หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเพชรบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และ กรมชลประทาน ร่วมกันศึกษาหาวิธีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับขยะมูลฝอย น้ำเสีย และการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ บริเวณตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ประมาณ 1,135 ไร่
 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

   
วัตถุประสงค์โครงการ :

 

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.) กรมชลประทาน

 

ลักษณะโครงการ :

ผู้ได้รับประโยชน์ :

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

1. คณะทำงานได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย รูปแบบของเทคโนโลยีในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านการกำจัดขยะ และการบำบัดน้ำเสีย โดยอาศัยวิธีธรรมชาติช่วยเหลือธรรมชาติ คือ
     1.1 เทคโนโลยีการทำปุ๋ยหมักจากขยะ โดยการฝังกลบในกล่องคอนกรีต
     1.2 เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย
     1.3 เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพืชบำบัด
2. คณะทำงานได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับกลไกการเกิดแผ่นดินงอกจากตะกอนน้ำพัด เนื้อที่ประมาณ 356 ไร่ พร้อมทั้งได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาและลานที่พัก เพื่อใช้สำหรับเป็นที่พักในการเก็บข้อมูลในพื้นที่ รวมทั้งใช้สำหรับการเข้าทัศนศึกษาภายในบริเวณป่าชายเลน
3. สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับสำนักงาน กปร. ได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานคนเดินและศาลาที่พักริมทางเพิ่มเติมระยะทาง 1,100 เมตร เพื่อใช้เป็นทางเดินเข้าศึกษาการเจริญเติบโตของป่าโกงกาง และใช้เป็นเส้นทางการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อการวิจัยและเก็บข้อมูล 
4. สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ประสานงานกับกรมที่ดิน เพื่อดำเนินการขอใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยการซื้อที่ดินจากกรมที่ดินในราคาที่เหมาะสม และดำเนินการออกโฉนดที่ดินในนามของสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา บนที่ดินเนื้อที่ประมาณ 551 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการฯ           

ผลการดำเนินงาน
การดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ภายใต้ความดูแลของสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ในปีงบประมาณ 2549 ได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน 5 แผนงาน ผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้
1. แผนการบริหารจัดการโครงการ   โครงการดำเนินการจ้างบุคคลเพื่อปฏิบัติงานในโครงการจำนวน 57 คน และดำเนินการจัดโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนทักษะ จำนวน 20 โครงการพัฒนาการด้านอารมณ์ จำนวน 2 โครงการและพัฒนาการด้านศีลธรรมจรรยาจำนวน 1 โครงการ รวมทั้งสิ้น 23 โครงการ
2. แผนงานวิจัยสาธิตและพัฒนาปรับใช้เทคโนโลยี โครงการฯ ดำเนินงานวิจัยในปี 2549 มีจำนวนโครงงานวิจัย 34 โครงการ  ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ ในเดือนพฤศจิกายน 2549 แล้วจำนวน 19 โครงการ  และอยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2550 อีกจำนวน 15 โครงการ
3. แผนงานติดตามตรวจสอบโครงการดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานขยายผลโครงการของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ ส่วนภูมิภาค 7 ศูนย์ๆ ละ 1 ครั้ง ได้แก่ ศูนย์ฯ ภาคเหนือ (จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดสุโขทัย) ศูนย์ฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุบลราชธานี) ศูนย์ฯ ภาคตะวันออก (จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดนครนายก)  ภาคตะวันตก (จังหวัดสุพรรณบุรี) และภาคใต้ (จังหวัดตรัง)  โดยมีศูนย์ฯ จังหวัดเพชรบุรีเป็นต้นแบบ
4. แผนงานบริการวิชาการสู่สังคม    โครงการฯ ให้บริการทางวิชาการสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม รวมทั้งสิ้น 23 โครงการ ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ 37 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 โครงการ และยกเลิก 1 โครงการ เนื่องจากบริษัทเอกชนได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการด้านวิศวกรรมแล้ว เมื่อจำแนกประเภทการให้บริการประกอบด้วย การให้บริการแก่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา 10 โครงการ สถานศึกษา 2 โครงการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 โครงการ ส่วนราชการอื่นๆ 4 โครงการ วัด จำนวน 1 โครงการ และหน่วยงานเอกชนอีก 3 โครงการ
5. แผนงานส่งเสริมเผยแพร่โครงการ
     (1) งานประชาสัมพันธ์โครงการดำเนินการจัดนิทรรศการจำนวน  26 โครงการ การจัดประชุมสัมมนา จำนวน 1 โครงการ การผลิตสื่อเผยแพร่โครงการฯ 18 ชนิด จำนวน 83,962 ชิ้นงาน และมีจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการฯ จำนวน 24,014 คน 
     (2) งานถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวน 23 โครงการ ซึ่ง โครงการฯ ดำเนินการจัดการถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 19 โครงการ และฝึกอบรมเทคโนโลยีโครงการฯ จำนวน 4 โครงการ โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 2,560 คน
     (3) งานจัดทำระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล ดำเนินการติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายที่สามารถส่งผ่านข้อมูลโครงการฯ ระหว่างสำนักงานส่วนกลางและสำนักงานเพชรบุรี  ตลอดจนศูนย์ฯ ส่วนภูมิภาคต่างๆ ได้และอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศและฐานข้อมูล

