หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยอมพาย
จังหวัดเชียงใหม

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
   
แนวพระราชดำริ :

วันที่ 26 มีนาคม 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไป ทอดพระเนตรพื้นที่ดอยอมพาย ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทรงพบว่า พื้นที่ป่าดอยอมพายได้ถูกแผ้วถางทำไร่เลื่อนลอย อย่างกว้างขวาง เป็นจำนวนมากกว่า 1,000 ไร่ และมีแนวโน้มว่าราษฎร จะทำการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อขยายพื้นที่ทำกินเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน และปัญหาดิน ขาดสารอาหาร สำหรับพืชไร่ ทำให้ต้องจับจองที่ดินเพื่อทำ เป็นไร่หมุนเวียน เพิ่มขึ้นครอบครัวละหลายๆ แปลง ถ้าปล่อยให้สถานการณ์การบุกรุก แผ้วถางป่าดำเนินไปเช่นนี้ พื้นที่ป่าไม้ก็จะถูกทำลายลงจนหมดสิ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอยอมพาย ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ ลำแม่ปิงน้อย ระดับความสูง เฉลี่ยประมาณ 1,200 เมตร และยอดสูงสุดมีความสูง 1,480 เมตร จากระดับน้ำ ทะเลปานกลาง มีลำห้วยสายเล็ก ๆ เช่น ลำห้วยแม่ปุ๊ ไหลลงสู่ลำแม่ปิงน้อย และไหลต่อไปยังลำน้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาหลักของลำน้ำแม่ปิง จะส่งผล กระทบให้ลำน้ำแม่ปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของประเทศ ขาดแคลนน้ำต่อไปในอนาคต
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงรับทราบปัญหาดังกล่าว จึงได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรพื้นที่ดอยอมพาย และได้ทรงเชิญ แม่ทัพภาคที่ 3, ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงใหม่, ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, ผู้แทนกรม ชลประทาน, ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 36 และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมเพื่อแก้ปัญหา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรในพื้นที่สูงดอยอมพาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

   
ที่ตั้งของโครงการ : บริเวณดอยอมพาย ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
   
วัตถุประสงค์โครงการ :
1.ทำการจัดตั้ง สถานีพัฒนาการเกษตรในพื้นที่สูงดอยอมพาย เพื่อนำพื้นที่ที่ถูกแผ้วถางแล้วมาทำประโยชน์ให้เกิดผลผลิตสูงสุด เป็นวิทยาลัยของชาวบ้าน และเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการฯ
2.ทำการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้กลับคืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม
3.ทำการอนุรักษ์สภาพป่าที่สมบูรณ์บริเวณพื้นที่ป่าดอยอมพาย ให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์ดังเดิม
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

กองพลทหารราบที่ 4 โดย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7

 
ลักษณะโครงการ :  

ผู้ได้รับประโยชน์ :

ราษฎรในพื้นที่ดอยอมพายครอบคลุมทั้งจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ คือ ชุมชนบ้านสาม หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยท้อน อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลัวะ 34 ครัวเรือน จำนวน 190 คน บ้านเซโดซา หมู่ที่ 9 ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชาวไทยภูเขาเผ่า กะเหรี่ยง 54 ครัวเรือน 317 คน  นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ อาชีพดั้งเดิมทำไร่เลื่อนลอย ทำนา ทำสวน และเลี้ยงสัตว์


