หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ ดอยฟ้าห่มปก
จังหวัดเชียงใหม่

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
   
แนวพระราชดำริ :
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราช ดำเนินบริเวณพื้นที่ดอยป่าคา ลุ่มน้ำแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี แม่ทัพภาคที่ 3, รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 3, ป่าไม้เขตเชียงใหม่ เฝ้าฯ รับเสด็จ ซึ่งบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เหมาะสมจัดทำโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ โดยได้ดำเนินการสำรวจแล้วเห็นว่ามีลักษณะที่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชประสงค์ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้ถวายรายงานเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของ พื้นที่และแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการ ตลอดจนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิธีการให้ “คน” อยู่กับ “ป่า” ได้อย่างยั่งยืน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงวินิจฉัยพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ทรงรับพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสาว จำนวน 16,670 ไร่ เพื่อจัดทำโครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริ” และมีพระราชเสาวนีย์ให้สำนักพระราชวังประสานกับ กองทัพภาคที่ 3, กรมป่าไม้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2544 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินยังพื้นที่ดอยป่าคาลุ่มน้ำแม่สาวอีกครั้งหนึ่ง โดยมีแม่ทัพภาคที่ 3, ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, ป่าไม้เขตเชียงใหม่ เฝ้าฯ รับเสด็จในการนี้โปรดเกล้าฯ ให้นำราษฎรบ้านป่าโหลและบ้านจะนะ ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย ซึ่งอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงโครงการฯ เข้าเฝ้าฯ และทรงพระราชทานความช่วยเหลือเบื้องต้น จำนวน 211 คน
   
ที่ตั้งของโครงการ : หมู่ที่  15  ตำบลแม่สาว   อำเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่
   
วัตถุประสงค์โครงการ : 1.เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ที่ให้ราษฎรที่ยากไร้และสมัครใจเข้าร่วมโครงการฯได้มีที่อยู่ที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง
2.เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตาม แนวทางคนอยู่ร่วมกับป่าในลักษณะ “บ้านเล็กในป่าใหญ่”
3.เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
4.เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อไป
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานงานโครงการ กองทัพภาคที่ 3 โดย กองพลพัฒนาที่ 3
พันโทธีรยุทธ ลิ่มอรุณ หัวหน้าฝ่ายแผนและโครงการ

หน่วยงานร่วมโครงการ
1.กองทัพภาคที่ 3 โดยกองพลพัฒนาที่ 3
2.กรมการปกครอง โดยอำเภอแม่อาย
3.กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16, หน่วยจัดการต้นน้ำดอยผาหลวง, อุทยานแห่งชาติฟ้าห่มปก, สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่   
4.กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 (ส่วยแยกหม่อนไหม), ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่, ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงใหม่
5.กรมส่งเสริมการเกษตร โดยศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงใหม่
6.กรมปศุสัตว์ โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่  
7.กรมประมง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่              
8.กรมพัฒนาที่ดิน โดยสถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่        
9.กรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานเชียงใหม่          
10.กรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย
11.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
12.สำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา โดยหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32
13.กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ 

 
ลักษณะโครงการ :  

ผู้ได้รับประโยชน์ : ประชากร ดอยฟ้าห่มปก ประกอบด้วย 4 ชนเผ่า ได้แก่ เผ่าอาข่า  เผ่ามูเซอ เผ่าลีซอ เผ่ากระเหรี่ยง

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

ด้านการจัดการที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
-ทำการก่อสร้างบ้านตามวิถีชีวิตของชนเผ่า จำนวน 4 เผ่า รวม 41 หลัง
-จัดรูปแปลงนาและรังวัดแบ่งแปลงจำนวน 41 แปลงๆละ 4 ไร่
-ปรับพื้นที่ทำการเกษตรผสมผสานจำนวน 200 ไร่ ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต และปัจจัยพื้นฐาน
-สร้างธนาคารข้าว จำนวน 2 หลัง
-ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมโดยก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ในช่วงที่ลาดชัน
-ส่งเสริมด้านการเกษตรทำการทดสอบการปลูกข้าวไร่ และข้าวนาที่สูงพันธุ์น้ำรู และดรามู-ด๊ะ
-ส่งเสริมปลูกกาแฟพันธุ์อราบิก้า, ชา, พลับ มาส่งเสริมให้ราษฎรทดลองปลูก
-ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสุกรพันธ์เหมยซาน, ไก่พื้นเมือง, เป็ดเทศ เพื่อให้มีอาหารโปรตีนไว้บริโภค และจำหน่ายเป็นรายได้
-สนับสนุนพันธ์ปลานิล, ปลาไน รวมทั้งพ่อ - แม่พันธ์กบบูลฟร๊อก และกบเปอะ
-ทำการทดลองเลี้ยงปลากดหลวงและปลาเรนโบว์เทราท์
-ก่อสร้างฝายเกเบี้ยน จำนวน 1 แห่ง รวมทั้งสร้างบ่อเก็บน้ำความจุ 50,100 และ 1,000 ลบ.ม. พร้อมทั้งจัดสร้างระบบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม
-สนับสนุนถังเก็บน้ำ Fiber glass ขนาด 3,000 ลิตร ให้แก่ราษฎรหมู่บ้านละ 1 ถัง
-จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" โดยจัดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมปลาย โดยมีนักเรียนบางส่วน ได้ส่งไปศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่ รร.ชาวไทยภูเขา อ.เชียงดาว
-สำหรับการส่งเสริมอาชีพ จัดให้มีการฝึกอบรมการทำเครื่องเงิน การปักผ้าอารยธรรม 4 เผ่า การทำแชมพูสระผมและน้ำยาล้างจาน
-ติดตั้งระบบอัดประจุแบตเตอรีไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ให้ทุกครัวเรือน และ เจ้าหน้าที่ในโครงการฯ ทำให้ราษฎรมีไฟฟ้าใช้และสามารถติดตามข่าวสารได้รวดเร็วขึ้น

