หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์ม
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดนราธิวาส

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2531 ความว่า “...ให้ทำการสร้างโรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์มขนาดเล็กขึ้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ...” เพื่อนำผลผลิตปาล์มน้ำมันจากแปลงทดลองของศูนย์ฯ ซึ่งได้ทำการปลูกไว้ 8 ไร่ เมื่อปี 2529 และเริ่มมีผลผลิตมาแปรรูปในเชิงการศึกษาอย่างครบวงจรเพื่อให้เกษตรกรในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงได้เข้าใจ และเห็นประโยชน์ของปาล์มน้ำมันว่าสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อะไรได้บ้างโดยเริ่มจากการสกัดน้ำมันปาล์มในระดับครัวเรือนก่อน

 
 
ที่ตั้งของโครงการ : บ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยา ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส
   
วัตถุประสงค์โครงการ :


   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
 

ลักษณะโครงการ :

ผู้ได้รับประโยชน์ :

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

ปี 2537ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องแยกผลปาล์มออกจากทะลายปาล์มสดเป็นผลสำเร็จและจัดตั้งเครื่องแยกผลปาล์มต้นแบบขนาด 3 ตันทะลายต่อชั่วโมงขึ้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯเพื่อให้ผู้สนใจได้มาศึกษาดูงานต่อไป
ปี 2544 ได้ทดลองนำน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลโดยทดลองใช้กับรถแทรกเตอร์ลากพ่วงนำคณะชมงาน
ปี 2545 ได้ทดลองนำน้ำมันปาล์มดิบแปรรูปเป็นเมทิลเอสเทอร์ (ไบโอดีเซล) เพื่อใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลในเครื่องจักรกลทางการเกษตร และรถยนต์ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เช่น รถแทรกเตอร์ลากพ่วง รถไถเดินตาม รถบรรทุกหกล้อ เป็นต้น
ปี 2548 ได้สร้างสถานีจ่ายน้ำมันไบโอดีเซลโดยติดตั้งปั๊มและหัวจ่ายน้ำมันไบโอดีเซลที่โรงผลิตเมทิลเอสเทอร์
ปี 2550 ได้สร้างเครื่องผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ระดับชุมชน ขนาดกำลังการผลิต 200 ลิตร/ครั้ง

ไบโอดีเซล
ไบโอดีเซล หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากไขพืชหรือไขสัตว์ มีคุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันดีเซลทั่วไป ตรงกับที่จะนำไปใช้ในการจุดระเบิดเครื่องยนต์ดีเซล เป็นสารพวกเอสเทอร์ผลิตจากน้ำมันหรือไขมันของพืชหรือสัตว์ หรือน้ำมันที่เหลือใช้จากการทอดอาหารประเภทจานด่วนนำมาผ่านกรรมวิธีที่เรียกว่าการเปลี่ยนให้เป็น เอสเทอร์ (Transesterification) โดยกรองให้สะอาดแล้วนำมาผสมกับแอลกอฮอล์ (Ethanol หรือ Methanol) เพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยา โดยมีสารพวกด่าง เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นตัวเร่งเพื่อให้แปรรูปเป็นเอททิล หรือเมทิลเอสเทอร์ (ขึ้นอยู่กับชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้) และผลิตภัณฑ์พลอยได้อีกชนิดหนึ่งได้แก่ กลีเซอรอล ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ทำยาและเครื่องสำอาง
น้ำมันไบโอดีเซล ที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล สามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบดังนี้
1.เป็นน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ คือการนำน้ำมันพืช หรือน้ำมันจากสัตว์ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล โดยไม่มีการเติมสารหรือเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำมันแต่อย่างใด
2.น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ผสม เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ ให้ใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียมมากขึ้น เช่นการผสมน้ำมันก๊าดลงในน้ำมันมะพร้าว
3.การนำน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์มาผ่านกระบวนการทางเคมี โดยใช้แอลกอฮอล์ (เมทิลแอลกอฮอล์หรือเอทิลแอลกอฮอล์) กับกรดหรือด่างที่เรียกว่า Transesterification  Process เพื่อเลี่ยนรูปของน้ำมันให้เป็น เอสเทอร์ (Ester) เรียกว่า เมทิลเอสเทอร์ หรือ เอทิลเอสเทอร์ ขึ้นอยู่กับแอลกอฮอล์ที่ใช้ ซึ่งเอสเทอร์นี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล

