หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขี้หินอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดสกลนคร

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

   
แนวพระราชดำริ :
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแข้ กับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยจานตามพระราชดำริ และทรงเยี่ยมราษฎร ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยจาน ในท้องที่หมู่บ้านบ่อแก้ว ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขี้หินว่า “ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยขี้หินโดยเร่งด่วน เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรหมู่บ้านสร้างค้อ และหมู่บ้านใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร พื้นที่ประมาณ 3,500 ไร่ ให้มีน้ำสำหรับการเพาะปลูกได้ตลอดปี ตามที่ราษฎรหมู่บ้านสร้างค้อได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทาน" รายละเอียดตามสำเนาฎีกาที่แนบ
   
ที่ตั้งของโครงการ : โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขี้หิน ตั้งอยู่ที่ บ้านสร้างค้อ ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

เพื่อจัดหาน้ำส่งให้กับพื้นที่เพาะปลูกจำนวนประมาณ 3,500 ไร่ และเพื่อการอุปโภค-บริโภค สำหรับสัตว์เลี้ยง และราษฎร จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านสร้างค้อ , บ้านต้อนใหม่ ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน  จังหวัดสกลนคร  

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
ลักษณะโครงการ :
มีพื้นที่รับน้ำฝนเหนือที่ตั้งเขื่อน 20.00 ตารางกิโลเมตร ปริมาณฝนเฉลี่ยปีละ 1,430 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเฉลี่ยปีละ 8.58 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกัก 0.69 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ผิวน้ำระดับสูงสุด 0.70 ตารางกิโลเมตร ประเภท เขื่อนดิน สูง 16.50 เมตร ยาว 700.00  เมตร สันเขื่อนกว้าง 6.00 เมตร ฐานเขื่อนกว้างที่ระดับท้องน้ำ 96.7 เมตร ปริมาตรน้ำที่ระดับสูงสุด 4.90 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรน้ำที่ระดับเก็บกัก 4.00 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรน้ำที่ระดับต่ำสุด 0.55 ล้านลูกบาศก์เมตร
 
ผู้ได้รับประโยชน์ : ประชาชนและกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยขี้หินฯ
 
ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
เริ่มก่อสร้างปี 2528 สร้างเสร็จปี 2528 วันที่ 18 สิงหาคม 2531 ได้มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ "กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยขี้หินฯ" โดยมีสมาชิกเริ่มแรกจำนวน 42 ราย พื้นที่ดำเนินการ 1,900 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 หมู่บ้าน ปัจจุบันกลุ่มได้มีการขยายพื้นที่ดำเนินการเพิ่มอีก 1,600 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 3,500 ไร่ เพิ่มจำนวนสมาชิกเป็น 120 คน จาก 6 หมู่บ้าน การรวมตัวกันเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยขี้หินฯ ทำให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์มากมาย ทั้งประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อม ตลอดจนกระทั่งถึงชุมชนและภูมิสังคมโดยรอบ เช่น การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง การทำไร่นาสวนผสม การเลี้ยงปลาในกระชัง

มีการนำเงินที่ได้จากทุกกิจกรรม เช่น เงินค่าแรกเข้าของสมาชิก ค่าบำรุงสมาชิกกรณีการใช้น้ำรายปี เงินรางวัล เงินสนับสนุนต่างๆ เป็นต้น มาใช้ในการบริหารจัดการและดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุนอย่างเป็นรูปธรรม โดยกลุ่มได้นำเงินทุน ที่มีอยู่มาหมุนเวียนใช้จ่ายในการดำเนินกิจการงานต่างๆ ของกลุ่มและสมาชิก โดยมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยในราคาถูก เช่น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน สมาชิกกู้ได้รายละ 10,000 บาท ต้องชำระคืนภายใน 6 เดือน รวมไปถึง กันเงินส่วนหนึ่งไปใช้ ในกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม และกิจกรรมสาธารณประโยชน์อื่นๆ เช่น การปลูกป่า การจัดกิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ให้แก่เยาวชน เป็นต้น
 
ความสำเร็จของโครงการ :

กลุ่มผู้ใช้น้ำได้รับรางวัลประเภทอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กดีเด่นระดับประเทศ เมื่อ 2530 และได้นำเงินรางวัลจำนวนหนึ่งมาใช้ในกิจการกองทุนของตนเองได้ต่อมา ภายในโครงสร้างการรวมตัวของกลุ่มผู้ใช้น้ำเอง ก็มีกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่มีการทำงานที่ต่อเนื่องและประสานเชื่อมโยงกัน เช่น กลุ่มการเกษตรกรรมด้วยการปลูกหม่อน เพื่อนำใบหม่อนเหล่านั้นไปใช้เลี้ยงไหมที่อีกกลุ่มหนึ่งในหมู่บ้าน ที่ทำการเพาะเลี้ยง ในขณะ เดียวกันกลุ่มการเลี้ยงไหมนี่เอง ก็จะนำรังไหมที่ได้ส่งไปให้กับกลุ่มผู้ใช้น้ำนี้เป็นต้นแบบของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ดี ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการน้ำ คือ การนำน้ำมาเก็บไว้ที่บ่อประจำไร่นา โดยไม่ปล่อยให้น้ำไหลล้นออกไปโดยเปล่าประโยชน์ ในส่วนของการมีส่วนร่วม พบว่าสมาชิกทุกคนมีบทบาทและหน้าที่ที่ชัดเจน ทั้งการร่วมประชุมผู้ใช้น้ำ การบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำ และระบบส่งน้ำ นอกจากนี้สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำยังได้ร่วมกิจกรรมสาธารณ ประโยชน์อื่นๆ ของชุมชน เช่น การปลูกป่า การถ่ายทอดความรู้เรื่องของการใช้น้ำแก่เยาวชน เป็นต้น ส่วนในด้านความคิดริเริ่ม พบว่า มีการวางแผนการใช้น้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การใช้น้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการปลูกพืชที่สอดคล้องกับกลุ่ม อาชีพอื่นของหมู่บ้าน ที่เห็นชัดเจน คือ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อส่งไหมให้กลุ่มทอผ้า ผลจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สมาชิกมีอาชีพและรายได้ที่เพียงพอ

 
   


ที่มาของข้อมูล : กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ ประชาชนและกลุ่มบริหารการใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยขี้หินฯ
เบอร์ติดต่อ …………………
ที่อยู่ ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.