หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎร
บริเวณลุ่มน้ำของลุ่มน้ำปายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

 

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
 
แนวพระราชดำริ :

     จากการศึกษาระบบนิเวศวิทยาป่าไม้พบว่าพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งพันธุกรรมไม้สัก ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษกว่าแห่งอื่นๆ คือ พบไม้สักที่ขึ้นได้ถึงระดับความสูง 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งยังไม่เคยมีรายงานว่าพบไม้สักขึ้นอยู่ในระดับความสูงกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลมาก่อน นอกจากนี้ยังมีพืชป่ามีค่าหายากและสวยงามในพื้นที่นี้อีกมากมาย
     ทั้งนี้พื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งพันธุกรรมไม้สัก เป็นพื้นที่ที่สำรวจพบป่าสักธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่ก็มีชุมชน (เผ่าลีซอ) อาศัยอยู่ใกล้เคียงและโดยรอบพื้นที่ป่ าสักที่สมบูรณ์ และพบปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร ลักลอบตัดไม้สัก/ล่าสัตว์ ปัญหายาเสพติด /ความมั่นคง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งพันธุกรรมไม้สักตามธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และพันธุ์พืชป่าอีกมากมาย ซึ่งอาศัยอยู่ในระบบนิเวศอันหลากหลาย   จึงได้มีหนังสือนำเรียนราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถ ขอพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ดังกล่าว
     ต่อมาสำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์2553 แจ้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชว่า ได้นำความกราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แล้ว และได้ทรงโปรดเกล้าฯรับโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สัก และพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎร บริเวณป่าลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปาย อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมทั้งได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มาดำเนินการมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรให้อยู่ดีกินดีพึ่งพาตนเองได้และเป็นกำลังหลักที่มีสวนร่วมในการดูแลรักษาและปกป้องป่าแห่งนี้ไว้อย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมไม้สักในถิ่นกำเนิดและนอกถิ่นกำเนิด รวมถึงเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยไม้สักที่ครบวงจรของประเทศไทยและในระดับสากลต่อไป

 
ที่ตั้งของโครงการ : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

     เพื่อป้องกันรักษาพื้นที่ป่าสักที่สมบูรณ์ เนื้อที่ 6 หมื่นไร่ ให้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยไม้สักที่สำคัญของประเทศไทย และอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ที่เสื่อมโทรม รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรให้เกิดจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าแก่ชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
     โดยมีแผนงาน ที่จะดำเนินการในด้านต่างๆ ได้แก่ การป้องกันรักษาป่า การศึกษาวิจัยไม้สัก การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎร ทางด้านการเกษตร กิจกรรมนอกภาคการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านการจัดการแหล่งน้ำ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งจะดำเนินการในหมู่บ้านเป้าหมายหลัก 4 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านกึ๊ดสามสิบ อำเภอปางมะผ้า , หมู่บ้านมะโนรา อำเภอปาย , หมู่บ้านห้วยสะลอบและหมู่บ้านห้วยปมฝาด อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
สำนักงาน กปร. , กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ,จังหวัดแม่ฮ่องสอน
 

ลักษณะโครงการ :

ผู้ได้รับประโยชน์ :
ประชาชนหมู่บ้านกึ๊ดสามสิบ อำเภอปางมะผ้า , หมู่บ้านมะโนรา อำเภอปาย , หมู่บ้านห้วยสะลอบและหมู่บ้านห้วยปมฝาด