การแปรรูปปาล์มน้ำมัน เป็นน้ำมันไบโอดีเซล
แบ่งขั้นตอนออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
1.ขั้นตอนการสกัดผลปาล์มน้ำมันเป็นน้ำมันปาล์มดิบ
1.1การเก็บผลปาล์ม เก็บเมื่อผลปาล์มสุกเต็มที่ คือ ผลปาล์มเปลี่ยนจากสีม่วงแก่เป็นสีส้มแดงหรือในช่วงที่ผลปาล์มร่วงจากทะลายปาล์ม ประมาณ 3-4 ผล เป็นช่วงที่ผลปาล์มให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงสุด
1.2การสับเป็นช่อกิ่ง สับทะลายปาล์มออกเป็นช่อกิ่งเพื่อให้ง่ายต่อการปลิดผลปาล์ม
1.3การลำเลียงช่อกิ่ง ช่อกิ่งจะถูกลำเลียงไปยังเครื่องแยกผลปาล์มโดยใช้รางลำเลียง
1.4การแยกผลปาล์มจากช่อกิ่งเครื่องจะทำการแยกผลปาล์มจากช่อกิ่งและขั้วผลออกจากกัน ช่อกิ่งและขั้นผลที่ถูกแยกออกมานำไปทำปุ๋ยหมัก
1.5การลำเลียงลงหม้อทอดส่งผ่านเกลียวลำเลียง นำผลปาล์มร่วงไปยังหม้อทอดสุญญากาศขนาดบรรจุประมาณ 1.000-1,200 กิโลกรัม
1.6การทอดระบบสุญญากาศ โดยใส่น้ำมันดิบ 1.000 ลิตร/ผลปาล์ม 1,000 กิโลกรัม อัตราส่วน(1 : 1) ทอดผลปาล์มที่อุณหภูมิ 90-95 องศาเซลเซียส ใช้เวลาทอดประมาณ 3 ชั่วโมง
1.7การลำเลียงออกจากหม้อทอดสุญญากาศ ถ่ายน้ำมันดิบที่ใช้ทอดไปไว้อีกถัง แล้วเปิดฝาล่างของหม้อทอดสุญญากาศเพื่อลำเลียงผลปาล์มสุกขึ้นไปตามรางเกลียวลำเลียงส่งหีบต่อไป
1.8การหีบผลปาล์ม ผลปาล์มที่ทอดสุกแล้วถูกลำเลียงป้อนเข้าไปสกัดน้ำมันด้วยเครื่องหีบน้ำมันแบบเพลาเดี่ยว เพื่อสกัดน้ำมันรวมจะได้น้ำมันดิบประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์
1.9การกรองน้ำมันดิบที่ได้จะนำไปกรองโดยผ่านเครื่องกรองแบบผ้าอัดหลายชั้น น้ำมันที่ได้เก็บไว้ในถังพักเพื่อรอการแปรรูปต่อไป ส่วนกากปาล์มนำไปเลี้ยงสัตว์โดยตรง หรือผสมกับอาหาร ทำวัสดุเพาะเห็ด ทำเชื้อเพลิง หรือนำไปทำปุ๋ยหมัก

