หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำยางชุมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสแก่ พลโทประวิตร วงษ์สุวรรณ แม่ทัพภาคที่ 1  และรองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยทรงขอให้สนับสนุนและร่วมมือกับกรมชลประทานในการพิจารณาเพิ่มปริมาณการเก็บกักของอ่างเก็บน้ำยางชุม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่ากุยบุรี ตลอดจนส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พลโทไพศาล กตัญญู แม่ทัพภาคที่ 1 เลขาธิการ กปร. อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปความว่า

1. ให้พิจารณาการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำยางชุม ให้สามารถเก็บกักและระบายออกท้ายเขื่อน โดยไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้างเดิม ให้ทำให้เร็วที่สุด เริ่มหลังฝนนี้ ใช้เวลา 2 ปี เสร็จปี 2548 โดยให้ กปร. สนับสนุนงบประมาณเพื่อเริ่มต้นได้เร็ว และให้พิจารณานำน้ำจากอ่างเก็บน้ำ โดยวางท่อนำน้ำไปทำบ่อพักไว้บริเวณที่เป็นเนินและทำระบบกระจายน้ำและนำน้ำไปใช้ประโยชน์

2. ให้พิจารณาก่อสร้างฝายต้นน้ำ (Check Dam) และสระน้ำขนาดเล็กตามลำห้วยในพื้นที่เหนืออ่างเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ ซึ่งจะช่วยชะลอน้ำไม่ให้เกิดน้ำท่วม เกิดความชุ่มชื้นและช้างมีน้ำกินด้วย

3. ให้กองทัพภาคที่ 1 กรมชลประทาน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงาน กปร. ร่วมกันแก้ไขปัญหาผลกระทบของโครงการและช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้าง

 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

หมู่ที่ 6 บ้านยางชุมเหนือ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1. เป็นแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ทำการเพาะปลูก อุปโภค-บริโภค ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง
2. ช่วยบรรเทาอุทกภัยในบริเวณลุ่มน้ำกุยบุรี
3. ช่วยผลักดันน้ำเค็มในคลองกุยบุรีในช่วงฤดูแล้ง
4. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและเป็นสถานที่ท่องเที่ยว

 

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
สำนักชลประทานที่ 14 กรมชลประทาน
 

ลักษณะโครงการ :
โครงการชลประทานขนาดกลาง

ผู้ได้รับประโยชน์ :

ราษฎรโดยรอบพื้นที่ชลประทานประมาณ 20,300 ไร่


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

ระยะเวลาดำเนินงาน
- ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ครั้งแรก เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2523 รวมระยะเวลา 8 ปี เป็นเขื่อนดินขนาดสูง  23.00  เมตร  ยาว 1,500 เมตร   สันเขื่อนกว้าง 8.00 เมตร  ความจุ 32.00 ล้านลูกบาศก์เมตร มีระบบส่งน้ำคลองสายใหญ่ฝั่งขวาและฝั่งซ้ายยาวรวมประมาณ 24.00 กิโลเมตร   พื้นที่ชลประทาน 15,300 ไร่

ลักษณะโครงการประกอบด้วย
3.1 ตัวเขื่อน
- เป็นเขื่อนดินชนิด ( ZONE TYPE ) สันเขื่อนกว้าง 9.00 เมตร สูง 26.00 เมตร ยาว 1,540 เมตร
- ระดับสันเขื่อน + 89.000 เมตร ( รทก. )
- ระดับน้ำสูงสุด + 86.450 เมตร ( รทก. )
- ระดับน้ำเก็บกัก + 84.800 เมตร ( รทก. )
- ระดับน้ำต่ำสุด + 72.000 เมตร ( รทก. )
- ปริมาณน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด 51.58 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ปริมาณน้ำที่ระดับน้ำเก็บกัก 41.10 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ปริมาณน้ำที่ระดับน้ำต่ำสุด 4.00 ล้านลูกบาศก์เมตร
3.2 อาคารประกอบ
- อาคารระบายน้ำล้น ( SPILLWAY ) แบบ OGEE WEIR รูปตัวยู กว้าง 39.00 เมตร ยาว 175 เมตร
สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 650 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
- อาคารท่อระบายน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายขนาด ? 0.80 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 3.50 ลูกบาศก์เมตร
ต่อวินาที
- อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิมขนาด ? 1.00 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 5.80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
3.3 ระบบส่งน้ำ
- ประกอบด้วยคลองส่งน้ำสายต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 4 สาย มีความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 27.00 กิโลเมตร
- ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ครั้งสอง ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำตามแนวพระราชดำริ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2548 รวมระยะเวลา 2 ปี