ด้านสาธารณสุข
-จัดให้มีการอบรม กสค. และ อสม. ส่งผลให้ราษฎรดูแลกันเองได้ในขั้นต้น และมีความ เข้าใจด้านการสาธารณสุขดียิ่งขึ้น
-จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการอย่างต่อเนื่อง

ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางคนอยู่ร่วมกับป่า
-ได้ทำการรังวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์, พื้นที่ป่าฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร, พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อการใช้สอย, พื้นที่ป่าเพื่ออยู่อาศัยทำกิน โดยควบคุมให้เกิดความสมดุลระหว่างคนและทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำกัดให้สอดคล้องกัน
-อบรมให้ความรู้ด้านการป้องกัน และควบคุมไฟป่า นอกจากนี้ยังส่งเสริมการใช้ทรัพยากรจากพืชอาหารและยาจากป่า
-จัดทำธนาคารพืชป่าอาหารชุมชน
-สำรวจศึกษาและรวบรวมพืชสมุนไพรร่วมกับราษฎร
-จัดสร้างฝายต้นน้ำลำธาร( Check dam )
-เพาะชำหญ้าแฝกปลูกกันดินพังทลาย
-ปลูกป่าฟื้นฟูต้นน้ำลำธารบำรุงรักษาป่าเปียกและป่าชุมชนเพื่อการใช้สอยร่วมกับราษฎรในโครงการฯ

ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
-ก่อสร้างหลุมหลบภัยกลุ่มบ้านละ 1 จุด
-ทำการฝึกอบรมราษฎรให้รู้จักการแจ้งเตือน
-การระวังป้องกันตนเองในขั้นต้นพร้อมทั้งปลูกฝังอุดมการณ์ให้ราษฎรมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณมีความรักและหวงแหนในแผ่นดินไทยร่วมกับส่วนราชการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎร โดยเน้นความเป็นอยู่อย่างพอเพียง และให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้นับตั้งแต่จัดตั้งโครงการฯ ในปี 2544 ด้วยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของทุกส่วน ราชการ ทำให้ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้มีสาธารณูปโภคที่พอเพียงแก่การดำรงชีพได้รับการศึกษา และการเรียนรู้สามารถผลิตอาหารทั้งพืชผักและเนื้อสัตว์ไว้บริโภคได้เองรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชน สามารถรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าชุมชนนี้จะสามารถอยู่ร่วมกับป่าและมีชีวิตความเป็นอยู่บนพื้นฐานของความพออยู่พอกิน พึ่งพา ตนเองได้ ตามวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ในพื้นที่ป่าซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร

 
ความสำเร็จของโครงการ : 1.สามารถสนองพระราชดำริ  สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  ที่ทรงห่วงใยราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ชนบทได้มีที่อยู่ที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง
2.ราษฎรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น  มีอาชีพ  พึ่งพาตนเองได้  สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืนและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ดูแลรักษาป่า  ตามแนวทาง  “ บ้านเล็กในป่าใหญ่ ”  โดยราษฎรมีความเป็นอยู่แบบพอเพียงตามวิถีชีวิตของชนเผ่า
3.เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลกรรมวิธีดำเนินการที่ได้ผล  ราษฎรตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำ   ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
4.ราษฎรเกิดความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  มีความหวงแหนในผืนแผ่นดิน  และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ต่อไป   
 
   


ที่มาของข้อมูล : http://kingproject3.com ,www.chiangmai.go.th ,www.dnp.go.th



 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.