หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริ
จังหวัดน่าน

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 
แนวพระราชดำริ :

        เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯเยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตร บ่อเกลือสินเธาว์ ณ บ้านบ่อหลวง อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรที่มีความด้อยโอกาส ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม จึงได้มีพระราชดำริให้สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ฯ ดำเนินการช่วยเหลือการพัฒนาในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ โดยเริ่มพัฒนาที่โรงเรียนประถมศึกษาก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงขยายไปยังศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ประกอบด้วย 4 โครงการได้แก่ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน โครงการส่งเสริมสหกรณ์ และโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงโปรดฯ ให้จัดตั้งศูนย์ภูฟ้าพัฒนาขึ้น เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 เพื่อใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาและการถ่ายทอดความรู้การพัฒนาไปสู่พื้นที่ และราษฎรในเป้าหมายท้องที่อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตามพระราชปณิธานของพระองค์

 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

หมู่ที่ 2 บ้านห่างทางหลวงและ หมู่ที่ 3 บ้านผาสุก ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

   
วัตถุประสงค์โครงการ : เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบนพื้นที่สูงและใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อไป
เพื่อการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพของราษฎรและพื้นที่บนที่สูง                            
เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องด้านการตลาด
เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาธรรมชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่น
เพื่อการศึกษาวิจัยถ่ายทอดความรู้การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ยั่งยืน สู่จุดมุ่งหมาย “ คนอยู่ร่วมกับป่า ”
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

สำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน -กรมป่าไม้

 

ลักษณะโครงการ :
ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาดังกล่าวมีพื้นที่ 2,376 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทรงงาน 600 ไร่ พื้นที่การเกษตร 1,776 ไร่ มีเกษตรกรในโครงการ 13 กลุ่ม รวม 127 ครอบครัว

ผู้ได้รับประโยชน์ :

เด็กและประชาชนชาวไทยบนพื้นที่สูง ในอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

"โครงการภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" มีแนวทางการพัฒนา 4 ด้านด้วยกันด้านแรก คือ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในโรงเรียนและศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงโดยทรงต้องการส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาศักยภาพมีสุขภาพแข็งแรงสามารถอ่านออกเขียนได้มีความรู้พื้นฐานอย่างเพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้และยังสามารถเรียนต่อในชั้นสูงต่อไปตามศักยภาพของแต่ละคนการพัฒนาอาชีพเสริมให้กับราษฎร ด้านที่สอง คือ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"ภูฟ้า" ขึ้น ที่ ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2542 เพื่อให้เป็นห้องเรียนและพิพิธภัณฑ์สำหรับเด็ก สามารถศึกษาค้นคว้า ทำโครงงานต่างๆ รวมทั้งเป็นที่เรียนวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้สำหรับประชาชน สอดคล้องกับการพัฒนาด้านที่สาม คือ การส่งเสริมอาชีพภาคเกษตรและอาชีพนอกภาคเกษตร ที่สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ และส่วนด้านที่สี่ คือ ทรงเน้นให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

้ผลการดำเนินงานปี 2543
พื้นที่โครงการ ประมาณ 2,000 ไร่ แผนปฏิบัติงานประจำปี 2545 แผนงาน/กิจกรรม หน่วยวัด ปริมาณงาน
1. ปลูกป่าทั่วไป ไร่ 200
2. งานส่งเสริมการปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 1 งาน
3. บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2-6 ปี 200 ไร่
4. เพาะชำกล้าหญ้าแฝก 50,000 กล้า
5. เพาะชำกล้าหวาย 15,000 กล้า
6. ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 30 แห่ง
7. งานปรับปรุงภูมิทัศน์ 1 งาน
8. จัดฝึกอบรม 1 รุ่น
9. งานบริหารและอำนวยการ 1 งาน


ผลการดำเนินงานปี 2544
1. ปลูกป่าทั่วไป 200 ไร่
2. ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 30 แห่ง
3. ส่งเสริมและสาธิตการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 100 ไร่
4. งานบริหารและอำนวยการ 1 งาน

 

ความสำเร็จของโครงการ :

โครงการภูฟ้าพัฒนา คือโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ในจังหวัดน่าน ด้วยเป้าหมายที่จะนำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน และไม่ส่งผลต่อภาวะสมดุลตามธรรมชาติให้ราษฎรสามารถพึ่งพาตนเองได้ นำไปสู่ผลการพัฒนาประเทศโดยภาพรวม
ผลสำเร็จของโครงการฯ
1 .ราษฎรเรียนรู้การใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเชิงอนุรักษ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
2. ราษฎรมีอาชีพนอกภาคเกษตรที่เชื่อมโยงกับวัตถุดิบ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. ราษฎรมีอาชีพเกษตรในระบบวนเกษตร-ปศุสัตว์-ประมง มีมาตรการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมต้นน้ำ
4. พื้นที่ป่าไม้มีการจัดการที่ดีและมีการอนุรักษ์เพื่อใช้ประโยชน์ทางอ้อม

 
   


ที่มาของข้อมูล : http://mgr.manager.co.th/
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.