หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชี (ขุดลอกหนองโง้ง) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดขอนแก่น

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ ณ จังหวัดขอนแก่น สรุปความว่า ลำน้ำชีในฤดูน้ำหลากน้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งซึ่งเป็นห้วย หนองและบึงตลอดจนพื้นที่สาธารณะมาก เมื่อถึงเวลาน้ำลดน้ำที่ท่วมพื้นที่ดังกล่าวก็ลดตามไปด้วย ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำตามเดิม ให้พิจารณาหาวิธีเก็บกักน้ำให้อยู่ในพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก
ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2540 ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม ณ จังหวัดขอนแก่นให้สำรวจพื้นที่อ่างรอบๆ จังหวัดขอนแก่น เพื่อพิจารณาขุดลอกอ่างเก็บน้ำเสริมคันดินกั้นน้ำให้สูงเพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำในฤดูฝนได้มาก ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำนาปรังได้ รวมทั้งช่วยป้องกันน้ำท่วมตัวเมืองขอนแก่นในฤดูฝนที่มีฝนตกหนัก นอกจากนั้น สามารถจะนำน้ำมาใช้ในโครงการเกษตรน้ำฝนตามแนวทฤษฎีใหม่ได้

 
 
ที่ตั้งของโครงการ : บ้านโนนเขวา หมู่ที่ 3 ตำบลดอนหัน  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1.  เพื่อกักเก็บน้ำในฤดูหลาก ไว้สำหรับใช้อุปโภค – บริโภค และเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง
2.  เพื่อบรรเทาอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก
3.  เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรและการประมง

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน กองทัพภาคที่ 2

 

ลักษณะโครงการ :

ผู้ได้รับประโยชน์ :

 ผลอันเกิดจากการสนองพระมหากรุณาธิคุณทำให้สามารถเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำได้ถึง 41,350,000 ลูกบาศก์เมตร(ล.ลบม.) มีพื้นที่รับประโยชน์ถึง 28,273 ไร่


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

พื้นที่โครงการตั้งอยู่ในเขต ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสลับลูกเนิน มีความสูงอยู่ระหว่าง 150 – 180 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความลาดชันเฉลี่ยของพื้นที่อยู่ระหว่าง 5-10% การจำแนกประเภทดินเป็นดินร่วนปนทราย  
เป็นพื้นที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมพื้นที่รอบๆ หนอง เมื่อถึงเวลาน้ำลด น้ำที่ท่วมก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี พื้นที่รับน้ำฝน 2.50 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,181.00 มิลลิเมตร อัตราการระเหยต่อปี 1,700 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำท่วมเฉลี่ยทั้งปี 590,500 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ขุดลอก 85  ไร่ 

ระยะเวลาก่อสร้าง  1 ธันวาคม ปี 2544  ถึง  7  มิถุนายน  2545                                                             

รายละเอียดโครงการ         
1.  ปริมาณดินขุดลอก               303,940      ลบ.ม.     งานก่อสร้างบันไดหินก่อ         6   แห่ง
2.  ป้ายชื่อโครงการ  (หัวงาน)               1      แห่ง        ป้ายชื่อโครงการ                     1  แห่ง
3.  งานก่อสร้างท่อรับน้ำ                    10      แห่ง        ทางระบายน้ำแบบ “ค”            1  แห่ง

 

ความสำเร็จของโครงการ :