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

       ในปีพ.ศ.2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำรวจพบป่าผสมผลัดใบที่มีไม้สักธรรมชาติ ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้นกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้าง มีพื้นที่ต่อเนื่องกันกว่า 6 หมื่นไร่ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย อำเภอเมืองและอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นป่าที่ฟื้นตัวจากการทำสัมปทานทำไม้ในอดีต จนกระทั่งมีการประกาศจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย ในปี พ.ศ. 2515 ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนเส้นทางคมนาคมเข้าถึงลำบาก ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งภูมิประเทศ ดิน และอากาศ จึงทำให้ป่าไม้สักแห่งนี้มีการฟื้นตัวของไม้สักรุ่นต่อมาจนกลับมาเป็นป่าที่สมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว จากข้อมูลการสำรวจเบื้องต้นพบว่าป่าแห่งนี้มีไม้สักขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่มีทรงต้นที่สวยงาม ค่าชี้วัดในเชิงปริมาณโดยรวม เมื่อเทียบกับป่าไม้สักแหล่งอื่นๆ   ของประเทศไทยถือว่า “ ป่าสักผืนนี้มีความสมบูรณ์มากที่สุดของประเทศไทย ” นอกจากนี้ยังพบว่าไม้สักในที่แห่งนี้สามารถขึ้นได้ที่ระดับความสูงถึง 1,300 เมตร จากที่เคยมีการบันทึกไว้ไม่เกินที่ระดับความสูง 750 เมตร
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งพันธุกรรมไม้สักตามธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และพันธุ์พืชป่าอีกมากมาย ซึ่งอาศัยอยู่ในระบบนิเวศอันหลากหลาย    จึงได้นำความกราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชีนีนาถและได้ทรงโปรดเกล้าฯ รับโครงการฯ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 พร้อมทั้งได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มาดำเนินการมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรให้อยู่ดีกินดีพึ่งพาตนเองได้และเป็นกำลังหลักที่มีสวนร่วมในการดูแลรักษาและปกป้องป่าแห่งนี้ไว้อย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมไม้สักในถิ่นกำเนิดและนอกถิ่นกำเนิด รวมถึงเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยไม้สักที่ครบวงจรของประเทศไทยและในระดับสากลต่อไป
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบสานแนวพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เพื่อดำเนินการตามแผนงานและโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎร บริเวณลุ่มน้ำของและลุ่มน้ำปาย   อันเนื่องมากจากพระราชดำริ ปี 2554

           
   
ความสำเร็จของโครงการ :

     นายพลากร สุวรรณรัตน์ องคมนตรี เปิดเผยว่า กรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมาให้ รับพื้นที่โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ ลุ่มน้ำปาย อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้วและต่อจากนี้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเข้าไปดำเนินงานในพื้นที่ โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ ทำการลาดตระเวน เฝ้าระวังไม่ให้มีการ บุกรุกพื้นที่ป่าแห่งนี้ แต่ถ้าเข้าไปหาของป่าตามธรรมดาของราษฎรในพื้นที่ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ ถ้าเข้าไปตัดไม้แล้วชักลากไม้ออกมาก็คงไม่ได้ ส่วนราษฎรที่ทำไร่เลื่อนลอยใน พื้นที่ก็คงต้องหา อาชีพใหม่ให้เขา เช่น ส่งเสริมสนับสนุนให้ทำนาแบบขั้น บันไดบริเวณไหล่เขา หรือทำนาดำใน พื้นที่ ราบซึ่งจะดีกว่า เพราะได้ปริมาณผลผลิตมากกว่าถึง 5 เท่าเมื่อ เทียบกับการทำไร่เลื่อนลอยซึ่งเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่ ผ่านมา นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี นายสวัสดิ์ วัฒนายา กร องคมนตรี และคณะผู้บริหาร พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมา จากพระราชดำริได้เดินทางไปสำรวจป่าในบริเวณดังกล่าว โดยพบว่าเป็นป่า เบญจพรรณที่มีความสมบูรณ์มาก มีไม้สักขึ้นตามธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไปเป็นบริเวณกว้างใน พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย ท้องที่อำเภอปางมะผ้า จังหวัด แม่ฮ่องสอนไม้สักธรรมชาติที่พบมีลักษณะดี มีลำต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรงแสดง ให้เห็นว่าอัตราการเจริญ เติบโตสม่ำเสมอ เนื่องจากสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ถูกรบกวนน้อยและที่สำคัญไม้สัก ดัง กล่าวมีลักษณะพิเศษด้านพรรณพืช ที่น่าสนใจ คือ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงกว่า 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งนับเป็นข้อมูลใหม่ของประเทศไทย เนื่องจากโดยปกติแล้ว ไม้สักมักจะเจริญเติบโตได้ดีในระดับความสูงไม่เกิน 700 เมตรจากระดับ น้ำทะเล ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผืนป่าไม้สักธรรมชาติที่สมบูรณ์แห่งนี้ถูกบุกรุกทำลายเพิ่มเติม จึง ควรดำเนินการสงวนไว้เพื่ออนุรักษ์ผืนที่ป่าไม้สักธรรมชาติที่สมบูรณ์แห่งนี้ไว้ เพื่อเป็นแหล่ง ศึกษา วิจัยด้าน พันธุกรรมไม้สักรวมทั้งดำเนินการในเชิงรุก เร่งสร้างจิตสำนึกให้ราษฎร และชุมชน ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าแห่งนี้ ให้เกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติของ ชุมชนควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้กินดีอยู่ดี อย่างยั่ง ยืนต่อไป.

 
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน , สำนักสนองงานพระราชดำริ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,สำนักงาน กปร. ,นสพ.เดลินิวส์ ,นสพ. คม ชัด ลึก
ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.