2.ขั้นตอนการแปรรูปน้ำมันปาล์มดิบเป็นไบโอดีเซล
2.1ลดกรด นำน้ำมันปาล์มดิบ 400 ลิตร ใส่ในถังลดกรดสเตนเลส อุณหภูมิน้ำมันปาล์มอยู่ในช่วง 80-85 องศาเซลเซียส ใส่โซดาไฟที่มีความเข้มข้น 30-32 โบเม เพื่อลดกรด เช็คกรดโดยวิธีไตเตรตให้เหลือกรดไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์
2.2ดีกัม แยกสารประกอบพวกกัม (GUMS) ในน้ำมันปาล์มดิบออกโดยอาศัยน้ำและกรดฟอสฟอริก อัตราส่วน 9:1 (น้ำ 9 ลิตร : กรดฟอสฟอริก 1 ลิตร) ต้มจนอุณหภูมิถึง 120องศาC ประมาณ 20-30 นาที โดยกวนไม่หยุด ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมงให้กัมและน้ำตกลงก้นถัง จากนั้นปล่อยน้ำและกัม ลงถังดักไขมัน
2.3ขจัดน้ำออก โดยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 120องศาC ประมาณ 20 นาที โดยมีการกวนเพื่อให้การดำเนินการเร็วขึ้น
2.4ปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอร์ริฟิเคชั่น น้ำมันที่ถูกขจัดน้ำแล้ว ถูกทำให้เย็นลงจนมีอุณหภูมิ 80องศาC จากนั้นเติมเมทานอลและโซดาไฟ อัตราส่วน น้ำมันปาล์มดิบ 100 กก. : เมทานอล 20 กก. : โซดาไฟ 0.75 กก. กวนเพื่อให้เกิดปฏิกิริยา ประมาณ 15 นาที ทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง
2.5ถ่ายกลีเซอรีน กลีเซอรีนจะแยกตัวจากน้ำมัน โดยจะอยู่ที่ก้นถัง ถ่ายกลีเซอรีนใส่ภาชนะ ตั้งทิ้งไว้ เมื่อเย็นตัวลงจะแข็งตัวเป็นของแข็ง
2.6การล้างสิ่งปนเปื้อนออก ล้างด้วยน้ำอุ่นหลายครั้ง ซึ่งการล้างครั้งแรกกระทำโดยการพ่นละอองน้ำลงในด้านบนของถัง เพื่อให้หยดน้ำเล็กๆ พาสิ่งปนเปื้อนตนลงด้านล่างของถัง
2.7การขจัดน้ำออกครั้งสุดท้าย โดยการให้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 120องศาC อย่างน้อย 20 นาทีเป็นการขจัดน้ำที่หลงเหลือในชั้นเมทิลเอสเทอร์
2.8ถ่ายน้ำมันเก็บในภาชนะ ถ่ายน้ำมันที่ผ่านการขจัดน้ำออกครั้งสุดท้าย หลังจากที่ตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิลดลง เก็บใส่ถังขนาดความจุ 1,000 ลิตร เพื่อที่จะนำไปใช้ต่อไป
การใช้น้ำมันไบโอดีเซลหรือเมทิลเอสเทอร์จะมีค่าต่างๆใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล แต่ถ้าใช้ในอุณหภูมิต่ำมาก เมทิลเอสเทอร์จะเป็นของแข็งอุดตันในระบบเครื่องยนต์ เครื่องจักรกลที่ใช้เมทิลเอสเทอร์ (น้ำมันไบโอดีเซล) ได้แก่ เครื่องจักรกลการเกษตรและเครื่องยนต์ดีเซลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เช่น รถแทรกเตอร์ลากพ่วงนำคณะชมงานในศูนย์ฯเครื่องสูบน้ำ รถไถเดินตาม และจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจนำไปทดลองใช้ เช่น รถตู้โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารระหว่างนราธิวาส-หาดใหญ่ และกลุ่มชาวประมงชายฝั่งของบ้านปูลากาปะตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส และกลุ่มชาวประมงชายฝั่งของตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาสจำนวนกลุ่มละ 5 คน ได้เริ่มนำน้ำมันไบโอดีเซลไปใช้กิจการประมงชายฝั่ง การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2544-ปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 20,841 ลิตร

 

ความสำเร็จของโครงการ :

การขยายผลการปลูกปาล์มน้ำมันและการผลิตไบโอดีเซล
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำปาล์มน้ำมันมาทดลองปลูกภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เมื่อปี 2529 โดยปลูกในดินอินทรีย์และดินเปรี้ยวจัด ผลการทดลองปรากฏว่าปาล์มมีการเจริญเติบโตดี ปี 2533 ได้นำปาล์มน้ำมันไปทดลองแปลงเกษตรกรในพื้นที่ดินอินทรีย์ จำนวน 20 ไร่ ที่นิคมสหกรณ์บาเจาะ และในปี 2536 ได้ขยายพื้นที่ปลูกเป็น 1,060 ไร่ในดินอินทรีย์ในเขตพื้นที่นิคมสหกรณ์บาเจาะ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 53 ราย ในปี 2541 เกษตรกรจำนวน 22 ราย ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่โดยใช้งบประมาณของเกษตรกรจำนวน 225 ไร่ ในปี 2542 ทางนิคมสหกรณ์บาเจาะได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน  โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญการปลูกปาล์มน้ำมันจากประเทศมาเลเซียเป็นที่ปรึกษาโครงการ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2542 ถึง 31 สิงหาคม 2543  เป็นเวลา 16 เดือน ในปี 2542  ได้ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด 4,510 ไร่ โดยมีเกษตรกรร่วมโครงการ 255 ราย และปี 2543 ได้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 3,495 ไร่ มีเกษตรกรร่วมโครงการ 191 ราย ในปี 2547 ได้เริ่มโครงการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้ดำเนินการเป็นแผนระยะยาว 3 ปี พื้นที่ 17,299 ไร่ รวมพื้นที่ในการส่งเสริมขยายผลการปลูกปาล์มน้ำมันตั้งแต่ปี 2533 ถึงมีนาคม 2551 รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 39,710 ไร่

 
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักงาน กปร.

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.