีการรบกวนจากชาวบ้านเหมือนเมื่อแต่ก่อน พอมีการร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาตินกมันก็มาเยอะ อยากให้ราชการเข้ามาช่วยส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และพื้นที่ตรงนี้ให้ใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ ในด้านอุปโภค บริโภค ตรงนี้เป็นแหล่งเลี้ยงควายอยู่แล้ว ถ้ามีแหล่งน้ำก็คงมีการเลี้ยงวัว เลี้ยงควายเพิ่มมากขึ้น" พระนักพัฒนากล่าวย้ำ

 
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน นสพ.คมชัดลึก

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.