    

 

 

ความสำเร็จของโครงการ :

     ปัจจุบันการดำเนินงานศึกษาวิจัยตามแผนที่กำหนดไว้ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วและสามารถสร้างคู่มือสำหรับประยุกต์ใช้เพื่อเผยแพร่ การศึกษาวิจัยคือ        
1. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการทำแปลงหรือทำบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชน และปลูกพืชน้ำที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ว่าเหมาะสมที่สุด 2 ชนิด คือกกกลม(กกจันทบูรณ์) (Cyperus Corymbosus Rottb.) และ ธูปฤาษี (Typha angustifolia Linn.) ช่วยในการบำบัดน้ำเสียโดยมีลักษณะ การให้น้ำเสีย 2 ระบบ คือระบบปิดเป็นระบบที่ให้น้ำเสียขังได้ในระดับหนึ่งและมีการระบายน้ำเสียเติมลงในระบบทุกวันและระบบเปิดเป็นระบบที่ให้น้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดอย่างต่อเนื่องน้ำเสียใหม่เข้าไปดันน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดออกจากระบบให้ไหลล้นทางระบายน้ำหรือทางระบบท่อใต้ดินสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติซึ่งมีระยะเวลาในการพักน้ำเสีย 1 วัน และพืชที่ปลูกสามารถตัดออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
2. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพืชกรองน้ำเสียเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการทำแปลงหรือทำบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชนและ ปลูกพืชที่ผ่านการคัดเลือกว่า เหมาะสม 3 ชนิด คือ ธูปฤาษีกกกลม (กกจันทบูรณ์) และหญ้าแฝกอินโดนีเซีย ช่วยในการบำบัดน้ำเสียโดยมีลักษณะการให้น้ำเสียคือระบบที่ให้น้ำเสียขังไว้ 5 วันและปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 2 วันและระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดออกจากระบบโดยปล่อยระบายน้ำสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติและพืชที่ปลูกสามารถตัดออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบบำบัดแบบพึ่งพาธรรมชาติโดยอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียและการเติมออกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของแพลงตอนในน้ำเสีย ซึ่งในการออกแบบสามารถรองรับน้ำเสียได้ 4,500-10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีบ่อบำบัดน้ำเสียจำนวน 5 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อผึ่ง 3 บ่อ และบ่อปรับสภาพจำนวน 1 บ่อ ซึ่งคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน
4. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบหญ้ากรองน้ำเสียเป็นการบำบัดโดยการทำแปลงหรือทำบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชนและปลูกหญ้าอาหารสัตว์ที่ผ่านการคัดเลือกว่าเหมาะสม 3 ชนิดช่วยในการบำบัดคือหญ้าสตาร์(Cynodon plectostachyus) หญ้าคาลลา (Letpochloa fusca) และหญ้าโคสครอส (Sporobolus virginicus) มีลักษณะการให้น้ำเสีย คือระบบที่ให้น้ำเสียขังไว้ 5 วัน และ ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 2 วัน และระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดออกจากระบบโดยปล่อยระบายน้ำสู่แหล่งน้ำธรรมชาติและหญ้าเหล่านี้ สามารถตัดออกนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้
5. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบแปลงพืชป่าชายเลนเป็นการบำบัดโดยการทำแปลงเพื่อกักเก็บน้ำทะเลและน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชนและ ปลูกป่าชายเลนด้วยพันธุ์ไม้ 2 ชนิด คือ ต้นโกงกางและ ต้นแสมเพื่อช่วย ในการบำบัดอาศัยการเจือจางระหว่างน้ำทะเลกับน้ำเสียสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนหรือกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีพื้นที่ติดอยู่กับป่าชายเลนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างแปลงพืชป่าชายเลนแต่จะต้องมีบ่อพักน้ำเสียไว้ระยะหนึ่งและทำการระบายน้ำเสียเหล่านั้นสู่พื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ในขณะที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดซึ่งจะเป็นการบำบัดน้ำเสียได้ในระดับหนึ่ง
6. การทำปุ๋ยหมักจากขยะโดยการฝังกลบในกล่องคอนกรีตจากการศึกษาวิจัยและพัฒนาในพื้นที่โครงการได้เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยวิธีการทำปุ๋ยหมักจากขยะด้วยการใช้กล่องและบ่อคอนกรีตโดยอาศัยหลักการ ธรรมชาติช่วยธรรมชาติและเหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนและตามครัวเรือนกล่อง หรือบ่อคอนกรีตที่ใช้ในการหมักขยะสามารถรองรับขยะได้ดังนี้ คือ
     1) กล่องคอนกรีตขนาดกว้าง 2.00 เมตร ยาว 3.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถหมักปุ๋ยจากขยะได้สูงสุดเท่ากับ 6 ลูกบาศก์เมตร หรือ 2,000 กิโลกรัม (2 ตัน)
     2) บ่อคอนกรีตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถหมักปุ๋ยจากขยะ ได้สูงสุด 1 ลูกบาศเมตร หรือ 330 กิโลกรัม
7. แนวทางการจำแนกรูปแบบทางสังคม การประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาเทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริ ซึ่งจากการศึกษาวิจัย สามารถแบ่งลักษณะของชุมชนเป็น 5 กลุ่ม คือชุมชนเกษตรกรรมชุมชนพานิชยกรรมชุมชนอุตสาหกรรมชุมชนท่องเที่ยวและนันทนาการ และชุมชนผสมโดยจะทำให้นักประชาสัมพันธ์และนักสิ่งแวดล้อมศึกษาสามารถวางแผนในการประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้เทคโนโลยีการกำจัดขยะ และบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากวันที่มีพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันดำเนินงานจวบจนวันนี้ความก้าวหน้าของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้เป็นที่ประจักแจ้งว่าบัดนี้สามารถบำบัดน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีได้และมีกระบวนการสร้างองค์ความรู้พัฒนารูปแบบการกำจัดน้ำเสียและขยะ โดยวิธีธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมโดยโครงการได้เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยพร้อมคู่มือสำหรับประยุกต์ใช้และแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมตามหลักวิชาการในการจัดการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมจากน้ำเสียและขยะมูลฝอยดังพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่พระราชทานในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการสัมมนาวิชาการของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2542 ความว่า
"เพื่อหารูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประหยัดไม่สลับซับซ้อนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนต่างๆ ได้ผลการดำเนินงานวิจัยของโครงการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมควรจะนำไปเผยแพร่ให้แก่ประชาชนอันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติต่อไป" (มูลนิธิชัยพัฒนา)

                               
   


ที่มาของข้อมูล : โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ,มูลนิธิชัยพัฒนา

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.