"หนองโง้งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่สุดของหมู่บ้านโนนเขวา ชาวบ้านได้ใช้น้ำทำประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร เลี้ยงสัตว์ แล้วยังได้ใช้ทำน้ำประปาด้วย แต่นั่นหมายถึง หลังจากได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้มีการขุดลอกหนองน้ำแล้ว" นายอภิสิทธิ์ ชุมยางสิม ผู้ใหญ่บ้านโนนเขวา หมู่ 3 ที่ชื่อเดียวกับนายกรัฐมนตรีเริ่มเล่าความเป็นมา
ผู้ใหญ่บ้านโนนเขวา หมู่ 3 บอกว่าประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ 90% เป็นเกษตรกร ทำนาปลูกผักเลี้ยงสัตว์โดยการอาศัยน้ำในหนองโง้งเป็นหัวใจหลักมีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ปี 2540 ขุดลอกไป 7 ไร่ ปี 2544 ขุดลอกอีก 40 ไร่ ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชีฯ โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 6 จนสามารถเก็บกักน้ำได้ถึง 3 แสน 6 หมื่น 5 พันลูกบาศก์เมตร พื้นที่ได้รับประโยชน์จากน้ำดังกล่าวในช่วงหน้าฝน 710 ไร่ ในฤดูแล้ง 142 ไร่
"ชาวบ้านประมาณ 50 ครอบครัวที่อยู่ริมหนองได้รับประโยชน์โดยการปลูกผักหมุนเวียนตลอดทั้งปี ทำให้มีรายได้เพิ่มปีละประมาณ 3 หมื่นบาท ต่อ 1 ไร่ ถ้าทำ 4 ครั้งก็ได้ 120,000 บาท คือ ถ้ามีความขยันหมั่นเพียร มีความมุมานะอดทนตามที่ในหลวงทรงสอนก็จะยิ่งมีรายได้มาก วันนี้เป็นที่แน่ชัดว่าความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น มีคุณภาพ ชีวิตดีขึ้น ส่งลูกหลานเรียนหนังสือได้โดยไม่ต้องไปกู้ยืมใคร มีการสำรวจความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของราษฎร ปี 2550 รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 23,000/คน/ปี รายได้หลักมาจากการเกษตร ทำให้ชาวบ้านมีความสุขในการดำเนินชีวิต เพราะไม่ต้องเป็นหนี้ เพราะไม่ขาดแคลน แต่ไม่ถึงกับร่ำรวยพออยู่พอกินอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง ผลพวงก็ล้วนมาจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงนี้แหละที่ทำให้ชาวบ้านโนนเขวาสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจริงๆ" นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยใบหน้าแย้มยิ้ม
ผู้ใหญ่อภิสิทธิ์บอกด้วยว่าผลผลิตของชาวบ้านส่วนใหญ่คือปลูกหอม ปลูกขึ้นฉ่าย ผักชี คะน้า มีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่เพราะอยู่ไม่ห่างตัวจังหวัด ชาวบ้านจึงไม่ต้องขนไปขายเองแม้จะได้กำไรน้อยลงบ้างก็ตาม
"ผลผลิตที่ทำพอใช้ได้แต่ชาวบ้านได้ปรึกษาหารือกันว่าอาจจะรวมกลุ่มกันทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองเพื่อเป็นการรักษาดินและร่วมกันสร้างผลผลิตปลอดสารพิษให้เป็นหมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือได้มีการปรึกษากันว่าในฐานะที่ได้รับพระราชทานโครงการลอกหนองน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริอันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นนี้รวมทั้งได้พระราชทานหลักการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอันทำให้ทุกคนทุกครอบครัวมีความสุขอย่างยั่งยืน จึงได้ข้อสรุปร่วมกันว่าเราชาวบ้านโนนเขวาจะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นการตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ท่าน" นายอภิสิทธิ์กล่าว

          นายเรืองโชค ชัยดำรงกุล หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและบำรุงรักษาโครงการชลประทานขอนแก่นให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าน้ำที่หนองโง้งนี้เป็นน้ำฝนกับน้ำซึมแล้ว ก็มีน้ำต้นทุนมาจากห้วยชันที่ทอดยาวต่อเชื่อมลำน้ำชีเข้ามา หลังจากขุดลอก แล้วเก็บกักน้ำได้มากขึ้นทำให้มีน้ำเหลือ ใช้ตลอดทั้งปี ทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างต่อเนื่องในการยึดอาชีพการเกษตรโดยมีน้ำให้ใช้ได้
 
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน ,สำนักงาน กปร. , นสพ.สยามรัฐ

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.