หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการหัตถกรรมไม้เสม็ดขาว
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดนราธิวาส

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

 

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์ไม้เสม็ดไว้โดยทรงมีพระราชดำริ เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2529 ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาสว่า ป่าเสม็ดที่เป็นพื้นที่ของราษฎร ก็ให้เก็บรักษาไว้เป็นที่อยู่อาศัยของนกเป็ดน้ำต่อไป

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ให้นำไม้เสม็ดไปปลูกที่โครงการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2549 รับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนา จัดทำโครงการไม้เสม็ดครบวงจร ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จทรงงาน ณ โรงงานหัตถกรรมไม้เสม็ดขาว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาพันธุ์ไม้เสม็ดจากต่างประเทศ ที่นำมาปลูกที่พรุโต๊ะแดงต่อไป พร้อมทรงแนะนำให้ขยายผลการเพิ่มมูลค่าไม้เสม็ดขาวจากไม้ท่อนมาแปรรูปเป็นไม้แปรรูป และนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ขยายผลสู่ประชาชนรวมทั้งได้ทรงมีพระราชดำริต่อเนื่องในคราวต่อไปมาว่า “ไม้เสม็ด คนอื่นเขามองว่า เป็นไม้เส็งเคร็ง แต่ข้อเท็จจริงเป็นไม้ที่มีประโยชน์มาก หากทำดี ๆ จะเป็นการเพิ่มมูลค่า สร้างงาน สร้างรายได้ในราษฎรได้มาก”

 
 
ที่ตั้งของโครงการ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

เพื่อถ่ายทอดและสาธิตเกี่ยวกับแนวคิดและรูปแบบการแปรรูปไม้เสม็ดสู่ประชาชน เพื่อเพิ่มมูลค่าของเนื้อไม้นำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อสามารถเพิ่มมูลค่าเนื้อไม้ได้ ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ทำให้ประชาชนเกิดแรงจูงใจหันมาปลูกไม้เสม็ดกันมากขึ้น ซึ่งจะมีผลดีต่องานการอนุรักษ์ต่อไป

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
สำนักงาน กปร. และกรมป่าไม้
 

ลักษณะโครงการ :
ศูนย์ฝึกหัตถกรรมไม้เสม็ดขาว

ผู้ได้รับประโยชน์ :
ประชาชนรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส โดยงานป่าไม้ ได้เริ่มทำการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เกี่ยวกับไม้เสม็ดในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยได้ทำการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชาการด้านป่าไม้ กล่าวคือ ทั้งทางพฤกษาศาสตร์ ด้านการปลูก และด้านการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้เพราะตระหนักดีว่าไม้เสม็ดเป็นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในพื้นที่ป่าพรุได้ดี มีมากและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย แต่ในอดีตนั้น การใช้ประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ยังใช้ประโยชน์เฉพาะในรูปแบบง่าย ๆ คือ ใช้เผาถ่าน และทำเสาเข็ม ทั้งที่สามารถเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปนำมาใช้ในงานการก่อสร้างในแบบต่าง ๆ รวมทั้งใบก็สามารถนำมากลั่นสกัดเอาน้ำมันเขียวมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

ซึ่งการดำเนินการศึกษา ทดลอง วิจัย ทั้งหมดนี้ ได้กราบทูลถวายรายงานความก้าวหน้าแด่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อคราวเสด็จทรงงานในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส มาอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบางปี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จทรงงานในพื้นที่ป่าเสม็ดถึง 2 ครั้ง คือ เสด็จลงทรงงานตามทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าเสม็ดที่บ้านกูจำ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2543 และเสด็จทรงงานตามทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าเสม็ดที่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชเสาวนีย์ บ้านรอตันบาตู จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2549

โรงฝึกหัตถกรรมไม้เสม็ดขาว ดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2548 ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดและพันธุ์ไม้ป่าพรุอื่นแบบครบวงจร ด้วยในเบื้องต้นได้รับการสนับสนุนงบประมาณสร้างตัวอาคาร และเครื่องมือต่าง ๆ จากงบยุทธศาสตร์การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และต่อมาสำนักงาน กปร. และกรมป่าไม้ ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณส่วนที่ขาดเพิ่มเติมมาอย่างต่อเนื่อง

 

ความสำเร็จของโครงการ :

ในปัจจุบันโรงฝึกหัตถกรรมไม้เสม็ดขาวมุ่งเน้นการถ่ายทอด และสาธิตเกี่ยวกับแนวคิด และรูปแบบการแปรรูปไม้เสม็ดสู่ประชาชน เพื่อเพิ่มมูลค่าของเนื้อไม้ นำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อสามารถเพิ่มมูลค่าเนื้อไม้ได้ ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ จะเกิดแรงจูงใจหันมาปลูกไม้เสม็ดกันมากขึ้น ซึ่งจะมีผลดีต่องานการอนุรักษ์ต่อไป

 
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักงาน กปร.

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.