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

1.จัดวางข่ายข่าวกรองระดับหมู่บ้านเพื่อหาข่าวเกี่ยวกับการขนย้ายยาเสพติด และการประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย โดยวางข่ายการติดต่อสื่อสารเพื่อให้สามารถช่วยเหลือราษฎรได้ในยามฉุกเฉิน
2.ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด การปลูกพืชผักสวนครัว การทำสวนไม้ดอก ไม้ผล การปลูกพืชเมืองหนาว ปลูกผักปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลงและรู้จักการวางแผนการผลิต มิให้ผลผลิตอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป จนเกิดการล้นตลาดและถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
3.ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีกในหมู่บ้านรอบๆ พื้นที่โครงการฯ ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนไปเลี้ยงชุมชนเมือง ตลอดจนสอนให้ราษฎรรู้จักการป้องกันโรคระบาดของสัตว์
4.ปล่อยพันธุ์ปลาลงในแหล่งน้ำที่กรมชลประทานจะจัดสร้างขึ้น เพื่อให้ราษฎรมีอาหารโปรตีนรับประทานได้อย่างพอเพียง
5.สนับสนุนให้ราษฎรได้รับการฝึกอบรม สามารถช่วยเหลือปฐมพยาบาลขั้นต้นกันเองได้ในยามเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก่อนจะนำไปพบแพทย์และฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กอย่างทั่วถึงทั้งหมู่บ้านตลอดทั้งจัด ให้มียาสามัญประจำ พื้นที่โครงการฯ อย่างพอเพียง
6.จัดการเรียนการสอนให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ในห้องเรียนควบคู่กันไปกับการปฏิบัติ เพื่อให้ราษฎรนำ ไปประกอบอาชีพได้ และเน้นความรู้ด้านประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อให้ราษฎรมีความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เน้นการสอนให้รู้จักอ่านและเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องสอนให้ราษฎรรู้จักการทำมาค้าขายรู้จักต้นทุน -กำไรเรียนรู้การทำบัญชีแบบง่าย ๆ
7.อบรมเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ให้ความรู้แก่ราษฎรและ เยาวชนน้อมนำเอาแนวทางพระราชดำร ิไปในประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
8.ทำการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารเน้นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ถูทำลาย ให้ได้รับการฟื้นฟูกลับคืน สภาพป่า ทีสมบูรณ์ดังเดิม อนุรักษ์สภาพป่าที่สมบูรณ์ และพันธุ์สัตว์ป่าที่ยังเหลือยู่มีโอกาส ได้ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยไม่มีราษฎรไปรบกวน

 
ความสำเร็จของโครงการ :

1.จัดตั้งสถานีทดลองเกษตรในพื้นที่สูง ดอยอมพาย โดยใช้พื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วจำนวน 500 ไร่
2.จัดทำฝายกักเก็บน้ำ บริเวณลำห้วยแม่ปุ๊ และลำน้ำแม่ปิงน้อย เพื่อนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค และทำการ เกษตรได้อย่างต่อเนื่อง
3.ทำการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าที่หมู่บ้านสาม, บ้านผักไผ่, บ้านละอางใต้, บ้านแม่และ และบ้านเซโดซา เพื่อให้ราษฎรทั้ง 5 หมู่บ้าน ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
4.ทำการฝึกอบรมการเกษตรและปศุสัตว์ โดยให้ราษฎรที่มาเข้าร่วมโครงการฯ ทดลองทำการเกษตรผสมผสาน ครอบครัวละ 2 ไร่ ให้ใช้ที่ดินจำกัดให้เกิดผลผลิตพอเลี้ยงตนเองได้ เรียนรู้การทำการ เกษตรปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลง การทำปุ๋ยชีวภาพขึ้นใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิตเรียนรู้การจัดการและการตลาด การรวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์เพื่อไม่ให้ผลผลิตถูกกดราคา การแปรรูปผลผลิตการเกษตร ให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเก็บผลผลิตให้ได้นาน และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
5.ช่วยให้ราษฎรมีงานทำมีรายได้เป็นการช่วยสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ปัญหาความยากจน การว่างงาน การกระจายรายได้ไปสู่ชนบทช่วยให้ราษฎรที่อยู่ใต้เส้นระดับความยากจนให้มีรายได้สูงขึ้นเป็นการให้โอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้น โดยตั้งเป้าหมายว่าในปีแรกของโครงการฯ ต้องให้ทุกครอบครัวมีรายได้สูงกว่าระดับเส้นความยากจน (12,000 บาท/คน/ปี) และเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20 ในปีต่อ ๆ ไป

 
   


ที่มาของข้อมูล : http://royalprojectthai , http://haec03.doae.go.th
ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.