     กรมชลประทานได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริโดยการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุม คณะทำงานได้ทำการศึกษาและสรุปว่า ควรเพิ่มระดับเก็บกักน้ำอีก 2.00 เมตร  จากเดิมระดับ  +82.800  เมตร (รทก.) เป็น +84.800  เมตร  (รทก.)  และเพิ่ความสูงเขื่อนอีก 3.00 เมตร จากเดิมระดับ  +86.000  เมตร (รทก.) เป็น +89.000  เมตร  (รทก.) ทำให้ความจุอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอีก  9.10  ล้านลูกบาศก์เมตร  ( เดิมมีความจุ  32.00  ล้านลูกบาศก์เมตร  เพิ่มเป็น  41.10  ล้านลูกบาศก์เมตร )  และมีพื้นที่น้ำท่วมบริเวณอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้นประมาณ 1,125 ไร่  ( เดิมพื้นที่น้ำท่วม  2,687.5  ไร่ เพิ่มเป็น  3,812.5  ไร่ )  มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากน้ำท่วมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถสร้างความชุ่มชื้นในป่าโดยรอบ ทำให้ช้างป่ามีแหล่งน้ำกินและสามารถเพิ่มพื้นที่การเกษตรได้อีก 5,000 ไร่  (จากเดิม 15,300 ไร่ เพิ่มเป็น 20,300  ไร่) รวมทั้งสามารถช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับลุ่มน้ำกุยบุรีได้
การดำเนินงานก่อสร้างโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุม อันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น ทรงมีพระราชดำริให้ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี ( พ.ศ.2547 ถึง พ.ศ.2548 ) ซึ่งมีรายละเอียดกิจกรรมที่ดำเนินงานสรุปได้ดังนี้
1. กิจกรรมปรับปรุงเขื่อนดิน โดยเสริมทำนบดินเพื่อเพิ่มความสูงของตัวเขื่อนจากเดิมอีก 3.00 เมตร เป็นความสูง 26.00 เมตร ความกว้างสันเขื่อน 9.00 เมตร ความยาวสันเขื่อน 1,540.00 เมตร สามารถเพิ่มระดับการเก็บกักน้ำขึ้นอีก 2.00 เมตร ทำให้ความจุของอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 41.10 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือความจุเพิ่มขึ้น 9.10 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. กิจกรรมอาคารระบายน้ำล้น ( Spillway ) โดยปรับปรุงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กรูปตัวยู ( U ) ชนิด Ogee Weir ความยาวสันฝาย 175.00 เมตร กว้าง 39.00 เมตร ระบายน้ำได้สูงสุด 650.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
3. กิจกรรมปรับปรุงอาคารท่อระบายน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ( Canal Outlet ) โดยขยายความยาวท่อด้านท้ายอาคารท่อระบายน้ำขนาด 1 - ? 1.50 เมตร ระบายน้ำได้ 3.50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
4. กิจกรรมก่อสร้างอาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิม ( River Outlet ) โดยก่อสร้างอาคารท่อระบายน้ำ Steel Liner หุ้มด้วยคอนกรีต ขนาด 1 - ? 1.00 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 5.80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
5. กิจกรรมก่อสร้างส่วนอื่นๆ โดยดำเนินการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน และปรับปรุงถนนทดแทนถนนเดิมที่ถูกน้ำท่วม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารถเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำขึ้นอีก  9.10  ล้านลูกบาศก์เมตร  ( เดิมมีความจุ  32.00  ล้านลูกบาศก์เมตร  เพิ่มเป็น  41.10  ล้านลูกบาศก์เมตร )
2. สามารถสร้างความชุ่มชื้นในป่าโดยรอบ ทำให้ช้างป่ามีแหล่งน้ำกิน
3.และสามารถเพิ่มพื้นที่การเกษตรได้อีก 5,000 ไร่  (จากเดิม 15,300 ไร่ เพิ่มเป็น 20,300  ไร่) รวมทั้งสามารถช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับลุ่มน้ำกุยบุรีได้

 

ความสำเร็จของโครงการ :

     ภายหลังที่ได้รับพระราชทานพระราชดำรัสให้มีการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำยางชุม กรมชลประทานได้เสริมระดับการเก็บกักน้ำขึ้นอีก 2 เมตร ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ สามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และลดปัญหาอุทกภัย 
เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะสื่อมวลชนจาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้เดินทางศึกษาดูงานโครงการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำยางชุมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.กุยบุรี จ.ประจวบคิรีขันธ์ ซึ่งเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำยางชุม เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2546 กรมชลประทานได้เข้าดำเนินการศึกษา ได้ข้อสรุปในการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุมให้เก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มระดับการเก็บกักน้ำขึ้นอีก 2 เมตร และเพิ่มความสูงของเขื่อนขึ้นอีก 3 เมตร ทำให้ได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีก 9.10 ล้านลูกบาศก์เมตร จากเดิมเก็บกักน้ำได้ 32 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มเป็น 41.10 ล้าน ลบ.ม.
     โครงการดังกล่าวสามารถช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกกว่า 20,000 ไร่ จนทำให้มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยสับปะรดได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 10 ตัน/ไร่/ปีจากเดิมให้ผลผลิตเพียง 3 ตัน/ไร่/ปี มะม่วงให้ผลผลิต 5 ตัน/ไร่/ปี จากเดิมให้ผลผลิตเพียง 3 ตัน/ไร่/ปี นอกจากนี้เกษตรกรสามารถปลูกฝรั่งและหน่อไม้ฝรั่งได้ผลผลิตที่สูงเช่นเดียวกัน ผลของการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำยางชุม ยังส่งผลต่อพื้นที่ป่าไม้บริเวณป่าใกล้เคียงมีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ช้างป่าเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญลดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ได้อีกด้วย ปัจจุบันการบริหารจัดการน้ำ อยู่ภายใต้การบริหารงานของสหกรณ์การเกษตรชลประทานยางชุม จำกัด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้สมาชิกและเกษตรกรผู้ใช้น้ำได้รับการจัดสรรปันส่วนน้ำอย่างเป็นธรรมทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงติดตามความก้าวหน้าโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำยางชุมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมทั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรทางระบายน้ำล้นเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2548 ทรงทอดพระเนตรผลการดำเนินโครงการด้วยความพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง (สวท.พะเยา สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 )  
  

 
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักชลประทานที่ 14 กรมชลประทาน ,สำนักงาน กปร. ,สวท.พะเยา สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.